เนื้อหาในหมวด บ้าน

รวมจุดสะสมเชื้อโควิด-19 และระยะเวลาที่เชื้อมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวเหล่านั้น

รวมจุดสะสมเชื้อโควิด-19 และระยะเวลาที่เชื้อมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวเหล่านั้น

เมื่อโควิด-19 กลับมาระบาดอีกครั้ง นอกจากการบอกให้สวมหน้ากากอนามัย กินอาหารปรุงสุก ใช้ช้อนส่วนตัว ล้างมือบ่อยๆ แล้ว สิ่งรอบตัวเราก็ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะสิ่งที่เราต้องมีการสัมผัสบ่อยครั้งในแต่ละวันสิ่งของ หรือแหล่งเหล่านั้นก็กลายเป็นจุดเสี่ยงสะสมเชื้อโควิด-19 ที่เราต้องเพิ่มความระมัดระวัง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสสิ่งเหล่านั้น มาดูกันว่ามีจุดใดบ้างที่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโควิด-19 และในแต่ละจุดเชื้อจะมีชีวิตอยู่ได้นานแค่ไหน

จากข้อมูลของ ผศ. นพ.ภาวิทย์ เพียรวิจิตร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกมาระบุถึง 10 จุดสะสมเชื้อโควิด-19 ดังนี้

  • ธนบัตร และเหรียญ

หลังจับธนบัตร หรือเหรียญควรรีบทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือสบู่ทันที

  • โต๊ะทำงาน

ควรทำความสะอาดโต๊ะทำงานของตนเองอย่างสม่ำเสมอด้วยแอลกอฮอล์

  • ราวบันไดเลื่อน

แต่หากจำเป็นต้องจับควรรีบทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือสบู่ทันที

  • บัตรคูปองอาหาร บัตรจอดรถแบบบัตรแข็ง

ใช้แอลกอฮอล์เข้มข้นไม่ต่ำกว่า 70 % ฉีดที่บัตรทุกครั้งที่ได้รับบัตรมา

  • ที่จับประตู

-ใช้ไหล่ดันเพื่อเปิดประตู

-ใช้สเปรย์แอลกอฮอล์ฉีดบนทิชชูเช็ดลูกบิดก่อนสัมผัส

  • โทรศัพท์สำนักงาน และโทรศัพท์มือถือ

ควรทำความสะอาดบ่อยๆ และถอดเคสออกมาเช็ดด้วยแอลกอฮอล์เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค

  • ปุ่มกดลิฟต์

ใช้ปากกาหรือไม้จิ้มฟันกดลิฟต์ เพื่อลดการสัมผัสกับลิฟต์โดยตรง

  • ตู้ ATM หรือตู้อัตโนมัติต่างๆ

ควรรีบทำความสะอาดด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือสบู่ทันทีหลังจากสัมผัสตู้

สำหรับระยะเวลาที่เชื้อไวรัสจะมีชีวิตอยู่ได้นานแค่ไหนนั้น กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคได้ออกมาให้รายละเอียดดังนี้

  • ถ้าเชื้อไวรัสอยู่ในละอองฝอยน้ำมูก น้ำเสมหะ น้ำลาย และน้ำตาอยู่รอดในอากาศได้เพียง 5 นาที
  • ถ้าเชื้อไวรัสอยู่บนวัสดุเช่น พื้น โต๊ะ ลูกบิดประตูอยู่ได้ 7-8 ชั่วโมง
  • ถ้าเชื้อไวรัสอยู่ในผ้า หรือกระดาษทิชชู อยู่ได้ 8-12 ชั่วโมง
  • ถ้าเชื้อไวรัสอยู่บนโต๊ะพื้นเรียบ อยู่ได้ 24-48 ชั่วโมง
  • ถ้าเชื้อไวรัสอยู่ในน้ำอยู่ได้ 4 วัน
  • แต่ถ้าเชื้อไวรัสอยู่ในตู้เย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียสอาจอยู่ได้นานถึง 1 เดือน

 

วิธีอยู่ร่วมห้องกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 และการแบ่งโซนสีในห้อง ช่วยลดเสี่ยง

วิธีอยู่ร่วมห้องกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 และการแบ่งโซนสีในห้อง ช่วยลดเสี่ยง

เนื่องจากในปัจจุบันผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่อยู่ในกลุ่มอาการสีเขียวที่อาการไม่มากส่วนหนึ่งมักจะเลือกการรักษาตัวอยู่ที่บ้านหรือ Home Isolation

ปรับห้องต่างๆ ใน \

ปรับห้องต่างๆ ใน "บ้าน" อย่างไร ให้อยู่ร่วมกับโควิด-19 ได้อย่างปลอดภัย

หลังจากมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมาย แต่ในเมื่อโควิด-19 ยังไม่หายไปจากโลกใบนี้ เราจะปรับตัวใช้ชีวิตอยู่ในบ้านกันอย่างไร

แนวทาง \

แนวทาง "ตักบาตร" อย่างไรให้ปลอดภัย ลดเสี่ยงโควิด -19

ในช่วงสุดสัปดาห์นี้จะเป็นวันมาฆบูชา ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ และสิ่งที่พุทธศาสนิกชนทำกิจกรรมสืบทอดกันมาในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสิ่งหนึ่งก็คือ "การตักบาตร"

กักตัว 14 วันอย่างไร ให้ปลอดภัยกับคนในบ้าน

กักตัว 14 วันอย่างไร ให้ปลอดภัยกับคนในบ้าน

ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากกลุ่มคลัสเตอร์ที่หลากหลายทั้งบ่อน สถานบันเทิง จึงส่งผลให้หลายๆ คนอาจเข้าไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงแบบไม่ทันได้ระวังตัว

แชร์ไอเดีย DIY ฉากใสกั้น COVID-19 งบไม่ถึง 150 บาท

แชร์ไอเดีย DIY ฉากใสกั้น COVID-19 งบไม่ถึง 150 บาท

เพจเอิร์ธ พงศกร ขวัญเมือง ของร้อยตำรวจเอกพงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานครได้มีการแชร์ไอเดียการ DIY ฉากกั้นโปร่งแสง งบไม่ถึง 150 บาท เ