รู้จัก พดด้วง เงินที่ใช้ในสมัยอยุธยา ใน “พรหมลิขิต”
เงินพดด้วง เงินตราที่คนไทยใช้กันในสมัยอยุธยา ที่ปรากฏอยู่ในละคร พรหมลิขิต ทำมาจากอะไร ในแต่รัชสมัยมีรูปแบบและลักษณะอย่างไรบ้างมาดูกัน
- เรื่องย่อ พรหมลิขิต (Love Destiny 2) ละครแนวพีเรียดอิงประวัติศาสตร์
- ขุนนาง ไพร่ ทาส ระบบชนชั้นสมัยอยุธยา ที่ปรากฏใน “พรหมลิขิต”
เงินพดด้วง คืออะไร
เงินพดด้วง เป็นเงินตราที่ใช้อย่างต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาถึง สมัยอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทำขึ้นจากแท่งเงินทุบปลายงอเข้ากัน ลักษณะคล้ายด้วงที่ขดตัวอยู่ แล้วตอกประทับตราประจำแผ่นดิน และตราประจำรัชกาลลงไป ดังนั้นเงินพดด้วงในแต่ละรัชกาลจะมีความแตกต่างกันออกไป
ลักษณะของเงินพดด้วงในแต่ละรัชกาล
สมัยพระนารายณ์
- ตราประจำแผ่นดิน : เป็นรูป 8 จุดล้อมจุดกลางซึ่งมีวงล้อม 1 ชั้น รอบนอกจุดมีกรอบล้อมหยักเข้าทุกจุด
สมัยพระเพทราชา
- ตราประจำแผ่นดิน : เป็นรูปจักร 8 จุดล้อมจุดกลางมีกรอบนอก
- ตราประจำรัชกาล : เรียกว่า ตรามหานพรัตน์ เป็นรูปคล้ายดอกจันทน์อยู่ในกรอบกนก
สมัยพระเจ้าเสือ
- ตราประจำแผ่นดิน : เป็นรูปจักร 8 จุดล้อมจุดกลาง ไม่มีกรอบนอกล้อม
- ตราประจำรัชกาล : เรียกว่า มหาอุณาโลม หรือสังข์กนก หรือเบ็ด
สมัยพระเจ้าท้ายสระ
- ตราประจำแผ่นดิน : เป็นรูปจักร 8 จุดล้อมจุดกลาง ไม่มีกรอบนอกล้อม
- ตราประจำรัชกาล : เรียกว่า ตราแก้วโกมล เป็นรูปคล้ายกลีบดอกไม้ 3 กลีบ ใต้กลีบกลางมีจุด และบนกลีบกลางมีอีกกลีบหนึ่ง