เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

อาหารเสี่ยง “ท้องเสีย-ท้องร่วง-อาหารเป็นพิษ” ช่วงหน้าร้อน

อาหารเสี่ยง “ท้องเสีย-ท้องร่วง-อาหารเป็นพิษ” ช่วงหน้าร้อน

อากาศร้อนๆ อย่างในประเทศไทย ส่งผลให้อาหารหลายเมนูบูดเน่าเสียได้ง่าย และเร็วกว่าเดิม จากที่เคยทำอาหารทิ้งไว้ได้เป็นวันๆ แต่ด้วยอากาศที่ร้อนขึ้น เชื้อแบคทีเรียต่างๆ เจริญเติบโตได้มากขึ้น และเร็วขึ้น จึงอาจทำให้อาหารเหล่านั้นมีความเสี่ยงที่จะบูดเน่าได้หลังจากทำเสร็จเพียงไม่ถึงหนึ่งวันเต็ม (หากไม่ผ่านความร้อนให้เดือดอยู่เรื่อยๆ)

 

อาหารแบบไหน บูดเน่าเสียได้ง่าย?

อาหารจะบูดเน่าเสียง่าย ขึ้นอยู่กับวิธีการทำ (ว่าผ่านความร้อนมากแค่ไหน) เวลาที่ทิ้งอาหารเอาไว้หลังปรุงเสร็จ (ว่านานมากเท่าไรก่อนเราจะกิน) วิธีการเก็บรักษาหลังปรุงอาหารเสร็จ (ตั้งทิ้งไว้ในอุณหภมิห้อง นำไปอุ่นให้เดือด หรือเก็บในตู้เย็นหรือไม่) และส่วนประกอบของอาหารนั้นๆ (เมนูใส่นม กะทิ จะบูดเน่าเสียง่ายกว่า)

 

อาหารเสี่ยง “ท้องเสีย-ท้องร่วง-อาหารเป็นพิษ” ช่วงหน้าร้อน

  • อาหารสุกๆ ดิบๆ เช่น กุ้งแช่น้ำปลา ลาบก้อย เนื้อย่างมิเดียมแรร์ กุ้งเต้น ฯลฯ กรดในน้ำมะนาวไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างที่บางคนเข้าใจ ความร้อนเท่านั้นที่จะช่วยลดจำนวนแบคทีเรียบางตัวลงได้

  • อาหารที่ปรุงด้วยนม กะทิ เช่น น้ำยากะทิ แกงเขียวหวาน มัสมั่น ฯลฯ หากมีการปรุงอาหารเอาไว้แต่เช้ามืด และตั้งทิ้งไว้โดยไม่ได้นำไปอุ่น (จนเดือด) มีความเสี่ยงที่เชื้อโรคจะเจริญเติบโตในอาหารจนทำให้บูดเน่าได้ แม้เวลาจะผ่านมาไม่กี่ชั่วโมง

  • อาหารที่ปรุงทิ้งไว้นานๆ โดยไม่สามารถนำไปอุ่นได้ เช่น อาหารประเภทยำ พล่า หรือบางเมนูที่เมื่อนำไปอุ่นแล้วจะลดความน่ารับประทานลงไป เช่น ผัดผัก อาหารทอด (ที่จะทำให้ผัก หรืออาหารสุกเกินไป และไม่น่ารับประทาน) มีความเสี่ยงที่จะมีแบคทีเรียเจริญเติบโตเช่นกัน

  • อาหารที่ปรุงเสร็จแล้วตั้งไว้บนพื้น มีความเสี่ยงที่จะมีสิ่งสกปรกตกลงไปในอาหารได้ ดังนั้นควรสังเกตร้านอาหารต่างๆ ว่ามีการตั้งอาหารพร้อมภาชนะ รวมทั้งอุปกรณ์ในการทำอาหารเอาไว้บนพื้นหรือไม่

  • น้ำดื่ม น้ำแข็ง ที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน อาจมีสิ่งแปลกปลอมปนเปื้อนจนทำให้เสี่ยงท้องร่วงได้
  •  

    วิธีหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงท้องเสีย ท้องร่วง อาหารเป็นพิษ

  • เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสดใหม่ทีละจาน

  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุก ผ่านความร้อนมาอย่างเต็มที่

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ดูแล้วเหมือนว่าทำทิ้งเอาไว้นานหลายชั่วโมงโดยไม่ได้รับการอุ่นให้ร้อนระหว่างวัน

  • หากซื้ออาหารปรุงสำเร็จกลับมารับประทานเองที่บ้าน ควรอุ่นให้ร้อนก่อนรับประทาน หากยังไม่ทาน หรือทานเหลือแต่อยากเก็บเอาไว้รับประทานใหม่ในวันอื่น ควรอุ่นให้ร้อน ก่อนทิ้งไว้ให้หายร้อนแล้วนำเข้าไปเก็บเอาไว้ในตู้เย็น (ตู้เย็นไม่ควรมีอาหารแช่จนแน่นตู้ เพราะจะทำให้ความเย็นไม่เพียงพอในการรักษาคุณภาพของอาหาร)

  • เลือกซื้อน้ำดื่ม และน้ำแข็งจากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือเท่านั้น

  • เลือกซื้ออาหารจากร้านอาหารที่ดูแล้วถูกสุขลักษณะ มีความสะอาดทั้งจากร้าน อุปกรณ์ในการทำอาหาร ลักษณะของคนทำอาหาร เป็นต้น
  • >> 8 วิธีสังเกต “ร้านอาหารข้างทาง” เสี่ยง “ท้องเสีย-อาหารเป็นพิษ”

    >> 6 วิธีง่ายๆ หลีกเลี่ยง “อาหารเป็นพิษ”

    >> 5 อาการอันตรายจาก “ท้องเสีย” หรือ “อุจจาระร่วง” ที่ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

    >> “ท้องเสีย” แบบไหน ถึงต้องกินยาปฏิชีวนะ?

     

    จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2561 ทั่วประเทศพบผู้ป่วย โรคอุจจาระร่วง 209,470 ราย และโรคอาหารเป็นพิษ 19,807 ราย โดยอาการของผู้ป่วยจะคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระ คอแห้งกระหายน้ำ และอาจมีไข้ หากอาการไม่รุนแรงควรให้สารละลายเกลือแร่หรืออาหารเหลวมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ หากอาการต่างๆ ไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์

    ยา “คาร์บอน” แก้ท้องเสีย กินอย่างไรให้ถูกต้อง?

    ยา “คาร์บอน” แก้ท้องเสีย กินอย่างไรให้ถูกต้อง?

    ยาคาร์บอนแก้ท้องเสีย หรือผงถ่าน Activated Charcoal ช่วยดูดซับสารพิษ พร้อมอัปเดต ยาคาร์บอน รักษาอะไร วิธีกินยาคาร์บอนอย่างถูกวิธี ปลอดภัยไหม? เช็กให้ชัวร์ก่อนใช้ยา

    รู้หรือไม่? เราควร “ถ่ายหนัก” วันละกี่ครั้ง ถึงเรียกว่าสุขภาพดี

    รู้หรือไม่? เราควร “ถ่ายหนัก” วันละกี่ครั้ง ถึงเรียกว่าสุขภาพดี

    สารพัดอาหาร หรือยาต่างๆ นานา ถูกนำมาใช้นำมาทานกันเพื่อให้เราได้ถ่ายคล่องสบายตัวเป็นปกติ แต่คุณเคยคิดหรือเปล่าว่าใน 1 วัน เราควรถ่ายกี่ครั้ง ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นคนที่มีสุขภาพดี ระบบขับถ่ายปกติ