
PM 2.5 คืออะไร อันตรายแค่ไหน และป้องกันได้อย่างไร
“หมอกจางๆ และควัน คล้ายกันจนบางทีไม่อาจรู้” ตามที่เพลงของพี่เบิร์ดบอก ที่เห็นว่าเป็นหมอก จริงๆ แล้วตอนนี้ที่ชาวกรุงเทพ และจังหวัดข้างเคียงได้เห็น คือฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็กจิ๋ว เล็กขนาดที่เล็กกว่าแกนกลางของเส้นผมถึง 20 เท่า จนทำให้เราหายใจเอาฝุ่นละอองพวกนี้เข้าปอดไปได้อย่างง่ายๆ เจ้าฝุ่นละอองพวกนี้มาจากไหน? แล้วหากเราหายใจเอาฝุ่นละอองเล็กๆ เหล่านี้เข้าปอดมากๆ จะอันตรายขนาดไหน?
ฝุ่นละออง PM 2.5 คืออะไร
ผศ.พญ.นฤชา จิรกาลวสาน หน่วยโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สภาพอากาศที่เกิดขึ้นในกรุงเทพและปริมณฑลนี้ มาจากหลายสาเหตุ เช่น การเผาป่า การเผาขยะ การเผาให้ที่โล่ง การเพิ่มพื้นที่ของโรงงานอุตสาหกรรม การเพิ่มขึ้นของจำนวนรถยนต์ แม้แต่การประกอบอาหารที่ใช้เตาถ่านก็ทำให้ฝุ่นละอองเหล่านี้เพิ่มขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศในปีนี้ค่อนข้างนิ่ง จึงทำให้ฝุ่นอยู่ในที่แคบๆ ไม่มีการไหลเวียนระบายไปที่อื่น จึงทำให้ค่าฝุ่นละอองที่เกินมาตรฐานในปีนี้เกิดขึ้นเร็วและอยู่กับเรานานกว่าปีก่อนๆ
อันตรายจากฝุ่นละออง PM 2.5
เนื่องจาก PM 2.5 เป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเส้นผม (50-70 ไมครอน) หรืออนุภาคเล็กกว่าเส้นผมถึง 20 เท่า และการที่มันเล็กมากทำให้เรามีโอกาสที่จะหายใจเอาฝุ่นละอองนี้ไปเข้าไปสู่หลอดลมได้ จนอาจเป็นสาเหตุ หรือเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคอันตรายในระบบทางเดินหายใจ และอวัยวะที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น
- ภูมิแพ้ จมูกอักเสบ
- หอบหืด
- ถุงลมโป่งพอง แม้ไม่สูบบุหรี่
- หลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง
- มะเร็งปอด
- เส้นเลือดหัวใจ / กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ระยะเวลาในการเป็นโรคอันตรายต่างๆ จากการสูดหายใจเอาฝุ่นละอองเหล่านี้เข้าไป ขึ้นอยู่กับปริมาณที่แต่ละคนสูดเข้าไปในร่างกาย พื้นที่ที่แต่ละคนอยู่ ภูมิต้านทานโรคของแต่ละคน และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย
- ฝุ่นละออง PM 2.5 เสี่ยงอันตรายต่อผู้ป่วย “โรคตา” และผู้ที่สวมใส่ “คอนแทคเลนส์”
- ฝุ่น PM 2.5 กับปัญหา “คันผิวหนัง-แสบจมูก” มีวิธีแก้อย่างไร?
กลุ่มเสี่ยงอันตรายจากฝุ่นละออง PM 2.5
กลุ่มที่มีความเสี่ยงได้รับอันตรายจากฝุ่นละออง PM 2.5 มากกว่าคนปกติทั่วไป ได้แก่