
"ยาเสียสาว" มีจริงหรือ ป้องกันอันตรายได้อย่างไร
อาจจะเคยได้ยินคำว่า “ยาเสียสาว” ในอินเตอร์เน็ต หรือในข่าวรายวันกันมาบ้าง จริงๆ แล้วยาเสียสาวมีอยู่จริงหรือไม่ ส่งผลอันตรายต่อร่างกายของเราอย่างไร และมีวิธีป้องกันการบริโภคเข้าไปโดยไม่รู้ตัวได้บ้างหรือไม่ Sanook Health ขอนำข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มาฝากกัน
ยาเสียสาว คืออะไร มีจริงหรือ
ยาเสียสาว คือ ยาหรือสารเคมีที่ผู้ไม่หวังดีนำมาใช้กับเหยื่อในทางผิดๆ เพื่อก่ออาชญากรรมต่างๆ เช่น รูดทรัพย์ ล่วงละเมิดทางเพศ ฯลฯ
ตัวอย่างสารเคมีที่อาจพบได้ในยาเสียสาว
- ยามิดาโซแลม (Midazolam) หรือชื่อการค้า โดมิคุม (Dormicum)
- ยาอัลปราโซแลม (Alprazolam)
- ยาฟลูไนตราซีแปม (Flunitrazepam) หรือชื่อการค้า โรฮิบนอล (Rohypnol)
- สารจีเอชบี (GHB = gamma-hydroxybutyrate)
- ยาเค หรือ เคตามีน (ketamine)
อาการที่เกิดขึ้น หลังบริโภคยาเสียสาว
- มึนงง
- ง่วงซึม
- ไม่มีสติ
- อาจถึงขั้นสลบได้
ยาเสียสาว ออกฤทธิ์อย่างไร?
ส่วนใหญ่สารเคมีในยาเสียสาวจะเริ่มทำให้ร่างกายเกิดอาการต่างๆ ภายในระยะเวลา 30 นาที โดยเหยื่ออาจเผลอบริโภคยาเสียสาวเข้าไปในร่างกายในรูปแบบของการถูกผสมลงไปในเครื่องดื่ม เพราะส่วนใหญ่สารเคมีในยาเสียสาวจะละลายน้ำได้ดี โดยเฉพาะหากมีการผสมลงไปในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะยิ่งเพิ่มการออกฤทธิ์มากขึ้น
เครื่องดื่มที่ถูกผสมยาเสียสาว จะสามารถสังเกตได้หรือไม่?
สารเคมีในยาเสียสาวส่วนใหญ่อาจมาในรูปแบบของยาที่ไร้สี ไร้กลิ่น ไร้รส ดังนั้นอาจเป็นเรื่องยากที่จะสังเกตได้ว่าเครื่องดื่มเหล่านั้นถูกผสมยาเสียสาวหรือไม่ แต่ในบางประเภทอาจจะพอสังเกตได้จากรสหรือกลิ่นที่แปลกไปจากเดิมได้เช่นกัน แต่หากเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะยิ่งสังเกตได้ยาก เพราะมีรสชาติขมๆ ค่อนข้างชัดเจน จึงอาจกลบรสของยาไปได้มาก จึงยากต่อการสังเกต
วิธีป้องกันการบริโภคยาเสียสาวโดยไม่ตั้งใจ
อ่านเพิ่มเติม