เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

กรมสุขภาพจิตเผย เด็กไทยก่อคดีเฉลี่ยวันละ 83 คน ร้อยละ 96 ป่วยทางจิต

กรมสุขภาพจิตเผย เด็กไทยก่อคดีเฉลี่ยวันละ 83 คน ร้อยละ 96 ป่วยทางจิต

กรมสุขภาพจิตเผยมี เด็ก-เยาวชน ก่อคดีวันละ83คน ผลวิจัยพบร้อยละ96ป่วยทางจิตจากยาเสพติดสูงสุด เร่งจับมือสถานพินิจจัดระบบรักษาฟื้นฟู นำร่อง 4 แห่ง กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, นครปฐม, สุราษฎร์ธานี ก่อนขยายผลครอบคลุมทั่วประเทศ

นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า ขณะนี้ปัญหาเด็กและเยาวชนน่าเป็นห่วงและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยพบเกี่ยวข้องกับกระบวนยุติธรรม2 ลักษณะ คือเป็นผู้กระทำผิด และถูกคนอื่นกระทำ ทั้งนี้ข้อมูลของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ปี 2559 มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำผิด 30,356 คน เฉลี่ยวันละ 83 คน ร้อยละ 93 เป็นชาย และเกือบร้อยละ 90 มีอายุ 15 - 18 ปี ที่เหลืออายุ 10 - 15 ปี โดยอันดับ 1 หรือร้อยละ 41 เป็นคดีเกี่ยวกับยาเสพติด ร้อยละ 20 คดีเกี่ยวกับการลักทรัพย์ ร้อยละ 14 ทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 7 มีอาวุธ และวัตถุระเบิด ส่วนการก่อคดีซ้ำเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12 ในปี 2555 เป็นร้อยละ 19 ในปี 2558

ส่วนผลการศึกษาของกรมสุขภาพจิตล่าสุดในปี 2558 พบเด็กที่ทำผิด ร้อยละ 96 ป่วยเป็นโรคทางจิตเวชอย่างน้อยออ1 โรค สูงกว่าเด็กทั่วไป 5 เท่า มากที่สุดคือความผิดปกติของพฤติกรรมการใช้สารเสพติด ร้อยละ 84 โรคเกเรต่อต้าน ร้อยละ 34 โรควิตกกังวลร้อยละ 11 โรคซึมเศร้าและโรคอารมณ์แปรปรวน ร้อยละ 10 โรคสมาธิสั้นร้อยละ 7 โดยมีเด็กร้อยละ 79 หรือประมาณ 4 ใน 5 ป่วยทางจิตมากกว่า 2 โรค นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กเริ่มดื่มเหล้า สูบบุหรี่ สูบกัญชา และยาบ้า เมื่ออายุ 7 - 9 ปี ซึ่งมีโอกาสเสพติดสูง และมีโอกาสป่วยทางจิตเวช ที่ต้องการการบำบัดรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนขึ้น ดังนั้นจะเห็นว่าการก่อคดีของเด็กเยาวชนคือการเจ็บป่วยทางจิตที่เกิดจากการเลี้ยงดู รวมถึงการใช้สารเสพติด ดังนั้นจึงต้องช่วยกันดูแลเพื่อไม่ให้เด็กติดยา ทำผิด ทำผิดซ้ำและโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพต่อต้านสังคม

 

