เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

โรค \

โรค "ซึมเศร้า" ส่งผลกระทบต่อร่างกายไม่น้อยไปกว่าที่จิตใจ

“ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว”

ประโยคนี้อาจจะยังใช้ได้อยู่ เมื่ออาการที่เกิดกับจิตใจหลายๆ อย่าง ส่งผลกระทบต่อร่างกาย เป็นตัวเร่งความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมากมาย ตั้งแต่ความเครียดเล็กน้อย ไปจนถึงปัญหาทางจิตใจ โรคที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต ที่เกิดขึ้นกับการทำงานของระบบประสาทผิดปกติ จนต้องเข้ารับการรักษาด้วยยาอย่างจริงจัง

โรคซึมเศร้าเอง ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่นอกจากผลกระทบต่อจิตใจที่ทำให้หลายคนใช้ชีวิตอย่างยากลำบากแล้ว สภาพร่างกายภายนอกที่มองเห็นได้ด้วยตาก็อาจจะค่อยๆ แย่ลงจนคุณอาจไม่ทันสังเกตก็ได้ โดยพบว่า 75% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการทางร่างกายควบคู่ไปด้วย

โรค "ซึมเศร้า" ส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

  • อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง

  • World Health Organization (WHO) ระบุว่า มากกว่า 50% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักมีปัญหาเกี่ยวกับเรี่ยวแรงในร่างกายที่ลดน้อยลง อ่อนเพลียง่าย แม้ว่าจะไม่ได้ทำกิจกรรมหนักใดๆ

  • อาการเจ็บปวดอย่างไร้สาเหตุทั่วร่างกาย

  • ที่น่าแปลกคือ โรคซึมเศร้า มักทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยอิดๆ ออดๆ ปวดตรงนี้ เจ็บตรงนี้อย่างหาสาเหตุไม่ได้ เช่น ปวดหัว มึนหัว ปวดท้อง ปวดคอ ปวดหลัง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ในทางกลับกันอาการเจ็บปวดเรื้อรังที่รักษาเป็นระยะเวลานานแล้วไม่ดีขึ้น หรือลดทอนคุณภาพชีวิต ก็อาจเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าได้เหมือนกัน

  • ระบบทางเดินอาหารมีปัญหา

  • ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักมีปัญหากับระบบทางเดินอาหาร ที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย หรือท้องผูกได้ โดยอาจมีสาเหตุมาจากการขาดการดูแลเรื่องอาหารการกินให้เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ

  • นอนหลับไม่เต็มอิ่ม
  • เมื่อไรก็ตามที่โรคซึมเศร้าถามหา อาการแรกๆ ที่อาจเกิดขึ้นและสังเกตได้ง่ายที่สุด คือความผิดปกติในการนอน นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หรือแม้กระทั่งนอนหลับไม่เต็มอิ่ม หลับๆ ตื่นๆ ไปจนถึงนอนหลับครบตามชั่วโมงที่ควรจะนอน แต่ตื่นมาก็ยังง่วงเพลีย เป็นต้น

  • ความดันสูงและโรคเกี่ยวกับหัวใจ
  • โรคซึมเศร้าทำให้เกิดความเครียดเรื้อรังซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้ นอกจากนี้ภาวะความดันโลหิตสูงจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมองได้

  • น้ำหนักเพิ่ม-น้ำหนักลด
  • เมื่อคุณมีอาการของโรคซึมเศร้า วิถีชีวิตของคุณอาจเปลี่ยนไป ทั้งการกินเยอะขึ้น กินน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย หรือกินอาหารไม่ครบ 5 หมู่จนอาจเสี่ยงขาดสารอาหาร พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เสี่ยงน้ำหนักเพิ่ม หรือลดได้โดยที่เจ้าตัวอาจไม่ได้ตั้งใจ

    หากพบว่าคุณอาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้า ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัย รวมถึงเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อที่จะได้กลับมาเป็นคนดีคนเดิมไม่ซึมเศร้าอีกต่อไปได้ในอนาคต

    6 อาหารต้านการ “อักเสบ” ลดเสี่ยงมะเร็ง-โรคหัวใจ-ซึมเศร้า-อัลไซเมอร์

    6 อาหารต้านการ “อักเสบ” ลดเสี่ยงมะเร็ง-โรคหัวใจ-ซึมเศร้า-อัลไซเมอร์

    มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแนะนำสุดยอดอาหาร 6 ชนิดที่จะช่วยลดเสี่ยงโรคร้ายต่างๆ มีประโยชน์ แถมยังหารับประทานง่ายด้วย

    รู้จัก \

    รู้จัก "โรคซึมเศร้า" มีอาการอย่างไร และวิธีการดูแล ฟื้นฟู จิตใจ

    โรคซึมเศร้า คือ ภาวะซึมเศร้าที่มีมากกว่าอารมณ์เศร้า และเป็นโรคทางจิตเวช โดยเฉพาะโรคทางอารมณ์ โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยาหลายชนิด

    5 เช็กลิสต์ สุขภาพจิตแบบไหน ถึงควรพบจิตแพทย์

    5 เช็กลิสต์ สุขภาพจิตแบบไหน ถึงควรพบจิตแพทย์

    การพบจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องน่าอาย บางครั้งเราอาจไม่แน่ใจว่าความเครียดระดับไหนที่เราควรไปพบจิตแพทย์ ลองสังเกตอาการของตัวเองตาม 5 ข้อนี้เลย