เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

5 อาหารเสี่ยง “มะเร็งลำไส้ใหญ่” มะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ของไทย

5 อาหารเสี่ยง “มะเร็งลำไส้ใหญ่” มะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ของไทย

“มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้น ๆ ของหลายประเทศทั่วโลก ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของประชากรส่งผลให้แนวโน้มอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำมาสู่สาเหตุการตายและปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี”

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุเพิ่มเติมว่า “สำหรับประเทศไทยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็น 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบมากในคนไทย มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นทุกปี ปัจจุบันพบมากเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และอันดับ 4 ในเพศหญิง แต่ละปีจะมีผู้ป่วยรายใหม่ 12,467 คน เป็นเพศชาย 6,874 และเพศหญิง 5,593 คน และมีผู้เสียชีวิตวันละ 14 คน หรือ 5,068 คนต่อปี”


อาหาร สาเหตุหลัก “มะเร็งลำไส้ใหญ่”

นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันวิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากโดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภค จึงทำให้เสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ

  • อาหารไขมันสูง 

  • อาหารฟาสฟูดส์ต่างๆ

  • อาหารปิ้งย่างไหม้เกรียม 

  • อาหารจากน้ำมันทอดซ้ำ

  • เนื้อสัตว์แปรรูป 
  • นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น 

  • การสูบบุหรี่ 

  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
     
  • การขาดการออกกำลังกาย  

  • การมีภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน 

  • มีประวัติครอบครัวหรือตนเองเป็นติ่งเนื้อในลำไส้ 
  • เป็นต้น


    อาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

    โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เริ่มจากการเกิดติ่งเนื้อในลำไส้ (polyp) และพัฒนาจนเป็นมะเร็งโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 10-15 ปี มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมักจะไม่มีอาการในระยะเริ่มแรกของโรค จะมีอาการก็ต่อเมื่อโรคลุกลามมากขึ้นจนถึงระยะสุดท้าย ส่งผลทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ซึ่งอาการของโรคที่พบบ่อย ได้แก่ การถ่ายอุจจาระผิดปกติ มีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง ถ่ายไม่สุด ถ่ายเป็นมูกหรือ มูกปนเลือด หรืออาจถ่ายเป็นเลือดสด ขนาดลำอุจจาระเล็กลง และมีอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด จุกเสียด เป็นต้น


    มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจคัดกรองได้

    อย่างไรก็ตาม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรกได้ ส่งผลให้การรักษาได้ผลดีและมีโอกาสหายจากโรคสูง ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงโดยการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระปีละครั้ง หากผิดปกติควรได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ กรณีพบติ่งเนื้อหรือความผิดปกติในลำไส้ใหญ่ แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อบริเวณดังกล่าวเพื่อวินิจฉัยต่อไป

    อุจจาระเป็นเลือด เสี่ยง 6 โรคร้ายสุดอันตราย

    อุจจาระเป็นเลือด เสี่ยง 6 โรคร้ายสุดอันตราย

    อุจจาระเป็นเลือด ไม่ได้เป็นแค่ ริดสีดวงทวาร ยังมีอีกหลายโรคที่อาจแสดงอาการเริ่มต้นจากอุจจาระเป็นเลือด แถมยังอันตรายกว่าโรคริดสีดวงทวารอีกด้วย

    8 พฤติกรรมเสี่ยง “มะเร็งลำไส้ใหญ่” ที่คุณอาจไม่รู้ตัว

    8 พฤติกรรมเสี่ยง “มะเร็งลำไส้ใหญ่” ที่คุณอาจไม่รู้ตัว

    มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจไม่ใช่โรคมะเร็งชนิดแรกๆ ที่หลายคนนึกถึง แต่อันที่จริงแล้ว ในปี 2553 พบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เป็นเพศชายมากเป็นอันดับ 2 จากโรคมะเร็งทั้งหมด และเป็นอันดับ 3 ในเพศหญิงอีกด้วย

    รู้หรือไม่? เราควร “ถ่ายหนัก” วันละกี่ครั้ง ถึงเรียกว่าสุขภาพดี

    รู้หรือไม่? เราควร “ถ่ายหนัก” วันละกี่ครั้ง ถึงเรียกว่าสุขภาพดี

    สารพัดอาหาร หรือยาต่างๆ นานา ถูกนำมาใช้นำมาทานกันเพื่อให้เราได้ถ่ายคล่องสบายตัวเป็นปกติ แต่คุณเคยคิดหรือเปล่าว่าใน 1 วัน เราควรถ่ายกี่ครั้ง ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นคนที่มีสุขภาพดี ระบบขับถ่ายปกติ