ปัญหาการทารุณกรรมในเด็ก

สำหรับปัญหาเด็กที่ถูกทารุณกรรม ข้อมูลจากศูนย์พึ่งได้ของรพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ ปี 2558 มีเด็กถูกกระทำรุนแรง 10,712 คน เฉลี่ย 30 คนต่อวัน โดยเป็นเด็กหญิงถูกกระทำรุนแรงทางเพศโดยคนรู้จัก ถูกทุบตี ทารุณทั้งร่างกายและจิตใจ 3,108 คน ซึ่งผู้ปกครองส่วนหนึ่งยังเชื่อว่าการลงโทษเป็นสิ่งจำเป็นในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก กลุ่มเด็กที่ถูกกระทำรุนแรงนี้ จะมีผลต่อสมองและจิตใจ ทำให้พัฒนาการล่าช้า สติปัญญาลดลง เป็นเด็กเก็บกด จะต้องได้รับการบำบัดฟื้นฟูเพื่อป้องกันผลกระทบทางจิตใจระยะยาว ดังนั้นกรมฯ ได้เร่งป้องกันปัญหาโดยส่งเสริมการเลี้ยงดู การคัดกรองหาเด็กนักเรียนที่เป็นโรคทางจิตเวชเพื่อรักษา และให้สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์จัดระบบการดูแลเด็กทั้ง 2 กลุ่ม ร่วมกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบำบัดรักษาและฟื้นฟูเด็ก

 

การบำบัดรักษาเด็กที่มีอาการป่วยทางจิต

นพ.ศรุตพันธุ์ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา ผอ.สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กล่าวว่า การบำบัดรักษาเด็กที่กระทำผิดนั้นทีมจิตแพทย์ และสหวิชาชีพร่วมกับสถานพินิจฯคัดกรองเด็กที่มีปัญหาป่วยทางจิตตั้งแต่แรกรับ และให้การดูแลบำบัดเบื้องต้น ในรายที่ไม่ดีขึ้นหรือมีภาวะฉุกเฉินทางจิตเวชจะมีระบบการส่งต่อเข้าบำบัดรักษาฟื้นฟูที่รพ.จิตเวช เมื่อเด็กพ้นโทษจะมีระบบการประสานกับรพ.ใกล้บ้านเพื่อดูแลต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ปีนี้ ได้นำร่อง 4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์แรกรับเด็กและเยาวชนชายบ้านเมตตา เขตบางนา กทม. ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา จ.สมุทรปราการ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปราณี จ.นครปฐม และที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายเขต 8 จ.สุราษฏร์ธานี จากนั้นจะประเมินผลและขยายครอบคลุมสถานพินิจฯ และศูนย์ฝึกและอบรมฯ ทั่วประเทศที่มีรวม 94 แห่งต่อไป

เสี่ยงโรคแพนิคหรือเปล่า? 10 อาการแพนิคที่ไม่ควรมองข้าม เช็กตัวเองด่วน!

เสี่ยงโรคแพนิคหรือเปล่า? 10 อาการแพนิคที่ไม่ควรมองข้าม เช็กตัวเองด่วน!

โรคแพนิค ไม่ใช่แค่เครียดหรือใจสั่นชั่วคราว! รู้จักโรคนี้ให้ชัด พร้อมเช็กสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเสี่ยงอยู่หรือไม่ ก่อนที่อาการจะกระทบชีวิตประจำวัน

ผู้ป่วย PTSD ภาวะป่วยทางจิตหลังถูกทรมาน จะเยียวยาจิตใจอย่างไร?

ผู้ป่วย PTSD ภาวะป่วยทางจิตหลังถูกทรมาน จะเยียวยาจิตใจอย่างไร?

อาการ PTSD คือ สภาวะป่วยทางจิตใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง ส่งผลให้เกิดความเครียดอย่างมาก รู้จักกลุ่มเสี่ยงและการรักษา

7 วิธีคลายเครียด ลดความดันโลหิต ลดเสี่ยงโรคหัวใจ เส้นเลือดสมองแตก

7 วิธีคลายเครียด ลดความดันโลหิต ลดเสี่ยงโรคหัวใจ เส้นเลือดสมองแตก

วิธีคลายเครียด ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การทำสมาธิ หรือการดูแลตัวเอง ให้คุณมีชีวิตที่สมดุลและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

5 เช็กลิสต์ สุขภาพจิตแบบไหน ถึงควรพบจิตแพทย์

5 เช็กลิสต์ สุขภาพจิตแบบไหน ถึงควรพบจิตแพทย์

การพบจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องน่าอาย บางครั้งเราอาจไม่แน่ใจว่าความเครียดระดับไหนที่เราควรไปพบจิตแพทย์ ลองสังเกตอาการของตัวเองตาม 5 ข้อนี้เลย