เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

อันตราย “นาฬิกาชีวิตรวน” ช่วง Work From Home แก้ไขอย่างไร?

อันตราย “นาฬิกาชีวิตรวน” ช่วง Work From Home แก้ไขอย่างไร?

เราอาจจะเคยชินกับช่วงที่เรานอนดึกตื่นสายระหว่างปิดเทอมกันมาบ้าง แต่ในช่วงชีวิตที่ต้องไปเรียน หรือไปทำงาน การนอนตี 2-3 แล้วต้องตื่นตอนเช้าอาจเป็นเรื่องยาก ยิ่งช่วง Work From Home อาจทำให้หลายคนขยับเวลาตื่นให้ได้นอนต่อเพิ่มขึ้น จนเวลาตื่นเวลานอนเปลี่ยนไปหมด เราอาจเรียกได้ว่าเป็นช่วงที่ “นาฬิกาชีวิต” รวน

หมอเอิ้น หรือ พ.ญ. พิยะดา หาชัยภูมิ จิตแพทย์จากโรงพยาบาลพระราม 9 ระบุถึงเรื่องนี้ในรายการ Sanook Call From Nowhere เอาไว้ว่า การ Work From Home ที่ถูกต้อง ที่ไม่ทำร้ายสุขภาพ คือการจัดการเวลาในชีวิตไม่ให้กิจกรรมที่ทำปนเปกัน การทำงานที่บ้านอาจทำให้เราสับสนได้ว่าเวลาไหนทำงาน เวลาไหนควรพักผ่อน บางคนอาจถึงขั้นลืมว่าวันนี้วันอะไร รวมถึงคนในบ้านอาจไม่เข้าใจว่าเรากำลังทำงาน อาจขอให้ทำนู่นนี่เหมือนเป็นวันหยุดอยู่บ้าน ไหนจะเรื่องการนอนหลับและตื่นนอนที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งหมดนี้อาจทำให้นาฬิกาชีวิตของเรารวนได้

เรามีวิธีจัดการให้นาฬิกาชีวิตกลับมาทำงานตามเดิมได้ง่ายๆ ดังนี้

  • ปรับเวลานอน และเวลาตื่น ให้เป็นเวลาเดียวกับวันที่ไปเรียน/ไปทำงานตามปกติ

  • เปิดหน้าต่างให้แสงสว่างส่องเข้ามาในห้อง เหมือนเราทำงานตอนกลางวันข้างนอก

  • ตื่นมาทำงานตอนเช้า อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน จัดการตัวเองเหมือนไปทำงานตามปกติด้วย เพื่อให้ตัวเองรู้สึกสดชื่น และให้ตัวเองเข้าใจว่ากำลังจะทำงานจริงๆ (ไม่ต้องสวมชุดเหมือนไปทำงานก็ได้ แต่ก็ควรเปลี่ยนเป็นชุดอื่นนอกจากชุดนอน แต่ใครจะสวมชุดสวยๆ แต่งหน้าทำผมก็แล้วแต่ได้เลย)

  • คุย อธิบาย ให้คนที่บ้านเข้าใจ ว่าเวลาทำงานคือทำงานจริงๆ อาจไม่ว่างทำธุระให้กับที่บ้าน และพร้อมจะกลับไปให้เวลากับที่บ้านเมื่อเลิกเวลางาน หรือทำงานเสร็จ

  • ถ้าง่วงยามบ่าย อย่างีบหลับ หรือถ้าง่วงมากจริงๆ ไม่ควรงีบหลับหลัง 14.00 น. และไม่ควรงีบเกิน 15 นาที

  • ขยับร่างกายระหว่างทำงาน ลุกขึ้นเดิน เข้าห้องน้ำ อย่านั่งอยู่กับที่ทั้งวัน หรือนานเกินไป ควรลุกทุกๆ 1 ชั่วโมง

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ ตั้งขวด หรือกระบอกน้ำดื่มเอาไว้บนโต๊ะตลอดทั้งวัน แล้วดื่มให้หมด หมดก็ลุกไปเติม

  • ตอนเย็นหลังเลิกงาน ควรหาเวลาออกกำลังกายง่ายๆ เช่น แอโรบิก โยคะง่ายๆ ตามคลิปออนไลน์ อย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน

  • การทำงานที่บ้านอาจทำให้เราใช้เวลาอยู่กับงานมากขึ้น นานขึ้นโดยไม่รู้ตัว หลายคนอาจคิดถึงเรื่องงานไปจนถึงเวลาเข้านอน ดังนั้นช่วงเวลาก่อนนอนควรหาเวลาทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย และหยุดคิดเรื่องงานไปก่อน เช่น ดูหนัง ฟังเพลง คุยกับเพื่อน เมื่อสมองผ่อนคลายแล้วค่อยล้มตัวลงนอน การฝืนนอนทั้งๆ ที่สมองยังคิดเรื่องงานอยู่ อาจทำให้นอนไม่หลับ

  • สามารถรับชมรายการ Sanook Call From Nowhere สัมภาษณ์หมอเอิ้น หรือ พ.ญ. พิยะดา หาชัยภูมิ  ได้เต็มๆ ที่นี่

    5 เคล็ดลับทำตอนเช้า ลด “ไขมันพอกตับ” ได้จริง แถมสุขภาพดีขึ้น

    5 เคล็ดลับทำตอนเช้า ลด “ไขมันพอกตับ” ได้จริง แถมสุขภาพดีขึ้น

    ไขมันพอกตับ ปัญหาสุขภาพในคนไทยเกือบครึ่งประเทศที่กำลังเผชิญอยู่ อาการดีขึ้นได้หากปฏิบัติตามเคล็ดลับง่ายๆ 5 ข้อนี้ในทุกเช้า