เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

ตัดขาแล้วจะเดินได้ไหม?

ตัดขาแล้วจะเดินได้ไหม?

จากกรณีพระเอกหนุ่ม ปอ ทฤษฎี ซึ่งป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก และมีภาวะแทรกซ้อนจนอาการทรุดหนัก ต้องรักษาตัวในห้อง CCU โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยมีความดันเลือดที่ควบคุมได้ยากจากภาวะติดเชื้อที่เท้าซ้าย จำเป็นต้องตัดขาซ้ายระดับเหนือข้อเท้า เพื่อควบคุมการติดเชื้อที่รุนแรง ทำให้หลายคนเกิดคำถามว่าหากเป็นอย่างนี้แล้ว  ปอ ทฤษฎี  ยังจะเดินได้หรือไม่

ล่าสุด นพ.นันทพล พงศ์รัตนามาน ศัลยแพทย์หลอดเลือด ร.พ.พระมงกุฎเกล้า ชีแจงประเด็นนี้ผ่านเพชบุุ๊ค หลอดเลือดฟอกไต 360 องศา หัวข้อ ติดเชื้อที่ขา...ทำไมต้องตัดขา? ไม่ตัดไม่ได้หรือ?

คงมีคำถามในใจของคนหลายๆคนในขณะนี้เกี่ยวกับภาวะติดเชื้อที่ขาแล้วต้องถึงขนาดตัดเท้าทิ้งเพื่อรักษาชีวิต

จริงๆแล้วภาวะนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ในวงการแพทย์ครับ สามารถพบได้เรื่อยๆเช่นในผู้ป่วยที่เป็นแผลติดเชื้อเบาหวานรุนแรงจนต้องตัดขาถ้าไม่ตัดอาจเสียชีวิต หรือ คนไข้ในกลุ่ม ที่มีภาวะขาดเลือดรุนแรงที่ปลายเท้าเฉียบพลันจนมีปัญหาเนื้อตายและเน่าจนติดเชื้อ

ภาวะขาดเลือดรุนแรงพบในคนไข้กลุ่มไหน?
1.มีภาวะ Shock รุนแรงและยาวนาน
2.มีลิ่มเลือดจากหัวใจหลุดมาอุดเส้นเลือดปลายเท้า
3.ได้รับยากระตุ้นความดันนานๆ(เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงสมองและหัวใจ)
4.เส้นเลือดหดตัวรุนแรงจากยาจำพวก ergotamine(ยาแก้ไมเกรน)
และยังมีภาวะอื่นๆอีกหลายอย่างที่สามารถทำให้ขาขาดเลือดได้

ขาขาดเลือดทุกคนต้องติดเชื้อหรือไม่?
ไม่จำเป็นครับ แต่ถ้ามีภาวะติดเชื้อและมีการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วยก็อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที

แล้วถ้าไม่ตัดหล่ะ...ได้มั้ย?
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงครับถ้าการติดเชื้อไม่เข้าสู่กระแสเลือด การให้ยาปฎิชีวนะแล้วรอดูอาจทำได้ แต่ถ้าผู้ป่วยมีไข้สูง มีเชื้อในกระแสเลือดรุนแรงอันนี้จำเป็นครับ

หลักการการรักษาก็คือ
"Safe life > Safe limb > Safe function"
รักษาชีวิตก่อน...รักษาแขนขา...รักษาแขนขาก่อน...รักษาการใช้งาน

แม้คำว่าตัดขาจะฟังดูร้ายแรงแต่ถ้ามองอีกมุมนึงว่ายังสามารถรักษาชีวิตไว้ได้ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีกำลังใจสู้ต่อไปครับ

ตัดขาแล้วจะเดินได้ไหม?

เป็นแค่ปลายเท้า...ต้องตัดเลยข้อเท้าเลยหรือ?
ตัดแค่ส่วนไปปลายเท้าก่อนจะได้มั้ย?
ตัดแล้วไม่ต้องตัดเพิ่มอีกแล้วใช่ไหม?

