เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

“แผลฟกช้ำ” ต้องประคบด้วยน้ำร้อน หรือน้ำเย็น?

“แผลฟกช้ำ” ต้องประคบด้วยน้ำร้อน หรือน้ำเย็น?

เราเป็นคนหนึ่งที่มีนิสัยซุ่มซ่ามอยู่ตลอดเวลา สะดุดพื้น ขั้นบันได แกว่งมือแกว่งแขนไปฟาดขอบตู้ ขอบเตียง จนทำให้มีแผลฟกช้ำดำเขียวตั้งแต่แผลเล็กๆ หายไปได้เอง จนถึงขั้นล้มคะมำก้นจ้ำเบ้าจนเป็นแผลช้ำสีม่วงเข้มปูดนูนจนใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะหายก็มีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ ส่วนใหญ่คนขี้เกียจๆ อย่างเราก็จะปล่อยให้มันหายไปเองตามกระบวนการรักษาตัวเองของร่างกาย แต่หากเป็นแผลใหญ่สีม่วงเข้มปูดนูนจนแตะเบาๆ ก็เจ็บ คงต้องมีการดูแลแผลให้ถูกต้อง เพื่อที่แผลจะได้หายไวๆ ไม่เจ็บปวดจนรบกวนการใช้ชีวิตในประจำวัน

 

แผลฟกช้ำ เป็นอย่างไร?

แผลฟกช้ำเกิดขึ้นเมื่อมีเลือดออกในชั้นใต้ผิวหนังจากการกระแทก ถูกชน หรือถูกต่อยอย่างแรง

 

วิธีปฐมพยาบาลแผลฟกช้ำดำเขียวที่ถูกต้อง

  • ใน 48 ชั่วโมงแรก (ไม่เกิน 2 วัน) แผลฟกช้ำเป็นสีแดงอมม่วง ควรประคบแผลฟกช้ำด้วยน้ำเย็น หรือน้ำแข็ง วันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 15-30 นาที

  • หากเป็นแผลฟกช้ำที่บริเวณศีรษะ หรือใบหน้า ควรเลือกประคบด้วยน้ำแข็ง หรืออาจใช้ผ้าม้วนให้หนาพอ กดบริเวณที่ฟกช้ำ เพื่อลดบวม

  • หลัง 48 ชั่วโมง แผลฟกช้ำจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียว ควรประคบด้วยน้ำร้อน หรือของที่มีความร้อน เช่น ถุงร้อน ไข่ต้ม วันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที จนกว่าอาการบวมค่อยๆ ลดลง

  • เมื่อแผลใกล้จะหายแล้ว อาการบวมจะหายไป เหลือสีแผลเป็นสีน้ำตาลจางๆ กดแล้วจะไม่ค่อยเจ็บเหมือนช่วงแรกๆ โดยระยะเวลาที่ร่างกายรักษาแผลฟกช้ำจนหายเป็นปกติจะอยู่ราวๆ 10-14 วัน
  •  

    หากเลย 14 วันแล้วแผลฟกช้ำยังไม่ดีขึ้น หรือฟกช้ำมากจนมีเลือดค้างอยู่ จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา เพื่อเอาเลือดที่คั่งอยู่ออกมา ก่อนที่จะเป็นอันตรายในระยะยาว

    รู้จัก “มะเร็งเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง” จากแผลฟกช้ำกลายเป็นมะเร็งได้หรือไม่ ?

    รู้จัก “มะเร็งเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง” จากแผลฟกช้ำกลายเป็นมะเร็งได้หรือไม่ ?

    ไขข้อสงสัยว่า จากแผลกระแทกจนเป็นรอยฟกช้ำ เหมือนข่าวนักแสดงหนุ่ม กอล์ฟ-ธนภัทร พริ้งตระกูล ที่เริ่มจากแผลกระแทกถังไอศกรีมที่ขา กลายมาเป็นโรคมะเร็งที่ทำให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็วได้อย่างไร