เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

รู้หรือไม่? “เอดส์” (AIDS) และ “เอชไอวี” (HIV) ต่างกันอย่างไร?

รู้หรือไม่? “เอดส์” (AIDS) และ “เอชไอวี” (HIV) ต่างกันอย่างไร?

คิดว่านาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ยังไม่มียารักษาโรคได้อย่างแท้จริง มีเพียงยาต้านไวรัสที่ช่วยประคับประคองอาการของผู้ป่วยให้สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างแข็งแรงไปได้อีกหลายปี (หรือสิบปี) แต่ผู้ป่วยต้องมีวินัยในการทานยา และพบแพทย์ตามเวลาเท่านั้น แต่นอกจากชื่อโรคว่า “เอดส์” แล้วยังมีชื่อที่เราเรียกว่าเชื้อ “เอชไอวี” อีกชื่อหนึ่งด้วย สองคำนี้ต่างกันอย่างไร Sanook! Health เรามีคำตอบมาอธิบายให้เข้าใจกัน

 

ความหมายของ “เอชไอวี” (HIV)

เชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสที่จะเข้าไปกัดกินทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

 

ความหมายของ “เอดส์” (AIDS)

เอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome - AIDS) คือกลุ่มอาการของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกเชื้อเอชไอวีทำลาย จนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเหล่านี้ได้

 

ติดเชื้อเอชไอวี ≠ โรคเอดส์

หากผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ไม่จำเป็นจะต้องเป็นโรคเอดส์เสมอไป เพราะหากตรวจพบว่าติดเชื้อได้เร็วผ่านการตรวจเลือด สามารถรักษาได้ด้วยการทานยาต้านไวรัส เมื่อทำการรักษาแล้ว อาจไม่สามารถตรวจพบเชื้อเอชไอวีในร่างกายได้อีก เมื่อตรวจไม่เจอก็เท่ากับไม่แพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้

นอกจากนี้ หากผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีทำการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง จะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีอายุขัยยืนยาวเท่ากับผู้ที่ไม่มีเชื้อ และอาจไม่จำเป็นต้องทานยาต้านไวรัสไปตลอดชีวิต เพราะหากตรวจไม่พบเชื้ออีก ก็สามารถหยุดทานยาได้ แต่แพทย์อาจนัดพบเพื่อตรวจร่างกายเป็นระยะๆ

“เอชไอวี รู้เร็ว รักษาได้”

 

การติดต่อของเชื้อเอชไอวี จากคนสู่คน

เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ผ่านสารคัดหลั่ง เช่น เลือดของผู้ป่วย ที่เข้าสู่ร่างกายอีกคนผ่านการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ซึมผ่านเข้าบาดแผลสดๆ การให้นมบุตรจากแม่ที่ติดเชื้อสู่ลูก เป็นต้น แต่โอกาสที่จะติดเชื้อก็ไม่ 100% เสมอไป

ส่วนการกอด จูบ (ในกรณีที่ไม่มีแผลในปาก หรือเป็นการจูบแลกลิ้น แลกน้ำลายกัน) ทานข้าวร่วมกัน จานเดียวกัน ใช้ช้อนส้อม แก้วหน้าร่วมกัน ใช้สบู่ แชมพู ยาสีฟันร่วมกัน ไอจามใส่กัน หรือการมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัย (ที่ยังอยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน) ไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวีได้

 

 

วิธีป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์

  • หากอยากมีบุตร ควรมีเพศสัมพันธ์กับคู่รักของตัวเองเท่านั้น และอย่าลืมตรวจร่างกายเพื่อการวางแผนครอบครัวก่อน

  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ควรรักเดียวใจเดียว

  • ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่น

  • หากพบว่าร่างกายติดเชื้อเอชไอวีแล้ว ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยเร็วที่สุด ยิ่งเร็ว ยิ่งรักษาง่าย

  • หากเป็นผู้ติดเชื้อจากแม่ ควรเข้ารับการรักษากับแพทย์ตั้งแต่เด็ก และมีวินัยในการรักษาอย่างเคร่งครัด

  • ไม่ควรหวังตรวจเลือดด้วยการบริจาคโลหิต เพราะเป็นการรบกวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ และไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่รอรับโลหิตเพื่อการรักษา

  • >> 8 สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV