เนื้อหาในหมวด หนัง-ละคร

[เปิด Netflix มารีวิว] Fear Street 1666 สิ่งที่น่ากลัวกว่า \

[เปิด Netflix มารีวิว] Fear Street 1666 สิ่งที่น่ากลัวกว่า "แม่มด"

มีการเปิดเผยเรื่องราวในภาพยนตร์ไตรภาค Fear Street ทั้ง 3 ภาค

เมื่อดีน่าได้มีโอกาสกลบไปรับรู้เรื่องราวในอดีต เธอกลับพบความจริงที่น่าสะพรึงเกี่ยวกับ “พื้นที่” ก่อนที่จะพัฒนาผ่านยุคสมัย ไม่ว่าจะกลายมาเป็นค่ายฤดูร้อนในปี 1978 หรือ เปลี่ยนแปลงมาเป็นพื้นที่ธุรกิจอย่างห้างสรรพสินค้าในปี 1994 ว่าจริงๆแล้วอาณานิคมที่เป็นจุดเริ่มต้นของความเลวร้ายทั้งหมดนั้น ไม่ใช่แค่เพียง “มนต์ดำและคำสาป” เท่านั้น แต่มันมีวิวัฒนาการมาจากแนวคิดของคนในนิคม ที่เลือกจะจัดการกับคนที่มี พฤติกรรมและความคิดที่แตกต่าง ด้วยการใส่ความว่าพวกเธอเป็นแม่มด

จะเห็นได้ว่าตัวละครอย่างซาร่า เฟียรซ์เอง ได้พบรักกับหญิงสาวในอาณานิคม แต่ความรู้สึกเหล่านี้กลายเป็นสิ่งต้องห้ามในช่วงเวลานั้น ประกอบกับแนวคิดสังคมชายเป็นใหญ่ในสังคม ความรุนแรง และการแก้ปัญหาด้วยการ “ปิดปาก” คนที่เห็นต่างด้วยการลงโทษด้วยความตาย จึงกลายเป็นการบีบบังคับ ผู้หญิงและเพศทางเลือกให้ต้องยอมจำนนต่อแนวคิดดังกล่าว โดยการเอาตำนานคำสาปร้ายและแม่มดมาเป็นเพียงข้ออ้างในการกุมอำนาจ

เมื่อชายหนุ่มอย่างโซโลมอน กู๊ด (แอชเลย์ ซัคเกอร์แมน) ที่ดูเหมือนเป็นคนดี มีเหตุผลและชาญฉลาดรับฟังความคิดเห็นของคนในอาณานิคม แท้ที่จริงแล้วเขากลับคิดการณ์ใหญ่และใช้อำนาจมืดที่มองไม่เห็นเพื่อกอบโกยผลประโยชน์เข้าตัว และโยนความผิดไปให้แพะรับบาปอย่างซาร่า เฟียรซ์ (อลิซาเบธ สโคเพล) รับเคราะห์กรรมไปด้วยโทษแขวนคอ แม้ก่อนจะลาโลกไป เธอกลับฝากคำพูดที่ว่า “แม้ความจริงจะยังไม่ได้ปรากฏวันนี้ วันพรุ่งนี้ แต่สักวันหนึ่งสิ่งที่คุณทำจะถูกชดใช้ความผิดอย่างแน่นอน”

ตลอดเวลาเราอาจจะได้รับรู้ว่า ความชั่วร้ายที่เกิดขึ้นกับเมืองเซดี้ไซด์นั้นมีที่แม่จากแม่มดร้าย แต่เมื่อความจริงที่ปรากฏขึ้นกลับกลายเป็นว่าคนที่อยู่เบื้องหลังทั้งหมด ได้สืบต่ออำนาจมืดและพรางตัวเองภายใต้การถูกนิยามว่าเป็นวีรบุรุษ ผู้กล้า ผู้พิทักษ์สังคม จนมาถึงนายอำเภอ และครอบตัวเองด้วยคำว่า “คนดี” มาหลายยุคสมัย ทำให้ไม่มีคิด หรือจะตรวจสอบคนดีเหล่านี้ด้วยซ้ำไปว่าตกลงแล้วเบื้องลึกเบื้องหลังของพวกเขานั้นเริ่มต้นมาจากการยัดเยียดความผิดให้ใครสักคนด้วยความตายพร้อมกับตราบาปในรูปแบบของเรื่องเล่า ตำนาน มาหลายยุคสมัยกินเวลากว่า 300 ปี

ไตรภาค Fear Street จึงไม่ใช่แค่หนังสยองขวัญดาษดื่น แต่มีประเด็นทางสังคมแอบซ่อนอยู่ตลอดทุกภาคอย่างแนบเนียน กลมกลืน และนำพาผู้ชมย้อนกลับไปดูต้นตอของปัญหาทั้งหมดว่า “คำสาป” มันน่ากลัวก็เพราะมี “คน” พัฒนาความกลัวเหล่านั้น ให้กลายเป็นแนวคิดที่สืบทอดกันมาโดยที่คนในสังคมซึมซับมันจนกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วนั่นเอง

[เปิด Netflix มารีวิว] Fear Street Part 2 : 1978 ถนนสยองต้องหวีดคาแคมป์

[เปิด Netflix มารีวิว] Fear Street Part 2 : 1978 ถนนสยองต้องหวีดคาแคมป์

ใน Fear Street Part One: 1994 ได้พาผู้ชมไปทำความเข้าใจว่า ทุกความโกลาหลที่เกิดขึ้นในหนังภาคแรกนั้น เป็นผลมาจากคำสาปของแม่มดประจำเมือง การที่ตัวเอกของเรื่องอย่างดีน่าพยายามค้นหาต้นตอ ก็เพื่อที่จะแก้ปัญหาให้ตรงจุด ดังนั้นเธอจึงต้องเดินทางไปหา “ผู้รอดชีวิต” จากเหตุการณ์ในอดีตนำมาสู่เรื่องราวใน Fear Street Part 2: 1978

[เปิด Netflix มารีวิว] Fear Street Part One: 1994 จุดเริ่มต้นของถนนสยอง

[เปิด Netflix มารีวิว] Fear Street Part One: 1994 จุดเริ่มต้นของถนนสยอง

Fear Street Part One: 1994 หนังเปิด “ไตรภาค” ของถนนอาถรรพ์ ซึ่งดัดแปลงมาจากนวนิยายเยาวชน อาร์.แอล.สไตน์ บอกเล่าเรื่องราวของอาถรรพ์ประจำเมืองเชดี้ไซด์ ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกันอย่างประหลาด และมีวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งกำลังถึงคราวซวย เพราะโดนอำนาจมืดเล่นงาน