ทำความรู้จัก "โรคซิฟิลิส" ตัวละคร "ดอกรัก" กับข้อสงสัยของสังคม สาเหตุมาจากไหน?
หลายคนสงสัยว่าโรคซิฟิลิส เกิดจากไหน ติดต่อได้ทางไหน หลังจากที่มีข่าวของ หลวงปู่แสงญาณวโร พระเกจิดัง ว่าท่านมีโรคประจำตัวหลายโรค หนึ่งในนั้น โรคซิฟิลิส แต่เคสของหลวงปู่แสงอาจเกิดจากโรคไข้มาลาเรียที่ท่านเคยเป็นมาก่อน
ส่วนในละคร บ่วงใบบุญ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 กล่าวถึง โรคซิฟิลิส ที่ตัวละคร ดอกรัก แสดงโดยนักแสดงชั่วโมงบินสูง กวาง กมลชนก กำลังเผชิญอยู่นั้น เกิดจากความมักมากไม่รู้จักพอกับทาสรัก เด่นชัย จนติดโรค เป็นเหตุให้ตัวละครดอกรักต้องรับผลกรรม หรือการกระทำที่ตัวเองได้ทำไว้ ซึ่งโรคดังกล่าว สามารถแพร่เชื้อได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์กันเท่านั้น ยังมีอีกหลายเหตุหลายปัจจัยที่สามารถติดโรคนี้ได้ วันนี้เราจะพาแฟนๆละครไขกระจ่างทุกความสงสัยของโรคซิฟิลิสที่ถูกกล่าวถึงกันอย่างมากมาฝากกัน
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าโรคซิฟิลิส ไม่จำเป็นต้องติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หลายคนมักเข้าใจผิด?
โรคซิฟิลิส คนส่วนใหญ่มักเข้าใจกันว่าเกิดจากการที่คนสองคนมีความสัมพันธ์กัน และมักมีการเปลี่ยนคู่กันบ่อย เพราะความสนุก และคึกคะนอง แต่น้อยคนที่ไม่รู้ว่านอกเหนือจากเรื่องอย่างว่า ก็สามารถติดได้อย่างเช่น การได้ดูแลสัมผัสแผลจากผู้ป่วย, การได้รับเลือดมาจากผู้ติดเชื้อ และการสัมผัสเข็มที่ติดเชื้อ เป็นต้น ซึ่งนอกเหนือจากนี้ก็จะเป็นการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกระหว่างอยู่ในครรภ์ได้อีกด้วย แต่ก็สามารถรักษาหายได้
แฟนๆต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า โรคซิฟิลิสที่ตัวละคร “ดอกรัก รวยริน เกริก และ เด่นชัย” เป็น เกิดจาก?
โรคซิฟิลิส เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า “ทริปโปนีมา พัลลิดุม” ที่สามารถแพร่เชื้อด้วยการจูบ หรือเพศสัมพันธ์โดยตรง โรคนี้ถึงแม้ว่าจะรักษาหาย แต่ก็มีอาการรุนแรงตามทั้ง 4 ระยะ คือ
- ระยะที่ 1 ผู้ป่วยจะมีแผลเล็กตรงจุดที่เกิดการติดเชื้อโดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศในระยะนี้จะเกิดแผลหลังรับเชื้อไปแล้วไม่เกิน 2 เดือน และหายไปเองภายใน 6 สัปดาห์
- ระยะที่ 2 อาการจะพัฒนาจากระยะที่ 1 ในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน โดยจะเกิดตุ่มขึ้นตามตัว น้ำหนักลดลง ต่อมน้ำเหลืองมีอาการบวม และผมร่วง เป็นต้น แต่ก็เช่นเดียวกับระยะที่ 1 อาการเหล่านี้สามารถหายได้เองเช่นกัน
- ระยะสงบ เป็นระยะที่ผู้ป่วยแทบไม่แสดงอาการแต่ยังคงมีเชื้ออยู่ในร่างกายก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่ซิฟิลิสระยะสุดท้าย
- ระยะที่ 3 หากมาถึงระยะนี้และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะส่งผลข้างเคียงอย่างรุนแรง เช่น มีผลต่อระบบประสาท หัวใจ สมอง เป็นอัมพาต เสียสติ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคซิฟิลิส ไม่ใช่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เท่านั้น แต่โรคนี้มันสามารถแพร่เข้าสู่ร่างกายของเราได้จากการสัมผัสแผลติดเชื้อ การจูบ การได้รับเลือด หรือการติดต่อจากแม่สู่ลูกนั่นเอง ดังนั้นพวกเรา ควรรู้จักป้องกันตัวเองให้ดี เพราะเมื่อป่วยแล้วจะไม่สามารถย้อนเวลากลับไปให้เป็นปกติได้จนสายเกินแก้ อย่างที่ ดอกรัก เป็น ดังสุภาษิตจากหลวงปู่แสง ท่านได้เคยอบรม เตือนสติบรรดาศิษย์ยานุศิษย์ไว้ว่า “ให้เอาชนะกิเลสตัวเอง อย่าไปเอาชนะกิเลสคนอื่น ชนะกิเลสในใจตนได้แล้ว ขึ้นชื่อว่าชนะทุกสิ่งในโลกนี้ กิเลสอยู่ขอบฟ้ามหาสมุทรไหนก็ชนะทั้งหมด ถ้าเราชนะตัวเราแล้ว” เพราะหากเราชนะความแค้น และกิเลส ราคะ ความอยากได้อยากมีในใจเราได้ เรื่องวุ่นวาย และความชั่วในละคร บ่วงใบบุญ จะไม่เกิดขึ้น เพราะธรรมะจะฟอกจิตของเราให้รู้จักคิด และสะอาดมากขึ้นนั้นเอง
อ้างอิง: โรงพยาบาลเพชรเวช , งานแถลงข่าว คณะแพทย์ผู้ดูแลอาการอาพาธ “หลวงปู่แสง ญาณวโร” โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุบลราชธานี