เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

6 สัญญาณอันตราย “ก้อนเนื้อต่อมไทรอยด์”

6 สัญญาณอันตราย “ก้อนเนื้อต่อมไทรอยด์”

ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมที่มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ ตั้งอยู่บริเวณฐานของลำคอ ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด แต่ในบางครั้งอาจพบก้อนเนื้อที่บริเวณต่อมไทรอยด์ได้


ก้อนเนื้อต่อมไทรอยด์ เป็นอย่างไร?

สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา ให้ข้อมูลว่า ก้อนเนื้อต่อมไทรอยด์ที่พบส่วนใหญ่มักเป็นเนื้องอกธรรมดาที่ไม่ใช่มะเร็ง มีราว 5% เท่านั้นที่อาจตรวจพบว่าเป็นมะเร็งได้ และอาจพบได้ในผู้หญิงบ่อยกว่าผู้ชาย รวมถึงพบในผู้สูงอายุมากกว่า


สาเหตุของก้อนเนื้อต่อมไทรอยด์

ก้อนเนื้อต่อมไทรอยด์ อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุเหล่านี้

  • เกิดจากเนื้อไทรอยด์โตผิดรูปโดยไม่ทราบเหตุ (nodular goiter)

  • เกิดจากการอักเสบภายในต่อมไทรอยด์

  • เกิดจากเนื้องอกต่อมไทรอยด์ชนิดไม่ร้าย

  • มีเพียงส่วนน้อยราวร้อยละ 5 เกิดจากมะเร็งของต่อมไทรอยด์

  • สัญญาณอันตราย หรืออาการของก้อนเนื้อต่อมไทรอยด์

  • มีปัญหาเสียงแหบ หายใจได้ไม่สะดวก

  • มีปัญหากลืนอาหารลำบากและ/หรือกินอาหารสำลัก

  • ก้อนโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

  • คลำได้ก้อนอื่นโตที่ด้านข้างลำคอ

  • มีประวัติมะเร็งในครอบครัว หรือเคยได้รับการฉายแสงมาก่อน

  • อายุน้อยกว่า 15 ปี หรือมากกว่า 45 ปี

  • วิธีตรวจหาก้อนเนื้อต่อมไทรอยด์

    แพทย์อาจตรวจผู้ป่วยด้วยวิธีเหล่านี้ เพื่อพิสูจน์ว่าพบก้อนเนื้อที่บริเวณต่อมไทรอยด์จริงหรือไม่

  • ซักประวัติและการตรวจร่างกายโดยละเอียด

  • ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อดูระดับฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์

  • สุ่มเจาะเนื้อเยื่อจากต่อมไทรอยด์ไปตรวจ

  • ตรวจโดยใช้อัลตราซาวด์หรือเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ในบางกรณี

  • วิธีรักษาก้อนเนื้อต่อมไทรอยด์

  • ให้ยาเสริมฮอร์โมนไทรอยด์ในกรณีที่ผลการสุ่มเจาะเนื้อเยื่อไม่พบเนื้อเยื่อผิดปรกติ

  • ให้ยาต้านการอักเสบและเฝ้าระวังความผิดปรกติของระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในกรณีที่ผลการสุ่มเจาะเนื้อเยื่อพบมีการอักเสบ

  • ทำการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วนหรือออกทั้งหมด ในกรณีที่ผลการสุ่มเจาะเนื้อเยื่อพบเนื้อเยื่อมะเร็ง

  • เฝ้าดูอาการและทำการสุ่มเจาะเนื้อเยื่อเป็นระยะๆ ในกรณีที่ผลการสุ่มเจาะเนื้อเยื่อไม่พบเนื้อเยื่อผิดปรกติและไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