เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

โรคอีโบลา (Ebola) คืออะไร สาเหตุ อาการของโรคเป็นอย่างไร?

โรคอีโบลา (Ebola) คืออะไร สาเหตุ อาการของโรคเป็นอย่างไร?

ช่วงนี้เราจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา กันอยู่อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการระบาดได้มีความรุนแรงมากขึ้น แต่เพื่อเป็นการไม่ให้เป็นการตื่นตระหนกจนเกินไป เราจึงนำความรู้เกี่ยวกับ "โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา" จากสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ มาฝากเพื่อเป็นความรู้กันค่ะ

 โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola)

โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola) คืออะไร

โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola) คือ โรคติดเชื้อไวรัสชนิดเฉียบพลันรุนแรง เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola virus) ซึ่งอยู่ในตระกูล Filoviridae family ประกอบด้วย 5 สายพันธุ์ (species) ได้แก่ สายพันธุ์ไอวอรีโคสต์ สายพันธุ์ซูดาน สายพันธุ์ซาร์อี สายพันธุ์เรสตัน (Reston) และสายพันธุ์ Bundibugyo โดยสายพันธุ์ซูดาน สายพันธุ์ซาร์อี และสายพันธุ์ Bundibugyo ทำให้เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในแอฟริกาและทำให้มีอัตราป่วยตายประมาณ ร้อยละ 25-90 ในขณะที่ สายพันธุ์ไอวอรีโคสต์ และสายพันธุ์เรสตัน (Reston) มักไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรง และยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตจากสายพันธุ์เรสตัน (Reston)

อาการของโรค และระยะฟักตัว

ระยะฟักตัวประมาณ 2 – 21 วัน ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาจะมีไข้สูงทันทีทันใด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ และเจ็บคอ ตามด้วยอาการ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว (maculopapular rash) ในรายที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต จะพบมีเลือดออกง่าย โดยเกิดทั้งเลือดออกภายในและภายนอกร่างกาย (internal and external bleeding) มักเกิดร่วมกับภาวะตับถูกทำลาย ไตวาย หรือก่อให้เกิดอาการของระบบประสาทส่วนกลาง ช็อก และเสียชีวิตได้

การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola) มักจะเป็นการตรวจผสมผสานระหว่างการตรวจหาแอนติเจน โดยวิธี RT-PCR ร่วมกับหาแอนติบอดี คือ IgM หรือ IgG จากตัวอย่างเลือด นํ้าเหลือง หรือจากอวัยวะ อาจใช้การแยกเชื้อไวรัสโดยการเพาะเชื้อ หรือการเลี้ยงในหนูตะเภา หรือบางครั้งอาจตรวจพบเชื้อได้จากการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนในชื้นเนื้อจากตับ ม้าม ผิวหนัง หรืออวัยวะอื่นๆ การชันสูตรศพโดยการตรวจชิ้นเนื้อ (Formalin-fixed skin biopsy) หรือการผ่าศพพิสูจน์ด้วยการตรวจหาภูมิคุ้มกันหรือองค์ประกอบทางเคมีของเซลล์และเนื้อเยื่อสามารถทําได้และเนื่องจากโรคนี้มีอันตรายต่อมนุษย์สูงมาก ดังนั้นการตรวจและศึกษาทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ กระทําได้เฉพาะในระบบป้องกันอันตรายที่อาจเกิดแก่ผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งชุมชนในระดับสูงสุด (BSL-4)

การรักษา

ไม่มีการรักษาจําเพาะ ในรายที่มีอาการรุนแรงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ให้สารนํ้าอย่างเพียงพอ

แหล่งรังโรค

ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ถึงแม้จะมีการศึกษาอย่างกว้างขวาง จากหลักฐานที่เพิ่มขึ้นชี้ให้เห็นถึงบทบาทของลิง (ซึ่งมีโรคที่คล้ายคลึงกับคน) และ/หรือ ค้างคาวในห่วงโซ่การถ่ายทอดเชื้อสู่คน ในทวีปแอฟริกา พบว่าการติดเชื้อไวรัสอีโบลาในผู้ป่วยรายแรกที่พบ (human index case) มีความเกี่ยวข้องกับการสัมผัสลิงกอริลล่า ลิงซิมแปนซี ลิงอื่นๆ สัตว์จำพวกเลียงผา กวางผา และเม่นที่ตายหรือถูกฆ่าในป่าทึบ

จนถึงปัจจุบันนี้ พบเชื้อไวรัสอีโบลาในสัตว์ป่า เช่น ซากลิงซิมแปนซี (ในประเทศไอวอรีโคสต์และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก) ลิงกอริลล่า (ในประเทศกาบองและประเทศคองโก) และตัว duikers (ในประเทศคองโก) ที่พบตายในป่าทึบ การตายของลิงชิมแปนซี และลิงกอริลล่าจำนวนมากสามารถใช้ในการเฝ้าติดตามการแพร่กระจายของไวรัสได้

