เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

สาเหตุ \

สาเหตุ "ตับแข็ง" ที่ไม่ได้มาจากการดื่มเหล้า

แม้ว่าแอลกอฮอล์จะเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำให้เป็นตับแข็ง แต่ยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เป็นโรคนี้ได้อีก

อ. พญ.ศุภมาส เชิญอักษร สาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายถึงอาการตับแข็ง และสาเหตุที่ของโรคเอาไว้ ดังนี้

โรคตับแข็ง คืออะไร?

  • เป็นโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง เช่น ไวรัสตับอักเสบบี และซี 
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากและเป็นเวลานาน
  • เป็นโรคทางพันธุกรรม เช่น Wilson disease (ความผิดปกติของตับที่ไม่สามารถขับทองแดงออกจากร่างกายได้ทำให้มีการสะสมทองแดงมากเกินไป), Hemochromatosis (ภาวะธาตุเหล็กในร่างกายเกินซึ่งอาจจะเป็นจากโรคทางพันธุกรรมทำให้ไม่สามารถขับธาตุเหล็กออกจากร่างกายได้หรือเป็นจากการได้รับธาตุเหล็กเกินโดยเฉพาะในคนไทยที่มีโรคเลือดจางธาลัสซีเมียรุนแรงจนต้องได้รับผลิตภัณฑ์เลือดอยู่บ่อยๆ), cystic fibrosis, alpha one antitrypsin deficiency, glycogen storage disease
  • มีภาวะไขมันคั่งตับ มักพบในคนอ้วน หรือคนไข้เบาหวาน
  • เป็นโรคแพ้ภูมิตนเองที่เกิดกับตับ เช่น autoimmune hepatitis, primary biliary cholangitis, primary sclerosing cholangitis
  • เป็นโรคท่อทางเดินน้ำดีฝ่อตั้งแต่แรกเกิด (Biliary atresia)
  • ได้รับยาบางชนิด หรือสมุนไพรบางอย่างที่มีผลต่อตับ
  • มีภาวะหัวใจด้านขวาล้มเหลวเรื้อรัง
  • มีการอุดกั้นของหลอดเลือดดำทางออกของตับ
  • ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งพบในถึง 1 ใน 4 ของผู้ป่วย
  • อาการของโรคตับแข็ง

    โดยส่วนมากในช่วงแรกของการเกิดโรคแทบไม่พบอาการหรือมีแสดงอาการน้อยมากโดยอาการแสดงก็ไม่จำเพาะเจาะจง เช่น 

    • อ่อนเพลีย 
    • เบื่ออาหาร 
    • นอนไม่หลับ 
    • คันตามตัว  

    ต่อเมื่อการทำงานของตับแย่ลงก็จะมาด้วยภาวะแทรกซ้อน เช่น 

    • ตัวตาเหลืองหรือดีซ่าน 
    • ท้องมาน 
    • เท้าหรือตัวบวม 
    • อาเจียนเป็นเลือด 
    • น้ำหนักลดจากการมีมะเร็งตับ

    วิธีป้องกันโรคตัวแข็ง

  • รักษาโรคที่เป็นอยู่ ที่เป็นสาเหตุของอาการตับแข็ง เช่น รักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี หรือซี ที่เป็นอยู่ กินยากดภูมิคุ้มกัน กินยาขับธาตุเหล็ก หรือทองแดง เป็นต้น 
  • ลดการดื่มแอลกอฮอล์
  • ฉีดวัคซีนที่จำเป็น โดยเฉพาะวัคซีนสำหรับป้องกันไวรัสตับเสบเอ และบี
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งตับ
  • ระวังการใช้ยาที่ผ่านการทำลายยาที่ตับ เช่น พาราเซตามอล (ไม่กินติดต่อกันเกิน 5 วัน)