เนื้อหาในหมวด ข่าว

ไขความจริง! ครูฝึกทหารห้ามดึงร่ม หลังร่มจริงขาดกลางอากาศ

ไขความจริง! ครูฝึกทหารห้ามดึงร่ม หลังร่มจริงขาดกลางอากาศ

กำลังเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมเมื่อปรากฏคลิปเหตุการณ์ขณะที่ นักเรียนทหารจากโรงเรียนสงครามพิเศษ จ.ลพบุรี กำลังทำการฝึกกระโดดร่ม จากความสูง 2,500 ฟิต แต่ในขณะที่กระโดดร่มลงมานั้น ปรากฏว่าเกิดเหตุการณ์น่าหวาดเสียว เมื่อร่มชนิดบุคคลโดด รุ่น MC1-1B/NS ของนักเรียนทหารรายหนึ่งเกิดขาดกลางอากาศ

จากคลิปเสียงครูฝึกได้สั่งการ “ไม่ต้องตกใจ ไม่ต้องตกใจ ลงแบบนั้นได้ ให้พยายามบังคับร่มไป ไม่ต้องดึงร่วมช่วย ไม่ต้องดึงนะ"

1b

แตกต่างจากครูฝึกอีกคนที่ตะโกนสั่งให้นักเรียนทหารดึงร่มสำรองเพื่อช่วยชีวิต ท่ามกลางเสียงกรีดร้องของผู้ปกครองที่อยู่ในเหตุการณ์ สุดท้ายแล้วนักเรียนทหารร่มขาดก็ตัดสินใจดึงร่มสำรองก่อนลงสู่พื้นเล็กน้อย และลงได้อย่างปลอดภัย

คำถามที่ตามมาคือความปลอดภัยของนักเรียนทหารอยู่ที่ไหนในเมื่อครูฝึกยังมีความคิดเห็นไม่ตรงกันในการแก้ไขสถานการณ์ปัญหาเฉพาะหน้า

ที่สำคัญหากร่มขาดกลางอากาศควรดึงหรือไม่ควรดึงร่มสำรองกันแน่?

rre

ทีนี้ลองมาดูเหตุผลที่ครูฝึกไม่ให้นักเรียนทหารดึงร่มสำรอง ทั้งที่ร่มขาดกลางอากาศ และให้ร่อนลงตรงที่ชายป่าตามปกติ

จากความคิดเห็นของผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง คือคุณ  "Tuchshapon Poonmee" ได้แสดงความคิดเห็นอย่างน่าสนใจว่า การจะดึงช่วยมีหลายกรณี แต่ละกรณีมีวิธีแตกต่างกัน ในคลิปนี้การที่ครูบอกไม่ให้ดึงร่มช่วย เพราะถ้าดึงร่ม pilot จะพุ่งขึ้นไปพันเข้ากับสายร่มหลัก จะทำให้พันกันไปอีก

วิธีทีที่ใช้ในกรณีนี้เรียกว่า  "การโรยร่ม" คือ การเอามือกดไว้ตรงหน้ากระเป๋าร่มช่วย แล้วจึงดึงห่วงกระตุกร่มแล้ว ทำการโรยร่มอย่างในคลิป จึงเห็นว่าร่มค่อยๆ กินลมแล้วกางออก วิธีนี้คือวิธีที่ถูกที่สุด ในการแก้ปัญหาในการช่วยชีวิตตัวเอง (ขอขยายความร่มpilot คือร่มเล็กๆ ที่จะทำหน้าที่เป็นตัวนำร่มหลัก หรือร่มสำรองออกไปกินลมแล้วกาง อธิบายคร่าวๆ) การจะดึงร่มช่วยได้ทันทีนั้น มีสองหรือสามกรณี คือ

1g5

1.ร่มไม่กาง

2.ร่มกางไม่สมบูรณ์หรือเรียกว่า "ซิกาเรสโรด"

