เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

เช็กด่วน! 10 อาการเริ่มต้นของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ

เช็กด่วน! 10 อาการเริ่มต้นของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ

ขี้ร้อน หงุดหงิดง่าย มือสั่น ผมร่วง อาการเหล่านี้คือสัญญาณอันตรายของ “ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ”

ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบของต่อมไร้ท่อ ลักษณะก็จะคล้ายๆ กับปีกผีเสื้อที่กางออกแล้วครอบอยู่บริเวณด้านบนของหลอดลม ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่ควบคุมการเผาผลาญพลังงานภายในร่างกาย ระบบย่อยอาหาร ระดับไขมันในเลือด การทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ไปจนถึงควบคุมเรื่องอารมณ์และความรู้สึก 

ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เป็นอย่างไร ?

โดยปกติแล้วต่อมไทรอยด์จะผลิตฮอร์โมนออกมาในปริมาณที่เหมาะสม ช่วยเสริมให้ระบบต่างๆ ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่เมื่อวันใดที่ต่อมไทรอยด์เกิดทำงานหนักจนเกินไป ก็จะส่งผลให้ร่างกายเหนื่อยง่าย มือสั่น ใจสั่น นอนไม่หลับ น้ำหนักลด หรือในผู้หญิงก็อาจเกิดประจำเดือนมาผิดปกติได้ ในบางรายหากมีอาการรุนแรงก็จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการโคม่า ตาเหลือง ตัวเหลือง อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายและมีน้ำท่วมปอดได้ รวมแล้วอาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะเรียกว่า ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ

อาการเริ่มต้นของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ

ผศ.พญ.คนึงนิจ กิ่งเพชร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุสัญญาณอันตราย หรืออาการเริ่มต้นของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ดังนี้

  • ต่อมไทรอยด์บริเวณลำคอโตขึ้น
  • ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก
  • มือสั่น
  • ผมร่วง
  • หงุดหงิดง่าย
  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
  • ถ่ายอุจจาระบ่อย ลักษณะอุจจาระค่อนข้างเหลว
  • รับประทานอาหารปริมาณเท่าเดิม หรือมากขึ้น แต่น้ำหนักลดลง
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะต้นแขน และต้นขา
  • บางรายอาจมีอาการตาโปนร่วมด้วย
  • วิธีรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษ

    ศูนย์เบาหวานและต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลพญาไท 1 ให้ข้อมูลถึงวิธีรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษเอาไว้ ดังนี้

  • กินยาที่ออกฤทธิ์สกัดกั้นการสังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอยด์ (ยาต้านไทรอยด์) ซึ่งจะช่วยให้อาการต่างๆ ที่เกิดจากการเผาผลาญในร่างกายที่สูงเกินไปหายไป เช่น อาการใจสั่น เหนื่อย น้ำหนักลด เป็นต้น

  • กินไอโอดีน-131 โดยอาศัยกระบวนการเปลี่ยนเป็นไอโอดีน-128 ในร่างกาย ที่ไอโอดีน-131 ปล่อยกัมมันตรังสีที่สามารถทำลายเซลล์ออกมา ต่อมไทรอยด์ที่ถูกทำลายจะมีขนาดเล็กลง และอาการต่อมไทรอยด์เป็นพิษจะค่อยๆ ดีขึ้น

  • ผ่าตัดโดยแพทย์เพื่อนำต่อมไทรอยด์ที่เป็นพิษออกไปบางส่วน ทำให้ต่อมไทรอยด์มีขนาดเล็กลง จะได้ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาน้อยลง วิธีนี้ช่วยให้อาการต่างๆ หายไปอย่างรวดเร็ว
  • ติ่งเนื้อ เกิดจากอะไร วิธีกำจัดติ่งเนื้อ และวิธีดูแลหากมีติ่งเนื้อ

    ติ่งเนื้อ เกิดจากอะไร วิธีกำจัดติ่งเนื้อ และวิธีดูแลหากมีติ่งเนื้อ

    “ติ่งเนื้อ” ที่มีลักษณะคล้ายไฝ หรือขี้แมลงวันเล็กๆ แต่มันปูดออกมา ติดเนื้อเป็นติ่งๆ ดูเหมือนอะไรติดผิวหนังแบบที่หยิบดึงออกมาได้ มีทั้งสีคล้ำอย่างดำ น้ำตาล ไปจนถึงสีเนื้อ เหลือง หรือสีชาๆ คล้ายน้ำชา