เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

รู้จัก “โนวาแวกซ์” (Novavax) วัคซีนโควิด-19 ประสิทธิภาพไม่ธรรมดา

รู้จัก “โนวาแวกซ์” (Novavax) วัคซีนโควิด-19 ประสิทธิภาพไม่ธรรมดา

นอกจากไฟเซอร์กับโมเดอร์นาที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจแล้ว ยังมีวัคซีนอีกตัวอย่าง Novavax ที่ประสิทธิภาพดีไม่แพ้กัน แม้ว่าจะยังอยู่ในระหว่างการทดลอง และเก็บข้อมูล และยังไม่ได้การรับรองจาก WHO แต่ด้วยเทคโนโลยีในการผลิตแบบ protein-based ที่ค่อนข้างเป็นวิธีดั้งเดิม จึงทำให้เป็นวัคซีนที่ปลอดภัย ผลข้างเคียงน้อย และราคาไม่แพงมากเกินไป

รู้จัก “โนวาแวกซ์” (Novavax)

ชื่ออย่างเป็นทางการ: วัคซีน NVX-CoV2373

ผลิตโดย: บริษัท Novavax รัฐ Maryland ประเทศสหรัฐอเมริกา

ชนิดของวัคซีน: protein-based ผลิตโดยสร้างโปรตีนของเชื้อไวรัส ด้วยระบบ cell culture, yeast, baculovirus เป็นต้น แล้วนํามาผสมกับสารกระตุ้นภูมิ เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนตีบอดีต่อต้านโปรตีนสไปค์ของไวรัสโรคโควิด-19 โดยเทคโนโลยีนี้ใช้ในการผลิตวัคซีนหลายชนิด เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น

อายุที่ฉีดได้: อายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป แต่กำลังทดลองกับอายุ 14-17 ปี

จำนวนเข็ม: 2 เข็ม เข็มแรกห่างจากเข็มที่ 2 ราว 3 สัปดาห์

ผลข้างเคียงที่พบ: ยังไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรง พบแต่อาการข้างเคียงจากวัคซีนเท่าไป เช่น ปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เป็นต้น

ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส: ในเดือนมีนาคม 2564 Reuters รายงานว่า Novavax สามารถป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิมได้ 96.4% สายพันธุ์อัลฟา 86% และสายพันธุ์เบตาได้ 55% ในเดือนมิถุนายน 2564 The Guardian ระบุว่า Novavax สามารถป้องกันโควิด-19 โดยรวมได้มากถึง 93% (เฉพาะสายพันธุ์อัลฟา เบตา แกมมา ยังไม่มีข้อมูลของสายพันธุ์เดลต้า) หลังทดลองฉีดให้กับผู้ป่วยจำนวน 29,960 คนทั่วอเมริกา และเม็กซิโก และมีประสิทธิป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงได้มากถึง 91% เนื่องจากสามารถป้องกันโควิด-19 ได้หลายสายพันธุ์ จึงเป็นจับตามองของคนทั่วโลก

ประสิทธิภาพในการลดอาการรุนแรงถึงชีวิต: 100%

ประสิทธิภาพในการลดการแพร่เชื้อ: ไม่พบข้อมูล

ประเทศที่ฉีด: ยังไม่ได้รับการอนุมัติให้ใช้อย่างเป็นทางการในประเทศใดๆ เนื่องจากยังอยู่ในการทดลอง แต่มีการทดลองใช้กับผู้ป่วยในหลายประเทศแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินเดีย สหราชอาณาจักร แอฟริกาใต้ เม็กซิโก เปอร์โตริโก เป็นต้น

สถานะการรับรองโดย WHO: ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนให้เป็นวัคซีนที่ใช้ในกรณีฉุกเฉินจาก WHO

ข้อดี: เนื่องจากเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนแบบ protein-based เป็นเทคโนโลยีที่นักวิจัยและแพทย์คุ้นเคยกันอยู่แล้ว จึงค่อนข้างปลอดภัย ผลข้างเคียงน้อย ผลการทดลองจนถึงปัจจุบัน (13 ก.ค. 64) ยังออกมาเป็นที่น่าพอใจ เพราะเป็นโปรตีนหนามที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายโดยตรง ไม่ต้องผ่านตัวกลางหรือกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย นอกจากนี้ยังราคาถูก โดย 2 โดส (หรือ 2 เข็ม) ราคาอยู่ที่ 16 เหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 522 บาทเท่านั้น

ข้อควรระวัง: ยังคงต้องผลสรุปการทดลองในขั้นตอนสุดท้าย รวมถึงรอการยอมรับ และจดทะเบียนเป็นวัคซีนที่ใช้ในกรณีฉุกเฉินจาก WHO อีกครั้ง