เป็นคำถามที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวันของแพทย์ศัลยกรรมครับ

ตัดขาแล้วจะเดินได้ไหม?
ขึ้นกับพื้นฐานเดิมของผู้ป่วยครับและส่วนขาที่ถูกตัดออกไป
ถ้าปกติอายุมากเดินได้ลำบากอยู่แล้วอาจจะกลับมาเดินยากถ้าก่อนโดนตัดขาแข็งแรงดีโอกาสกลับมาเดินได้สูง
ยิ่งตัดน้อยก็มีโอกาสกลับมาเดินได้มากเพราะใช้พลังงานช่วยในการเดินเมื่อใช้ขาเทียมน้อย
เช่นตัดต่ำกว่าเข่าใช้แรงเพิ่ม 10 ถึง 40%
ตัดสูงกว่าเข่าใช้แรงเพิ่มถึง 60 ถึง 80%

ติดเชื้อที่ปลายเท้าต้องตัดถึงข้อเท้าเลยหรือ?
อันนี้บอกยากครับบางครั้งเห็นแผลที่นิ้วเท้านิดเดียวแต่พอผ่าตัดเข้าไปเนื้อข้างในติดเชื้อรุนแรงจำเป็นต้องตัดเพิ่มครับ

ตัดแค่ส่วนปลายเท้าก่อนได้ไหม?
ในกรณีที่มีการติดเชื้อไม่รุนแรงไม่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วยเราอาจตัดเพียงเล็กน้อยรอดูอาการก่อนได้
แต่ถ้ามีภาวะติดเชื้อรุนแรงอาจจำเป็นต้องตัดสูงขึ้นไปอีกเพื่อให้แน่ใจว่าภาวะติดเชื้อโดนกำจัดไปมากที่สุดในขณะที่ต้องเหลือส่วนขาให้ยาวที่สุดไปพร้อมพร้อมกัน

ตัดแล้วไม่ต้องตัดเพิ่มแล้วใช่ไหม?
อันนี้ยังบอกไม่ได้ครับความมุ่งหวังของผู้รักษาคือไม่อยากต้องตัดเพิ่มอยู่แล้วแต่ก็คงต้องดูที่ผู้ป่วยเป็นหลักถ้ามีติดเชื้อเพิ่มเติมก็ต้องว่ากันไปตามอาการ

ขอบคุณข้อมูลจาก นพ.นันทพล พงศ์รัตนามาน ศัลยแพทย์หลอดเลือด ร.พ.พระมงกุฎเกล้า ชีแจงประเด็นนี้ผ่านเพชบุุ๊ค หลอดเลือดฟอกไต 360 องศา 

Credit ภาพ Rutherford's Vascular Surgery edition 8

ติ่งเนื้อ เกิดจากอะไร วิธีกำจัดติ่งเนื้อ และวิธีดูแลหากมีติ่งเนื้อ

ติ่งเนื้อ เกิดจากอะไร วิธีกำจัดติ่งเนื้อ และวิธีดูแลหากมีติ่งเนื้อ

“ติ่งเนื้อ” ที่มีลักษณะคล้ายไฝ หรือขี้แมลงวันเล็กๆ แต่มันปูดออกมา ติดเนื้อเป็นติ่งๆ ดูเหมือนอะไรติดผิวหนังแบบที่หยิบดึงออกมาได้ มีทั้งสีคล้ำอย่างดำ น้ำตาล ไปจนถึงสีเนื้อ เหลือง หรือสีชาๆ คล้ายน้ำชา

ผู้ป่วย PTSD ภาวะป่วยทางจิตหลังถูกทรมาน จะเยียวยาจิตใจอย่างไร?

ผู้ป่วย PTSD ภาวะป่วยทางจิตหลังถูกทรมาน จะเยียวยาจิตใจอย่างไร?

อาการ PTSD คือ สภาวะป่วยทางจิตใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง ส่งผลให้เกิดความเครียดอย่างมาก รู้จักกลุ่มเสี่ยงและการรักษา

โรคกระเพาะ เกิดจากอะไร วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็น โรคกระเพาะ

โรคกระเพาะ เกิดจากอะไร วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็น โรคกระเพาะ

โรคกระเพาะเกิดจากการระคายเคืองของเยื่อบุกระเพาะอาหาร สาเหตุหลักมาจากกรดเกิน ความเครียด และการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา