เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

จริงหรือไม่? อายุมากขึ้น \

จริงหรือไม่? อายุมากขึ้น "ส่วนสูง" อาจลดลง

เมื่ออายุเข้าเลข 4 เลข 5 ไปจนถึงเลข 6 โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เริ่มถามหามากขึ้น ความผิดปกติต่างๆ ก็เริ่มโผล่มาให้เห็นอยู่เรื่อยๆ เรื่องที่หลายคนอาจสงสัยและเป็นกังวล หรือส่วนสูงที่หายไปเมื่อแก่ตัวลง เป็นเรื่องจริงหรือไม่ Sanook Health มีคำตอบจาก รศ.นพ.คนึงนิจ กิ่งเพชร แพทย์ประจำฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มาฝากกัน

จริงหรือไม่ อายุมากขึ้น ความสูงจะลดลง

เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ โดยเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • ภาวะกระดูกสันหลังหักยุบจากโรคกระดูกพรุน
  • โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่มีความแข็งแรงของกระดูกลดลง ส่งผลให้กระดูกหักง่ายแม้ได้รับอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง 

    บริเวณที่พบกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนได้บ่อย ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ

  • ภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม
  • ทำให้กระดูกหลังโก่งงอ หลังค่อม ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ความสูงลดลงได้เช่นกัน

  • การยุบตัวของหมอนรองกระดูกสันหลังจากการเสื่อมตามอายุ
  • เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ปริมาณน้ำภายในหมอนรองกระดูกจะลดลง ความสูงจึงลดลงตามไปด้วย

    หากผู้สูงอายุมีความสูงลดลงอย่างน้อย 4 เซนติเมตร เมื่อเทียบกับความสุขในช่วงวัยหนุ่มสาว ควรต้องสงสัยโรคกระดูกพรุน และควรมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยต่อไป

    ทำความรู้จัก “โรคคนแก่ในเด็ก” เปลี่ยนเด็กเล็กให้เป็นคนแก่อายุร้อยปี

    ทำความรู้จัก “โรคคนแก่ในเด็ก” เปลี่ยนเด็กเล็กให้เป็นคนแก่อายุร้อยปี

    โรคคนแก่ในเด็ก โรคชราในเด็ก หรือโรคโพรเจอเรีย คืออะไร สาเหตุมาจากอะไร อาการและการรักษาทำอย่างไรบ้าง ล่าสุดแพทย์เผย พบเพียง 50-60 คนต่อปี