
"ได้ยินไม่ชัด" อาจเป็นสัญญาณอันตราย "ประสาทหูชั้นในเสื่อม"
อาการ “ได้ยินไม่ชัด” อาจไม่ใช่แค่หูตึง และไม่ได้เป็นกับผู้สูงอายุเท่านั้น ในวัยอื่นๆ ก็อาจมีความเสี่ยงได้ และไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะการได้ยินไม่ชัดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และหนึ่งในนั้นอาจเป็น “ประสาทหูชั้นในเสื่อม”
ประสาทหูชั้นในเสื่อม คืออะไร
อ.ดร.พญ. นัตวรรณ อุทุมพฤกษ์พร แพทย์ฝ่ายโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุถึงปัจจัยที่ทำให้หูชั้นในเสื่อม มีดังนี้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.ภาณินี จารุศรีพันธุ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรคทางหู ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ปัจจัยเสี่ยงอันดับ 1 ที่ทำให้ประสาทหูเสื่อมคือการสัมผัสเสียงที่ดังมากๆ อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน นอกจากนี้ยังเกิดจากศีรษะได้รับการกระแทกบ่อยๆ รวมถึงการรับประทานยาบางชนิดที่อาจส่งผลต่อการได้ยินและการทรงตัว
บางราย อาจไม่ได้มีแค่อาการได้ยินไม่ชัด แต่อาจมีอาการเสียงรบกวนในหู (Tinnitus) ซึ่งมีกลไกการเกิดที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น มีเสียงวี้ด เสียงซ่า เสียงคล้ายจิ้งหรีด หรือเสียงรบกวนในรูปแบบอื่นๆ
“กลไกการได้ยินปกติเกิดจากเมื่อเสียงภายนอกเข้ามาในหู หูชั้นในจะเปลี่ยนพลังงานเสียง ให้เป็นกระแสประสาทส่งไปยังสมองส่วนที่เกี่ยวกับการได้ยิน สมองจะรับรู้และแปลความหมายเสียงนั้น ถ้าหูชั้นในมีการเสื่อมสภาพจะไม่สามารถเปลี่ยนพลังงานเสียงให้เป็นกระแสประสาทที่ดีได้ ทำให้สมองส่วนที่เกี่ยวกับการได้ยินได้รับกระแสประสาทที่มีผิดเพี้ยนหรือไม่ครบถ้วนไป เมื่อสมองรับรู้ว่าเกิดความผิดปกติขึ้น สมองจะทำงานเพิ่มขึ้น (Hyperactivity) เพื่อแก้ปัญหา ส่งผลให้เกิดการสร้างเสียงรบกวนสะท้อนกลับมาให้ได้ยิน ซึ่งบางคนได้ยินเสียงรบกวนดังในหูตลอดเวลา บางคนได้ยินเป็นครั้งคราว”
นอกจากนี้ ในเวลาที่มีความเครียด เหนื่อย พักผ่อนน้อย หรืออยู่ในที่เงียบๆ เช่น เวลานอน อาจจะทำให้เสียงรบกวนในหูดังเพิ่มขึ้น