เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

สัญญาณอันตราย \

สัญญาณอันตราย "มะเร็งลิ้น" สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

“ลิ้น” เป็นอวัยวะที่มีที่สำคัญในการกลืนอาหาร การรับรสชาติ และการพูดจา แต่ “ลิ้น” ของเราสามารถเป็นอวัยวะที่เกิดโรค “มะเร็ง” ได้เหมือนกับอวัยวะภายในอื่นๆ โดยโรคมะเร็งที่ลิ้น เป็นโรคมะเร็งในช่องปากที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด และก่อให้เกิดผลกระทบในการใช้ชีวิตได้มากกว่าที่คิด


มะเร็งลิ้น เป็นอย่างไร?

อ.นพ.วรวรรธน์ ระหว่างบ้าน แพทย์ฝ่ายโสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า โรคมะเร็งที่ลิ้นเป็นโรคมะเร็งในช่องปากที่พบได้บ่อยที่สุด หรือราว 30% ของมะเร็งในช่องปากทั้งหมด 

 
อันตรายของโรคมะเร็งลิ้น

มะเร็งลิ้น จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงค่อนข้างสูง และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยค่อนข้างมาก เนื่องจากลิ้นใช้ทั้งเคี้ยวอาหาร กลืน พูด และเป็นอวัยวะที่มีเส้นประสาท และเส้นเลือดมาเลี้ยงจำนวนมาก ดังนั้นผู้ป่วยโรคมะเร็งลิ้นจึงมีปัญหาด้านการเคี้ยว กลืนอาหาร การพูด และจะมีความเจ็บปวดที่ลิ้นค่อนข้างเยอะ รวมถึงอาการเลือดออกที่ลิ้นได้

 
สัญญาณอันตราย “มะเร็งลิ้น”

  • มีแผล หรือก้อนที่ลิ้น และไม่หายไปภายใน 2-4 สัปดาห์
  • พบฝ้าแดง หรือฝ้าขาวที่ลิ้น เป็นเรื้อรังไม่หายไปเอง
  • พบก้อนที่คอ บริเวณใต้ขากรรไกร
  •  
    ปัจจัยเสี่ยง มะเร็งลิ้น

  • สูบบุหรี่ ยิ่งสูบเยอะ สูบเป็นเวลานานหลายเดือนหลายปี ยิ่งเสี่ยงเยอะ พบงานวิจัยว่าหากสูบบุหรี่เกิน 30 มวนต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งลิ้นได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 4 เท่า
  • ดื่มแอลกอฮอล์ ยิ่งดื่มเยอะ ดื่มเป็นเวลานานหลายเดือนหลายปี เสี่ยงโรคมะเร็งลิ้นมากกว่าคนทั่วไป ยิ่งถ้าสูบบุหรี่ด้วย ดื่มแอลกอฮอล์ด้วย จะเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งลิ้นมากกว่าคนทั่วไปถึง 30 กว่าเท่า
  • เคี้ยวหมาก เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลิ้นได้ เพราะในหมากมีสารก่อมะเร็งที่เรียกว่า ไนโตรซามีน ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนในช่องปาก และทำให้กลายเป็นมะเร็งได้
  • มีแผลเรื้อรัง ซ้ำๆ ที่ลิ้น เช่น มีฟันผุ ขอบฟันคมจนทำให้เกิดแผลที่ลิ้น หรือใช้อุปกรณ์จัดฟัน หรือฟันปลอมที่ไม่พอดีกับช่องปาก
  •  
    วิธีป้องกันโรคมะเร็งลิ้น

  • เมื่อไรก็ตามที่พบแผล หรือก้อนบนลิ้นที่ไม่หายเองใน 2-4 สัปดาห์ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาทันที เพราะมะเร็งลิ้นสามารถรักษาได้หากพบในระยะแรก
  • หากพบฝ้าขาว ฝ้าแดงที่ลิ้น โดยเฉพาะบริเวณข้างลิ้น หรือใต้ลิ้น ที่เป็นเรื้อรัง และไม่หายได้เอง ควรรีบพบแพทย์ทันทีเช่นกัน
  • งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และหมาก
  • ดูแลสุขภาพฟันให้ดี ให้ทันตแพทย์ช่วยดูแลฟันอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันปัญหาฟันคมจนบาดลิ้น รวมถึงการใช้ฟันปลอม หรืออุปกรณ์จัดฟันที่ไม่เหมาะสมด้วย