เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

“ลดน้ำหนัก” อย่างไรให้ได้ผลในระยะยาว?

“ลดน้ำหนัก” อย่างไรให้ได้ผลในระยะยาว?

เคยลดได้แล้วน้ำหนักเด้งกลับไปเท่าเดิมกันไหม? นั่นอาจเป็นเพราะเราลดไม่ถูกวิธี เพราะหากคุณลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี นอกจากน้ำหนักจะไม่เปลี่ยนแปลงในเวลากันรวดเร็ว ไม่เด้งกลับไปเท่าเก่าแม้ว่าจะกินอาหารเท่าเดิม แถมจะยังไม่โทรม ไม่ทรมาน และมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมากกว่าเดิมอีกด้วย


“ลดน้ำหนัก” อย่างไรให้ได้ผลในระยะยาว?

อย่างที่หลายๆ คนน่าจะทราบกันดีว่าการควมคุมอาหาร และออกกำลังกาย เป็นวิธีลดน้ำหนักที่ได้ผลดีที่สุด อันดับแรกก่อนที่จะให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่พอใจไปนานๆ ก็ต้องทำให้น้ำหนักลดลงมาอยู่ในเกณฑ์ให้ได้ก่อน

เคล็ดลับง่ายๆ ในการลดน้ำหนัก ได้แก่

  • เริ่มจากการกินอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และอาหารไขมันสูงให้น้อยลง อาจเริ่มด้วยการลดลงครึ่งหนึ่งก่อน เมื่อผ่านไป 2 อาทิตย์ค่อยๆ ลดลงไปอีกจนกระทั่งอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เช่น จากกินข้าว 4 ทัพพี ลดลงเหลือ 2 ทัพพี เมื่อผ่านไป 2 อาทิตย์ ลดลงเหลือ 1 ทัพพี หรือหากติดเครื่องดื่มหวานๆ จากวันละ 2 แก้วเป็นวันละแก้ว แล้วลดเหลือสัปดาห์ละ 2-3 แก้ว จนค่อยๆ ลดเปลี่ยนเป็นไม่ดื่มเครื่องดื่มหวานๆ เลย เป็นต้น

  • ทดแทนอาหารที่ลดลงไปด้วยอาหารอื่นๆ เพื่อไม่ให้ตัวเองหิวจนหน้ามืด โดยสามารถเลือกเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ลดข้าวขาวแทนด้วยข้าวกล้อง กินโปรตีนไขมันต่ำทดแทนข้าวที่ลดลง กินผลไม้แทนขนมหวาน เป็นต้น

  • หาเวลาออกกำลังกายเน้นคาร์ดิโอ เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน แอโรบิค ว่ายน้ำ หรือเล่นกีฬาประเภทต่างๆ อย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์

  • ใจเย็น ให้เวลากับร่างกายในการค่อยๆ ปรับตัว อย่าลดอาหารจนไม่มีแรง อย่าออกกำลังกายหักโหมจนหน้ามืด ให้ร่างกายค่อยๆ ลดน้ำหนักลงมากที่สุดอาทิตย์ละ 1 กิโลกรัม อย่าเร็วไปกว่านั้น

  • อย่าลืมดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอในแต่ละวัน

  • รักษาน้ำหนักให้เท่าเดิมไปนานๆ

    เมื่อสามารถลดน้ำหนักได้จนอยู่ในระดับที่พอใจแล้ว (อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไป) ก็ถึงคราวที่เราต้องรักษาน้ำหนักให้คงที่ หากไม่ได้ลดน้ำหนักอย่างหักโหม หรือใช้วิธีอดอาหาร การรักษาน้ำหนักให้คงที่ไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากรู้สึกว่าน้ำหนักค่อยๆ กลับขึ้นมาเมื่อกลับมารับประทานอาหารเท่าเดิมเรื่อยๆ ควรปฏิบัติดังนี้

  • กินผักให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะกินได้ ในทุกมื้ออาหารต้องมีผัก

  • เลือกกินแต่อาหารปรุงสดใหม่ ไม่กินอาหารที่ผ่านกรรมวิธีสำเร็จรูปต่างๆ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ไส้กรอก แฮม หมูหยอง อาหารกระป๋องต่างๆ เป็นต้น

  • ทำอาหารกินเองที่บ้าน เลือกส่วนประกอบ เครื่องปรุง และวิธีปรุงอาหารได้ดีกว่า

  • หลีกเลี่ยง หรือลดอาหารที่มีไขมันทรานส์ เพิ่มน้ำตาล (ไม่ใช่น้ำตาลจากธรรมชาติ) และคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวขาว เป็นต้น

  • รักษาสมดุลของอาหารในแต่ละวัน รู้ตัวเองอยู่เสมอว่าวันนี้กินอะไปบ้าง กินอะไรเกิน อะไรที่ควรกินแต่ยังไม่ได้กิน (การจดลงสมุดโน้ต หรือโทรศัพท์มือถือก็ช่วยได้) เช่น หากวันนี้กินน้ำหวาน เช่น ชานมไข่มุกไปแล้ว ก็ไม่ควรกินอีก หากวันนี้กินอาหารที่มีไขมันสูงไปแล้ว มื้อเย็นต้องเน้นผัก และโปรตีนไขมันต่ำ เป็นต้น

  • ยังคงออกกำลังกายอยู่เสมอ แม้ว่าจะเลิกลดน้ำหนักแล้วก็ตาม แต่อาจจะแบ่งเวลามาเน้นเวทเทรนนิ่งเพิ่มมากขึ้น แทนที่จะเน้นคาร์ดิโอเหมือนช่วงแรก เช่น ยกน้ำหนัก ใช้เครื่องเล่นในฟิตเนสที่เป็นการออกกำลังกายเฉพาะจุด โยคะ เป็นต้น
  • สิ่งที่ต้องจำอยู่เสมอคือ เมื่อลดน้ำหนักได้จนเป็นที่พอใจแล้ว สิ่งที่เคยทำมาตลอดก็ไม่ควรหยุดทำ เช่น ไม่ควรกลับไปกินข้าว 4 ทัพพีเหมือนเดิม หรือกินชานมไข่มุกทุกวันเหมือนเดิม เราควรควบคุมอาหารที่กินต่อไป เพียงแต่รักษาสมดุลของอาหารให้ดีอยู่เสมอ กินอาหารครบทุกมื้อ ในทุกมื้อมีอาหารครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้มากกว่าแป้งและน้ำตาล (แต่ยังกินแปล และน้ำตาลอยู่ เพียงแต่เน้นเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท) และออกกำลังกายเหมือนเดิม รับรองว่าน้ำหนักไม่กลับมาให้กลุ้มใจกันอีกแน่นอน

    กินเจอย่างไร ไม่ให้อ้วน และไม่ขาดสารอาหาร

    กินเจอย่างไร ไม่ให้อ้วน และไม่ขาดสารอาหาร

    กินเจอย่างไรไม่ให้อ้วน แนะนำเคล็ดลับการเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ พร้อมวิธีควบคุมน้ำหนักระหว่างเทศกาลกินเจ เพื่อให้คุณกินอร่อยและเฮลตี้ได้ทุกวัน

    เช็กก่อนกิน “คีโตเจนิค” เหมาะกับใคร ใครควรกิน-ไม่ควรกิน

    เช็กก่อนกิน “คีโตเจนิค” เหมาะกับใคร ใครควรกิน-ไม่ควรกิน

    คีโตเจนิค คืออะไร หากคุณอยู่ในกลุ่มที่ไม่ควรกิน คีโตเจนิค ก็ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่น เพราะอาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้