เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

กิน “ปิ้งย่าง” อย่างไร ให้สุขภาพดี ?

กิน “ปิ้งย่าง” อย่างไร ให้สุขภาพดี ?

สาวกปิ้งย่างน่าจะเคยรู้มาบ้างว่ามันไม่ดีต่อสุขภาพ แต่หากใจยังตัดไม่ขาด เรามีเคล็ดลับกินปิ้งย่างแบบไม่เสียสุขภาพมาฝาก

อันตรายจากอาหารปิ้งย่าง

อาหารปิ้งย่าง ไม่ว่าจะทำเอง หรือรับประทานที่ร้าน อาจมีอันตรายแฝงอยู่ ดังนี้

  • สารพัยโรลัยเซต : พบมากในส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหาร ปิ้ง ย่าง เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งได้

  • สารไนเตรต : พบได้ในอาหารที่ใส่สารกันบูด เช่น แหนม ไส้กรอก เบคอน แฮม

  • สารไนโตรซามีน : พบในปลาหมึกย่าง ปลาทะเลย่าง ก่อให้เกิดมะเร็งในสัตว์ได้ และอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการ เกิดมะเร็งในตับ มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหารในคน

  • สารพีเอเอช หรือสารกลุ่มโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน : พบได้ในอาหารปิ้งย่าง เช่น ไส้กรอกรมควัน หมูปิ้ง ไกย่าง ที่ไหม้เกรียม เป็นสารเริ่มต้นของสารกลายพันธุ์
  •  

    กิน “ปิ้งย่าง” อย่างไร ให้สุขภาพดี ?

  • เลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน หรือตัดส่วนที่เป็นมันออก เพื่อลดปริมาณไขมันที่จะไปหยดลงบนถ่านขณะปิ้งย่าง อาจใช้ใบตองห่ออาหารสามารถช่วยลดไขมันหยดได้เช่นเดียวกัน แถมได้อาหารที่มีกลิ่นหอมใบตองด้วย

  • กรณีใช้เตาถ่านธรรมดาควรใช้ถ่านที่อัดเป็นก้อน ไม่ควรใช้ถ่านป่นละเอียด หรืออาจใช้ฟืนที่เป็นไม้เนื้อแข็งแทน เพราะการเผาไหม้จะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ 

  • เมื่ออาหารสุกแล้วพบว่า มีส่วนที่ไหม้เกรียม ห้ามรับประทาน ให้ตัดทิ้งทันที

  • เปลี่ยนตะแกรงย่าง เมื่อเห็นว่าเริ่มมีสีดำ และรอยไหม้เกรียมจับตัวหนาขึ้น

  • ควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย ทั้งผักและผลไม้เพื่อสุขภาพ

  • ลดการรับประทานน้ำจิ้มให้น้อยลง เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายหากน้ำจิ้มทำเอาไว้นาน

  • ดื่มน้ำเปล่า แทนน้ำอัดลม น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มใส่น้ำตาลอื่น ๆ

  • ควรเลือกร้านที่ใช้ภาชนะในการปิ้ง ย่าง แบบลดหรือป้องกันน้ำมันหยดลงบนเตาไฟได้ เช่น เตาไฟฟ้าหรือเตาไร้ควัน เพราะสามารถควบคุมระดับความร้อนได้มากกว่าการใช้เตาถ่าน

  • เลือกร้านที่ได้รับป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) ช่วยสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยได้

  • ไม่รับประทานมากเกินไปโดยเห็นว่าเป็นบุฟเฟ่ต์ต้องกินให้คุ้ม ควรรับประทานแต่พออิ่ม

  • หากเป็นผู้มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หลอดเลือดหัวใจตีบ ฯลฯ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกอาหารในการรับประทานที่เหมาะสม และไม่ควรรับประทานอาหารปิ้งย่างบ่อยจนเกินไป ควรเลือกรับประทานอาหารที่ใช้วัตถุดิบ และวิธีปรุงที่หลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างหลากหลายตามไปด้วย

    อาการมะเร็งปากมดลูก มีสัญญาณเตือนภัย ที่ควรสังเกตุ

    อาการมะเร็งปากมดลูก มีสัญญาณเตือนภัย ที่ควรสังเกตุ

    อาการมะเร็งปากมดลูก ที่เห็นได้ชัดเจน คือมีเลือดออกจากช่องคลอดขณะ หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงอาการตกขาวที่อาจมีเลือดปนนะคะ หากพบอาการดังกล่าว บวกกับอาการในข้ออื่นๆ ด้วยแล้วล่ะก็ พบแพทย์โดยด่วนเลยนะคะ

    มะเร็งกลัวอะไร? 6 วิธีป้องกันมะเร็งที่คนอายุน้อยก็ไม่ควรมองข้าม

    มะเร็งกลัวอะไร? 6 วิธีป้องกันมะเร็งที่คนอายุน้อยก็ไม่ควรมองข้าม

    เริ่มต้นป้องกันมะเร็งตั้งแต่ยังไม่สาย ด้วย 6 พฤติกรรมดี ๆ ที่ช่วยลดความเสี่ยงได้จริง ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไร สุขภาพดีได้ตั้งแต่วัน

    5 วิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูก ง่ายๆ แต่ได้ผลจริง

    5 วิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูก ง่ายๆ แต่ได้ผลจริง

    มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้! รู้จักวิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูกง่าย ๆ ด้วยการตรวจคัดกรอง ฉีดวัคซีน HPV ดูแลสุขภาพ ลดความกังวลเรื่องโรคร้ายในผู้หญิง

    วัคซีน “มะเร็งปากมดลูก” กับเหตุผลที่ “ผู้ชาย” ควรฉีด

    วัคซีน “มะเร็งปากมดลูก” กับเหตุผลที่ “ผู้ชาย” ควรฉีด

    รู้หรือไม่ว่า ผู้ชายก็ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก HPV ได้ และมีหลายเหตุผลที่ควรฉีดด้วย เพราะไวรัสมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง ก็สามารถพบได้ในผู้ชายได้เช่นกัน