แต่อย่างไรก็ตาม แม้สัตว์เหล่านี้จะสามารถติดเชื้อและแพร่เชื้อสู่คนได้ แต่ไม่น่าจะเป็นแหล่งรังโรค และจากหลักฐานที่มีอยู่บ่งชี้ว่า ค้างคาวน่าจะเป็นแหล่งรังโรค จากการตรวจหาการสร้างแอนติบอดี และ RT-PCR ในค้างคาว และความสัมพันธ์ของการสร้างแอนติบอดีในคนที่สัมผัสค้างคาว

วิธีการแพร่โรค

พบการติดต่อของเชื้อไวรัสอีโบลาสู่คน โดยการสัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือเครื่องในของลิงที่ติดเชื้อ หรือเกิดขณะจัดการหรือชําแหละสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ตาย โดยยังไม่พบรายงานจากการติดเชื้อผ่านทางละอองฝอยที่ลอยในอากาศ สำหรับการติดต่อจากคนสู่คน เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือดที่ติดเชื้อ สารคัดหลั่ง อวัยวะ หรือนํ้าอสุจิ

นอกจากนี้ การติดเชื้อในโรงพยาบาลก็พบได้บ่อยผ่านทางเข็มและหลอดฉีดยาที่ปนเปื้อนเชื้อ และยังพบการแพร่กระจายเชื้ออีโบลาในพิธีศพได้บ่อย เนื่องจากญาติผู้เสียชีวิตอาจมีการสัมผัสโดยตรงกับร่างกายของผู้เสียชีวิต

ระยะติดต่อของโรค

จะไม่มีการแพร่เชื้อก่อนระยะมีไข้ และจะแพร่เชื้อเพิ่มมากขึ้นในระยะที่มีอาการป่วยนานเท่าที่เลือดและสารคัดหลั่งยังมีไวรัสอยู่ ในผู้ป่วยรายหนึ่งที่ได้รับเชื้อจากห้องปฏิบัติการสามารถตรวจพบเชื้ออีโบลาในน้ำอสุจิได้ในวันที่ 61 แต่ตรวจไม่พบในวันที่ 76 หลังเริ่มป่วย

มาตรการป้องกันโรค

ยังไม่มีวัคซีนหรือการรักษาแบบเฉพาะเจาะจงสําหรับโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ควรป้องกันการมีเพศสัมพันธ์หลังการเจ็บป่วยเป็นเวลา 3 เดือน หรือจนกระทั่งตรวจไม่พบไวรัสในนํ้าอสุจิ

มาตรการควบคุมการระบาด

แยกผู้ป่วยสงสัยจากผู้ป่วยอื่นๆ และเฝ้าระวังผู้สัมผัสใกล้ชิด ใช้มาตรการ ป้องกันการติดเชื้อในสถานพยาบาลอย่างเข้มงวด รวมถึงดําเนินการให้ความรู้แก่ชุมชนอย่างเหมาะสมและรวดเร็ว

โรคหัด เกิดจากอะไร อาการและวิธีป้องกันโรคหัด

โรคหัด เกิดจากอะไร อาการและวิธีป้องกันโรคหัด

โรคหัด เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มพารามิคโซไวรัส ที่สามารถแพร่เชื้อ และติดต่อกันจากผู้ป่วยสู่คนอื่นๆ ได้ผ่านการไอ จาม เอาละอองจากน้ำลายและเสมกะออกมาปะปนอยู่ในอากาศ

“โมโนนิวคลิโอซิส” โรคติดต่อผ่านการ “จูบ” ที่วัยรุ่นควรระวัง

“โมโนนิวคลิโอซิส” โรคติดต่อผ่านการ “จูบ” ที่วัยรุ่นควรระวัง

การจูบ ไม่ได้เสี่ยงแค่โรคหวัดเท่านั้น แต่ยังมีโรคที่ทำให้มีไข้ มีผื่นขึ้นตามตัว อย่างโรคโมโนนิวคลิโอซิส อยู่ด้วย

รู้ไว้ใช่ว่า เป็น \

รู้ไว้ใช่ว่า เป็น "โรคหนองใน" ห้ามปล่อยไว้ ต้องรักษา!

โรคหนองในแท้ หรือ โรคโกโนเรีย (Gonorrhea) นับว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบกันได้มากเป็นอันดับต้นๆ ในบรรดาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งหมด

โรคฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง มีอาการอย่างไร ติดต่อ แพร่เชื้อได้อย่างไร

โรคฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง มีอาการอย่างไร ติดต่อ แพร่เชื้อได้อย่างไร

ฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับเชื้อไวรัสโรคฝีดาษหรือโรคไข้ทรพิษ อาการของโรคฝีดาษลิง จะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อแล้วประมาณ 7-14 วัน อาการที่พบได้บ่อยดังนี้