เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

สัญญาณอันตราย คุณกำลังเสี่ยงภาวะ “หมดไฟในการทำงาน” หรือไม่?

สัญญาณอันตราย คุณกำลังเสี่ยงภาวะ “หมดไฟในการทำงาน” หรือไม่?

เคยไหมที่ทำงานแล้วรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากทำงานอย่างสาเหตุไม่ได้ แม้ว่าคุณจะไม่ได้ป่วยอะไรเลยก็ตาม คุณอาจกำลังเสี่ยงภาวะหมดไฟในการทำงาน (ฺBurnout) ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่วัยทำงานหลายคนกำลังประสบอยู่


สัญญาณอันตราย คุณกำลังเสี่ยงภาวะ “หมดไฟในการทำงาน” หรือไม่?

อาการทางกาย

  • เหนื่อย อ่อนล้าตลอดเวลา

  • ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ

  • ภูมิคุ้มกันต่ำลง เจ็บป่วยบ่อย

  • ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง ทั้งไม่อยากอาหาร และหิวตลอดเวลา

  • การนอนเปลี่ยนแปลง นอนไม่หลับ นอนดึกตื่นสาย นอนดึกตื่นเร็ว หรือนอนไม่เป็นเวลา


อาการทางพฤติกรรม

  • ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง และคนรอบข้าง

  • แปลกแยกจากคนอื่น อาจลามไปถึงเพื่อน และคนในครอบครัว

  • เฉื่อยชา ในเวลามากขึ้นในการทำงานเดิมที่เคยทำได้

  • หันไปใช้ตัวช่วยอย่างยา แอลกอฮอล์ เพื่อแก้เครียด

  • ระบายความอึดอัดใจกับคนรอบข้าง

  • ขาดงาน เข้าสาย หรือกลับบ้านก่อน


อาการทางอารมณ์

  • รู้สึกล้มเหลวในชีวิต ไม่ภูมิใจในตัวเอง และสิ่งที่ตัวเองทำ

  • เกิดความสงสัยในตัวเอง เช่น ตัวเองเก่งหรือไม่ ทำไมตัวเองทำได้ไม่ดี

  • ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน

  • รู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้แพ้

  • รู้สึกแปลกแยกจากสังคมรอบข้าง

  • ไม่พอใจในตัวเอง รวมถึงไม่รู้สึกว่าตัวเองประสบความสำเร็จในการทำงาน


วิธีแก้ไข ภาวะหมดไฟในการทำงาน

  • หาสาเหตุที่ทำให้รู้สึกแย่กับตัวเอง ว่ามาจากความคิดของตัวเอง คำพูดของคนรอบข้าง เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย หรือใดๆ ก็ตาม

  • สำรวจคุณภาพงานของตัวเองอย่างซื่อตรง ว่าตัวเองทำได้ดีอย่างที่ควรเป็นหรือไม่ ควรพัฒนาฝีมือตัวเองให้ดีขึ้น หรือจริงๆ ทำดีแล้วแต่คนอื่นไม่เห็น

  • มองหาคุณค่าของงานที่ตัวเองทำ ว่างานของเราทำให้คนที่ได้รับไปมีความสุขหรือไม่ เป็นประโยชน์ต่อใครหรือไม่

  • ถามใจตัวเองให้ดีว่า รักในงานที่ตัวเองทำอย่างแท้จริงหรือไม่ ถ้าไม่ ตัวเองอยากทำอะไร แล้วมองหางานที่ตัวเองอยากทำจริงๆ

  • ไม่กดดันตัวเองมากเกินไป แต่ก็พยายามรักษามาตรฐานงานของตัวเองอยู่เรื่อยๆ อย่าให้ต่ำกว่ามาตรฐาน สามารถสอบถามความพึงพอใจของงานตัวเองกับหัวหน้างานได้โดยตรง (อาจถามเพื่อนร่วมงานที่ไว้ใจเพิ่มเติมด้วยได้)

  • เปิดใจ รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น แต่หากมีปัญหาขัดแย้งกัน ให้พูดคุยกันด้วยเหตุผล

  • รักษาสมดุลของชีวิตการทำงาน และเรื่องส่วนตัวให้ดีอยู่เสมอ (work-life balance)

  • ออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพของตัวเองอยู่เสมอ

  • เล่าเรื่องที่ไม่สบายใจให้คนรอบตัวที่ไว้ใจได้รับฟัง

  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น เครียดจนนอนไม่หลับ กินข้าวไม่ลง คิดงานไม่ได้ ควรพบจิตแพทย์เพื่อหาทางรักษาต่อไป
  • >> “เบิร์นเอาท์” หมดไฟในการทำงาน กับ 5 สิ่งที่ควรทำเพื่อกลับมามีพลังอีกครั้ง