เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

เช็กก่อนกิน “คีโตเจนิค” เหมาะกับใคร ใครควรกิน-ไม่ควรกิน

เช็กก่อนกิน “คีโตเจนิค” เหมาะกับใคร ใครควรกิน-ไม่ควรกิน

คีโตเจนิค อาจเหมาะกับผู้ที่อยากลดน้ำหนัก และผู้ป่วยเบาหวาน เพราะสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องคำนึงควบคู่กันไปด้วย

การกินอาหารแบบ “คีโตเจนิค” มีความเกี่ยวพันธุ์กับระดับน้ำตาลในเลือด เพราะการกินคีโตเจนิคคือการกินอาหารโดยหลีกเลี่ยงแป้ง และน้ำตาล (คาร์โบไฮเดรต) โดยกินไขมันทดแทน เพื่อให้ร่างกายรู้สึกว่าอดอาหาร จึงไปสลายไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย โดยไขมันที่ถูกสลายไป เรียกว่า “คีโตน”

คีโตเจนิค คืออะไร

คีโตเจนิค ไดเอท (Ketogenic diet) เป็นแนวทางการลดน้ำหนักที่เน้นการบริโภคไขมันชนิดดีเป็นหลัก ลดคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลง และรักษาปริมาณโปรตีนในระดับปานกลาง เป้าหมายคือทำให้ร่างกายเข้าสู่กระบวนการเผาผลาญไขมันแทนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ส่งผลให้ช่วยลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คีโตเจนิค กินอะไรได้บ้าง

อาหารที่สามารถทานได้ในคีโตเจนิค ไดเอทแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้

  • กลุ่มไขมัน (70%): เน้นการทานไขมันดีจากธรรมชาติ เช่น อะโวคาโด, น้ำมันมะกอก, น้ำมันดอกทานตะวัน, น้ำมันรำข้าว, เนย, ชีส และปลาทะเล

  • กลุ่มโปรตีน (25%): ทานโปรตีนจากทั้งเนื้อสัตว์และพืช เช่น เนื้อหมู, เนื้อไก่, เนื้อปลา, ไข่ไก่, ถั่วเหลือง, เต้าหู้ และเมล็ดฟักทอง

  • กลุ่มคาร์โบไฮเดรต (5%): ควรจำกัดให้ได้มากที่สุด โดยเลือกจากผัก, ผลไม้ไม่หวาน, นมมะพร้าว, และนมอัลมอนด์

  • ประโยชน์ของ คีโตเจนิค

    รศ. พญ. ธนินี สหกิจรุ่งเรือง จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ข้อมูลว่า คุณสมบัติของอาหารคีโต มีดังนี้

  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

  • ลดความดันโลหิตได้ในผู้ที่เป็นเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 1 ปีแรก ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลจากน้ำหนักตัวที่ลดลงได้ในระยะแรก

  • ช่วยลดระดับอินซูลิน
  • ผู้ที่สามารถกินคีโตเจนิคได้

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

  • คนทั่วไปที่ต้องการลดน้ำหนัก

  • ผู้ที่ไม่ได้มีโรคประจำตัวที่ต้องระมัดระวัง เช่น โรคตับ โรคไต ฯลฯ
  • ผู้ที่ไม่สมควรกินคีโตเจนิค

  • ผู้ป่วยเบาหวานที่กำลังกินยาลดระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ เนื่องจากมีโอกาสเกิดปัญหาระดับน้ำตาลต่ำได้มากขึ้น

  • ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ต้องรับอินซูลิน (รวมถึงเด็ก และวัยรุ่นที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1) เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความเป็นกรดจากสารคีโตนในเลือดมาก รวมถึงการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำมากเกินไป

  • ผู้ที่มีภาวะไตเสื่อมอาจต้องระวังการกินโปรตีนมากเกินไปจากการกินอาหารคีโต ทำให้ไตเสื่อมมากขึ้นได้

  • จะเห็นได้ว่า แม้ว่าคีโตเจนิคจะเหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน แต่ก็ไม่เสมอไป ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนพิจารณากินคีโต เพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง

    \

    "คีโตเจนิค" กินไขมันลดอ้วน แต่กินไม่ถูกวิธีอาจยิ่งอ้วน

    วิถีคนอยากผอม แต่ชอบอาหารมันๆ วิธีกินคีโต อาหารคีโต คีโตเจนิคไดเอท อ่านก่อนเริ่มทาน เพราะไม่ได้หมายความว่าจะฟาดแต่เบคอนรัวๆ อย่างที่คิด