3. การสละร่มหลัก

จริง ๆ แล้วในคลิปไม่จำเป็นจะต้องดึงร่มสำรองออกมาก็ได้ เพราะอันตรายการตกนั้นยังอยู่ในความเร็วที่ฝึกมา ร่มขาดไม่ได้ส่งผลให้ลงเร็วขึ้น เพราะช่วงที่ขาดคือช่องอากาศที่ไว้ใช้ในการเคลื่อนตัวของร่มอยู่แล้ว

ด้านครูฝึกอีกคนที่ตะโกนให้นักเรียนดึงร่มสำรองนั้นเพราะว่าร่มสำรองหรือร่มช่วยชีวิตถือว่าเป็นตัวช่วยตัวสุดท้ายที่ดีที่สุด เมื่อเราอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ หรือ กรณีร่มไม่กาง โดยร่มสำรองโดยทั่วไปจะกางภายในสามวิฯ นับตั้งแต่ปล่อยออกจากมือ

143fg

ด้าน พลโท ศิริชัย เทศนา ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ได้เปิดเผยหลังเหตุการณ์อย่างน่าสนใจว่า มีการตรวจสอบกับทางโรงเรียนแล้ว ร่มที่ฉีกขาดนั้นไม่ถึงขั้นอันตราย หรือผิดปกติมาก แต่อย่างไรก็ตามได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสาเหตุของการฉีกขาด ส่วนกรณีที่มีการสั่งให้นักเรียนไม่ดึงร่มสำรอง น่าจะเป็นการลงข้อมูลที่คลาดเคลื่อน เพราะในสถานการณ์จริงหากร่มผิดปกติ ครูฝึกจะต้องสั่งให้ดึงร่มสำรองเพื่อช่วยชีวิต

ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าครูฝึกทั้งสองคนจะมีการแก้ไขสถานการณ์ที่แตกต่างกัน และการตัดสินใจว่าสิ่งไหนถูกต้องคงเป็นเรื่องที่ยากต่อการตัดสิน แต่สิ่งหนึ่งที่เล็งเห็นเป็นที่สุดคือการแก้ปัญหาเฉพาะน่าควรมีแบบแผนที่รัดกุมและมีมาตรฐานความปลอดภัยเดียวกัน เพราะหากเกิดปัญหาถึงมาแบบนี้อีกจะได้ช่วยเหลือกันได้อย่างทันท่วงทีและมีความปลอดภัยมากขึ้น

สาวสวยกระโดดร่มฉลองวันเกิด แต่ร่มไม่กาง ร่างดิ่งพสุธากระแทกพื้น จุดจบสุดสลด

สาวสวยกระโดดร่มฉลองวันเกิด แต่ร่มไม่กาง ร่างดิ่งพสุธากระแทกพื้น จุดจบสุดสลด

สาวสวยกระโดดร่มฉลองวันเกิด แต่ร่มไม่กาง ร่างดิ่งพสุธาตกลงตรงต้นไม้ ก่อนร่วงกระแทกพื้น จุดจบสุดสลด

\

"เอวา ปวรวรรณ" สู้กับใจตัวเอง กระโดดร่มสูงถึง 14,000 ฟุต ครั้งแรกในชีวิต

เอาชนะความกลัว "เอวา ปวรวรรณ" คุณหนูหมื่นล้าน ขอสู้กับใจตัวเอง ด้วยการกระโดดร่มสูงถึง 14,000 ฟุต ประสบการณ์สุดตื่นเต้นครั้งแรกในชีวิต

ภาพสุดท้าย \

ภาพสุดท้าย "พ.อ.สนธยา หวังเจริญ " ซ้อมกระโดดร่มการกุศล ก่อนเกิดอุบัติเหตุ

คลิปภาพสุดท้าย "เสธ.หวัง" ทหารกล้าชายแดนใต้ ซ้อมกระโดดร่มการกุศลหาเงินสมทบทุนโรงเรียน ก่อนเกิดอุบัติเหตุร่มชูชีพไม่กาง