เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

10 วิธี กินอย่างไร ช่วยลด “ความดันสูง” ได้จริง

10 วิธี กินอย่างไร ช่วยลด “ความดันสูง” ได้จริง

อาหารแบบไหนที่ช่วยลดความดันสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังดีต่อสุขภาพโดยรวมอีกด้วย

ผศ.นพ. ไพโรจน์ ฉัตรานุกูลชัย แพทย์ประจำหน่วยอายุรศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุถึงอาหารที่ช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ ดังนี้

10 วิธี กินอย่างไร ช่วยลด “ความดันสูง” ได้จริง

อาหารประเภท DASH

DASH มาจาก Dietary Approached to Stop Hypertension หมายถึงการบริโภคที่เน้นผัก ลดเนื้อแดง และอาหารไขมันสูง เช่น

  • ผัก 4-5 ทัพพี ต่อวัน
  • เพิ่มถั่ว และธัญพืชไม่ขัดสี ในแต่ละมื้อให้มากขึ้น
  • เพิ่มผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม ทุเรียน กล้วย ลำไย ผลไม้แห้งต่างๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง (เฉพาะคนที่ไม่ได้ป่วยโรคไต)
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อแดง และเนื้อติดมัน
  • เลือกดื่มนมไขมันต่ำ และรับประทานเนื้อปลาแทน
  • ลดการรับประทานอาหารรสเค็มจัด จำกัดเกลือโซเดียมเฉลี่ยไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน (เกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา หรือ น้ำปลาไม่เกิน 4-6 ช้อนชา ต่อวัน)
  • ลดการปรุงด้วยเกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรสต่างๆ น้ำส้มสายชู
  • หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แหนม ผักผลไม้ดอง อาหารกระป๋อง เป็นต้น
  • ลดการรับประทานอาหารหรือเครื่องปรุงที่มีโซเดียมแฝง เช่น ผงชูรส ผงฟู บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
  • ถ้ามีโรคประจำตัว เป็นโรคไตเรื้อรัง ควรจำกัดหรือลดการบริโภคเกลือโพแทสเซียมด้วย เพราะปริมาณโพแทสเซียมที่สูงในเลือด ส่งผลเสียต่อหัวใจได้