
“ปอดติดเชื้อ” คืออะไร รักษาให้หายเป็นปกติได้หรือไม่?
หลายครั้งที่เราได้ยินข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ และข่าวการเจ็บป่วยของญาติพี่น้องของเรา จากปากของหมอว่า มีสาเหตุการเสียชีวิตมาจาก “ปอดติดเชื้อ” เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยสงสัยว่า “ปอดติดเชื้อ” คืออะไร ติดเชื้ออะไร ร้ายแรงมากแค่ไหน และหากติดเชื้อขึ้นมาจริงๆ จะมีโอกาสรักษาหายหรือไม่ Sanook! Health มีคำตอบค่ะ
ปอดติดเชื้อ คืออะไร?
ปอดติดเชื้อ คืออาการติดเชื้อที่ปอดด้วยเชื้อโรคประเภทต่างๆ ตั้งแต่เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อพยาธิ เชื้อรา อื่นๆ ทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ
สำหรับโรคปอดบวมจากอาการปอดติดเชื้อ จะมาจากการติดเชื้อ Streptococcus pneumoniae (สเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี) ความรุนแรงของอาการปอดติดเชื้อมีตั้งแต่อาการเล็กน้อย ไปจนถึงอาการรุนแรงถึงขั้นหัวใจล้มเกลวจนเสียชีวิตได้
ปอดติดเชื้อ เป็นโรคติดต่อหรือไม่?
ปอดติดเชื้อ เป็นโรคติดต่อค่ะ โดยติดต่อกันได้ผ่านน้ำลาย และเสมหะ
ปอดติดเชื้อ มีสาเหตุมาจากไหนบ้าง?
เชื้อโรคที่ทำให้ปอดติดเชื้อ อาจมาจาก
- เครื่องปรับอากาศ ที่ไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างเพียงพอ
- อาการติดเชื้อจากโรคอื่นๆ ที่เป็นอยู่ก่อนแล้ว เช่น วัณโรค กรวยไตอักเสบ โรคพยาธิ เป็นต้น
- ในคนที่ภูมิคุ้มกันต่ำ อาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น ภูมิต้านทานไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคเหล่านั้นได้ เชื้อโรคจึงสามารถเข้าสู่ปอด จนทำให้เกิดอาการอักเสบ ติดเชื้อได้
- อยู่ในพื้นที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท หรือเสี่ยงต่อการเป็นแหล่งสะสมเชื้อไวรัส และแบคทีเรียต่างๆ
ปอดติดเชื้อ มีอาการเริ่มต้นอย่างไรบ้าง?
ระยะเวลาในแต่ละอาการ
ระยะเวลาของแต่ละอาการที่อาจเกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับเชื้อโรค ที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อ เช่น
หากปอดติดเชื้อไวรัส ระยะเวลาของอาการจะเร็ว อาจจะมีไข้เพียง 1-2 วัน มีอาการหอบเหนื่อยอย่างรุนแรง และอาจเสียชีวิตเร็วกว่าเชื้อโรคชนิดอื่นๆ
หากปอดติดเชื้อรา อาจจะแสดงอาการช้ากว่าไวรัส
ส่วนเชื้อแบคทีเรีย มีอาการได้ทั้งเร็ว หรือช้า ตั้งแต่ 1 สัปดาห์ ถึงเดือนๆ ขึ้นอยู่กับประเภทของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้ปอดติดเชื้อ
พฤติกรรมเสี่ยง อาการปอดติดเชื้อ
ปอดติดเชื้อ ใครมีความเสี่ยงที่สุด?
อาการปอดติดเชื้อ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่อายุแรกเกิด ไปจนถึงผู้สูงอายุ 70-80 ปี แต่ในช่วงวัยรุ่น วัยทำงาน หากเป็นคนที่มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ดี ก็จะมีโอกาสติดเชื้อได้น้อยกว่าวัยอื่นๆ
ปอดติดเชื้อ กลายเป็นมะเร็ง?
ไม่มีหลักฐานชัดเจน ว่าอาการปอดติดเชื้อ สามารถกลายเป็นมะเร็งปอดได้ หากแต่สามารถเป็นโรคถุงลมโป่งพองได้
การป้องกันอาการปอดติดเชื้อ
อ.นพ.ธีระศักดิ์ แก้วอมตวงศ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบุว่า การป้องกันรักษาโรคปอดที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด เพื่อให้ห่างไกลจากอาการปอดติดเชื้อก็คือ “การฉีดวัคซีน” โดยการป้องกันโรคปอดติดเชื้อจากเชื้อไวรัสด้วยการรับวัคซีนที่ป้องกันไวรัสชนิดที่ชื่อว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ ส่วนการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคปอดติดเชื้อจากแบคทีเรียจะต้องได้รับวัคซีนที่ป้องกันแบคทีเรียชนิดที่ชื่อว่า Streptococcus pneumoniae ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคปอดมากที่สุด
ถึงแม้อาการปอดติดเชื้อจะไม่ได้เป็นกันได้ง่ายๆ แต่ก็ระมัดระวังตัวเอาไว้ก็ดีนะคะ เพียงแค่รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ที่พักผ่อนสูดอากาศบริสุทธิ์ให้ปอดได้ชื่นใจบ้าง เท่านี้ก็ช่วยให้เราห่างไกลอาการปอดติดเชื้อได้มากแล้วล่ะค่ะ