เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

ระดับน้ำตาลในเลือดเท่าไร ถึงเป็น \

ระดับน้ำตาลในเลือดเท่าไร ถึงเป็น "เบาหวาน"

นอกจากค่าไขมันในเลือดที่เราควรให้ความสำคัญในแต่ละครั้งที่เราตรวจสุขภาพแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดก็สำคัญเช่นกัน เพราะสามารถบ่งบอกถึงระดับความเสี่ยงโรคเบาหวานได้ด้วย

รศ. พญ.ลลิตา วัฒนะจรรยา แพทย์ประจำศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านเบาหวาน ฮอร์โมนและเมตะบอลิสม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อวินิจฉัยเบาหวานที่ใช้ทั่วไป มี 3 วิธี คือ

  • ระดับน้ำตาลในเลือด หลังจากอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ได้ค่าตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป
  • ระดับน้ำตาลในเลือด ณ เวลาใดก็ได้ ได้ค่าตั้งแต่ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป ร่วมกับมีอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชัดเจน เช่น หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักตัวลดลง
  • ระดับน้ำตาลสะสม ณ เวลาใดก็ได้ ได้ค่าตั้งแต่ 6.5% ขึ้นไป
  • กรณีที่ไม่มีอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชัดเจน ให้ทำการตรวจซ้ำอีก 1 ครั้ง เพื่อยืนยันการวินิจฉัยกรณีที่พบความผิดปกติในข้อ 1 และ 3 ร่วมกัน สามารถวินิจฉัยเบาหวานได้เลย แม้ไม่มีอาการที่ชัดเจน

    4 วิธีลดน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร ในผู้ป่วยเบาหวาน

    ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แนะนำวิธีลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร สำหรับผู้ป่วยเบาหวานเอาไว้ ดังนี้

  • งดของหวาน งดขนม อาหาร เครื่องดื่มรสหวานจัด รสชาติหวานพอดี คือ รสชาติหวานจากการเคี้ยวข้าว รสชาติหวานพอเพียง เป็นรสหวานตามธรรมชาติ
  • กินผักใบเขียว กินผักใบเขียวอย่างน้อย 1 ฝ่ามือในทุกมื้ออาหาร ผักใบเขียวจะช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาล
  • เคี้ยวจนเพลิน ใน 1 คำ อาหารให้เคี้ยวอย่างน้อย 15 ครั้งก่อนกลืน
  • เดินหลังอาหาร หลังกินอาหาร 15 นาที ควรเคลื่อนไหวใช้พลังงาน ด้วยการเดิน 15 นาที เมื่อเราใช้กล้ามเนื้อ พลังงาน (น้ำตาล) จะถูกนำไปใช้ ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารก็จะไม่สูงเกินไป (กล้ามเนื้อขาใหญ่กว่าแขน กล้ามเนื้อใหญ่กว่าใช้พลังงานมากกว่า จึงแนะนำให้เดิน)
  • หากอยากกินผลไม้ อ. นพ.วิทวัส แนววงศ์ แพทย์ประจำศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านเบาหวาน ฮอร์โมนและเมตะบอลิสม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แนะนำผลไม้น้ำตาลต่ำที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ ชมพู่ ฝรั่ง แอปเปิล แก้วมังกร และ มันแกว โดยรับประทานได้ 3-4 ส่วน แบ่งรับประทานครั้งละ 1 ส่วน อาจจะเป็นของว่างระหว่างมื้อ หรือแทนของหวานหลังมื้ออาหาร

    เช็กก่อนกิน “คีโตเจนิค” เหมาะกับใคร ใครควรกิน-ไม่ควรกิน

    เช็กก่อนกิน “คีโตเจนิค” เหมาะกับใคร ใครควรกิน-ไม่ควรกิน

    คีโตเจนิค คืออะไร หากคุณอยู่ในกลุ่มที่ไม่ควรกิน คีโตเจนิค ก็ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่น เพราะอาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้

    อุจจาระเป็นเมือก สีน้ำตาล มีฟอง มีไขมัน เป็นโรคอะไร?

    อุจจาระเป็นเมือก สีน้ำตาล มีฟอง มีไขมัน เป็นโรคอะไร?

    อาการอุจจาระเป็นเมือก น้ำมันๆ สีน้ำตาล คืออะไร อันตรายไหม มีคำตอบ อาการอุจจาระเป็นเมือก อาจเกิดจากการย่อยไขมันผิดปกติหรือติดเชื้อ ควรดูแลเบื้องต้นด้วยอาหารสุกสะอาด