เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

8 วิธีปรับอาหารเพื่อบำรุง “หัวใจและหลอดเลือด”

8 วิธีปรับอาหารเพื่อบำรุง “หัวใจและหลอดเลือด”

75% ของคนไทยเสียชีวิตจากโรค NCD หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดัน รวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือด แพทย์เตือนต้องปรับพฤติกรรมเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ โภชนาการ การออกกำลังกาย เพื่อการสร้างสุขภาพที่ดีและการมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ


หัวใจและหลอดเลือด อวัยวะที่สำคัญของร่างกาย

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เซอร์จิโอ ฟาซิโอ ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจและหลอดเลือด OHSU ร่วมด้วยนายแพทย์นพรัตน์ พานทองวิริยะกุล แพทย์อายุรศาสตร์โรคหัวใจ คลินิกป้องกันและดูแลสุขภาพหัวใจ บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในสัมมนาหัวข้อ “การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด” เอาไว้ว่า หัวใจ อวัยวะที่ทำงานหนักที่สุดในร่างกาย โดยเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจของคนทั่วไปในสภาวะปกติอยู่ที่ 60-80 ครั้งต่อนาที เท่ากับ 86,400-115,200 ครั้งต่อวัน หรือคิดเป็น 30-60 ล้านครั้งต่อปี สุขภาพหัวใจและหลอดเลือดจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน และทุกวัย


วิธีปรับอาหารเพื่อบำรุง “หัวใจและหลอดเลือด”

แพทย์แนะนำว่า การปรับอาหารจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ดังนี้

  • ในหนึ่งมื้ออาหารของคนไทยควรเพิ่มปริมาณของผักนึ่ง

  • ลดปริมาณแป้งลง 

  • เน้นจำพวกไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง 

  • ปรุงรสด้วยสมุนไพรแทนเครื่องปรุงอย่างน้ำปลาหรือซอสพริกที่มีปริมาณโซเดียมสูง 

  • เลือกรับประทานโปรตีนประเภทเต้าหู้ อกไก่ หรือ ปลา

  • หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารมัน

  • รับประทานเนื้อแดงในปริมาณที่เหมาะสม 

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและผลิตภัณฑ์จากนมต่างๆ

  • นอกจากการปรับอาหารแล้ว ยังควรปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ควบคู่กันไปด้วย เช่น ออกกำลังกาย และการคุมน้ำหนัก เพื่อการชะลอปัจจัยการเกิดโรคได้ตั้งแต่เนิ่นๆ