เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

5 เรื่องที่คุณอาจใช้ยา “พาราเซตามอล” แบบผิดๆ โดยไม่รู้ตัว

5 เรื่องที่คุณอาจใช้ยา “พาราเซตามอล” แบบผิดๆ โดยไม่รู้ตัว

ยาพาราเซตามอลมีข้อบ่งชี้ในการช่วยบรรเทาอาการปวด ลดไข้ สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ จัดเป็นยาสามัญประจำบ้านที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย หลักการใช้ที่ปลอดภัยควรเป็นอย่างไร Sanook Health มีข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มาฝากกัน

5 เรื่องที่คุณอาจใช้ยา “พาราเซตามอล” แบบผิดๆ โดยไม่รู้ตัว

  • กินยาพาราเซตามอลมากเกินความจำเป็น
  • การจะกินยาพาราเซตามอลกี่เม็ด ไม่ได้อยู่ที่ “วัย” แต่เพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่ “น้ำหนักตัว” ขนาดยาพาราเซตามอลที่เหมาะสมกับร่างกายของเราอยู่ที่ 10-15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

    ยาเม็ดขนาด 325 มิลลิกรัม 

    น้ำหนักตัว 22-33 กิโลกรัม รับประทานยาพาราเซตามอล 1 เม็ด

    น้ำหนักตัว 33-44 กิโลกรัม รับประทานยาพาราเซตามอล 1 เม็ดครึ่ง

    น้ำหนักตัวมากกว่า 44 กิโลกรัม รับประทานยาพาราเซตามอล 2 เม็ด

    ยาเม็ดขนาด 500 มิลลิกรัม

    น้ำหนักตัว 34-50 กิโลกรัม รับประทานยาพาราเซตามอล 1 เม็ด

    น้ำหนักตัว 50-67 กิโลกรัม รับประทานยาพาราเซตามอล 1 เม็ดครึ่ง (ไม่เกินวันละ 5 ครั้ง)

    น้ำหนักตัวมากกว่า 67 กิโลกรัม รับประทานยาพาราเซตามอล 2 เม็ด (ไม่เกินวันละ 4 ครั้ง)

    โดยรวม 1 วัน ไม่ควรกินเกิน 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน การกินยาพาราซตามอลเกินความจำเป็น อาจส่งผลให้ดื้อยาในภายหลังได้

  • กินยาพาราเซตามอลในระยะเวลาใกล้กันเกินไป
  • ยาพาราเซตามอล ควรกินห่างกัน 4-6 ชั่วโมง ดังนั้นหากระยะเวลาผ่านไปเพียง 2-3 ชั่วโมง อย่าเพิ่งหยิบมากินอีก และไม่จำเป็นต้องกินหลังอาหาร เมื่อไรก็ตามที่มีอาการปวด มีไข้ สามารถกินได้เลย

  • กินยาพาราเซตามอล ติดต่อกันนานเกินไป
  • หลายคนอาจรักษาอาการไข้หวัดด้วยตนเองอยู่ที่บ้าน จึงกินยาพาราเซตามอลเพื่อลดอาการปวดศีรษะ ลดไข้เอง แต่ไม่ควรกินยาพาราเซตามอลติดต่อกันเกิน 5 วัน หาก 5 วันผ่านไปแล้วอาการไข้ยังไม่ดีขึ้น ยังมีไข้หลังยาหมดฤทธิ์ตลอดทุกวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยโรคอย่างละเอียดจะดีกว่า

  • ผู้ป่วยโรคตับ โรคไต ควรปรึกษาแพทย์ก่อนกินยาพาราเซตามอล
  • แม้ว่ายาพาราเซตามอลจะเป็นหนึ่งในยาแก้ปวดลดไข้ที่ปลอดภัยที่สุดตัวหนึ่ง แต่ยาพาราเซตามอลอาจมีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยโรคตับ โรคไตได้ โดยการรับประทานยาพาราเซตามอลอาจยิ่งเพิ่มโอกาสอาการเกิดภาวะตับเป็นพิษ และอาการตับวายเฉียบพลันได้ ดังนั้นผู้ป่วยโรคไต และโรคตับ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนกิน โดยแพทย์อาจพิจารณาความเสี่ยง หรือพิจารณาให้ยาแก้ปวดชนิดอื่นแทน

  • ห้ามกินยาพาราเซตามอล “ดัก” ไว้ก่อน
  • ยาพาราเซตามอล เป็นยาที่กินเมื่อมีอาการเท่านั้น หากไม่มีอาการไม่ควรกิน เช่นความเชื่อในเรื่องของการกินยาพาราเซตามอลดักเอาไว้ก่อนที่จะออกไปโดนฝน หรือทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นไข้หวัด ซึ่งเป็นความผิดที่ผิด เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการดื้อยาได้

    ข้อควรระวังในการรับประทานยาพาราเซตามอล

    • หากใช้ยาแล้วไข้ไม่ลดภายใน 3 วัน ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ หรืออาการปวดในเด็กไม่บรรเทาภายใน 5 วัน หรืออาการปวดของผู้ใหญ่ไม่บรรเทาใน 10 วันให้ไปพบแพทย์ เนื่องจากอาจเป็นอาการของโรคร้ายแรงได้
    • ระมัดระวังการใช้พาราเซตามอลร่วมกับยาชนิดอื่นที่มียาพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบ เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อที่มีส่วนผสมระหว่างยาพาราเซตามอลและออร์เฟนาดรีน (orphenadrine)
    • เก็บยาในที่แห้ง พ้นจากแสง ความร้อน และเก็บยาให้พ้นจากมือเด็ก
    ปวดหัวบ่อยแค่ไหน ถึงเรียกว่า “ผิดปกติ”

    ปวดหัวบ่อยแค่ไหน ถึงเรียกว่า “ผิดปกติ”

    ปวดหัว ใครๆ ก็เคยปวด ปวดหัวทานยาแปบเดียวก็หาย แต่ใครที่ปวดหัวบ่อยๆ ทานยาแก้ปวดบ่อยๆ มันบ่อยมากแค่ไหนถึงจะรู้ตัวได้แล้วว่าผิดปกติ