
5 เหตุผลที่อาจทำให้ IF ลดน้ำหนักไม่ได้ผล แถมยังอันตรายต่อสุขภาพ
คิดอยากจะทำ IF เพื่อลดน้ำหนัก แต่ถ้าทำไม่ถูกวิธี อาจเป็นเหตุให้ต้องเข้าโรงพยาบาลได้
นักกำหนดอาหาร คลินิกควบคุมน้ำหนักและรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า Intermittent Fasting (IF) หรือการอดอาหารเป็นช่วงๆ เป็นวิธีลดน้ำหนักที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
IF คือการกำหนดช่วงเวลาในการกินอาหาร
การลดน้ำหนักแบบ IF เป็นการกำหนดช่วงเวลาในการอดอาหาร (Fasting) และรับประทานอาหาร (Feeding) โดยไม่เน้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคอาหาร แต่เป็นการกำหนดเวลาในการรับประทานอาหารจะทำให้ลดปริมาณการกินอาหารและลดพลังงานจากอาหารที่ได้รับ และในช่วงเวลาที่อดอาหาร (Fasting) ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ลดลง ส่งผลให้การเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดไปเป็นไขมันลดลง ทำให้การกักเก็บไขมันใต้ผิวหนังและน้ำหนักลดลง และช่วงที่ระดับอินซูลิน (Insulin) ลดลง ร่างกายจะหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) และนอร์อีพิเนฟริน (Norepinephrine) เพิ่มขึ้นอีกด้วย
5 เหตุผลที่อาจทำให้ IF ลดน้ำหนักไม่ได้ผล แถมยังอันตรายต่อสุขภาพ
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย ระบุถึงความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำ IF (Intermittent Fasting) เอาไว้ ดังนี้
การทำ IF สามารถช่วยลดน้ำหนักอย่างได้ผลในกลุ่มเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป หากทำอย่างถูกต้อง หากสนใจทำ IF ควรปรึกษาแพทย์ นักโภชนาการ รวมถึงประเมินสภาวะสุขภาพของตนเองและต้องไม่มีโรคประจำตัวก่อนทำ IF เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงการขาดสารอาหาร ขาดพลังงาน จนอาจเกิดผลกระทบที่แสดงให้เห็นในค่าเลือดและการทำงานของร่างกายหลายระบบในภายหลังได้