เนื้อหาในหมวด การเงิน

“หมอเงิน” อาชีพมาแรงที่สร้างความมั่งคั่งให้คุณ

“หมอเงิน” อาชีพมาแรงที่สร้างความมั่งคั่งให้คุณ

     ชีวิตคนเราต้องการ หมอ หลายประเภท ถ้าว่ากันเรื่องสุขภาพ ต้องพึ่ง หมอยา (Doctor) เกิดมีคดีความขึ้นโรงขึ้นศาล ต้องพึ่ง หมอความ (Lawyer) เกิดสถานการณ์ละล้าละลังตัดสินใจอะไรไม่ถูกก็พึ่ง หมอดู (Fortune teller) และยุคนี้ถ้าอยากมั่งคั่งและมีอิสระทางการเงินคุณต้องพึ่ง หมอเงิน (CFP)


ทำไม “หมอเงิน” จึงเป็นที่ต้องการตัวของธุรกิจ ?
     ในขณะที่เศรษฐกิจไทยกำลังก้าวไปข้างหน้าในหลายมิติ มีการพัฒนาบุคลากรคุณภาพหลากหลายสาขาอาชีพ แต่สำหรับภาคธุรกิจการเงินในปัจจุบัน กำลังมีความต้องการ “หมอเงิน” หรือที่รู้จักกันในชื่อสายงาน นักวางแผนการเงินและการลงทุน เพิ่มมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการสร้างความมั่งคั่งของคนยุคใหม่ เพราะไลฟ์สไตล์และสังคมที่เปลี่ยนไป สำหรับคนทำงานยุคนี้ มีช่วงเวลาราว 35 ปีตั้งแต่เรียนจบจนเกษียณสำหรับการสร้างอาชีพหารายได้เพื่อการบริโภคและใช้จ่ายไปตลอดชีวิต ทำอย่างไรจึงจะเพิ่มค่าเงินออมหลักร้อยให้เป็นหลักล้านได้ภายใน 5-10 ปี และขยายผลต่อไปเรื่อยๆ ..ไม่ยาก..ถ้ารู้วิธีวางแผนการเงินและการลงทุน

     คนยุคนี้จึงต้องการ หมอเงิน มาช่วยวางแผน ช่วยสร้างทักษะชีวิตที่จำเป็นเพื่อความอยู่รอดและมีอิสระทางการเงินให้ตนเอง แต่อัตราการผลิตบุคลากรคุณภาพเข้าสู่ตลาดงานสายนี้ทำได้ช้าและมีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอกับการเติบโตของตลาดการเงินในปัจจุบัน

     ดร.กฤษฎา เสกตระกูล ประธานอนุกรรมการด้านการศึกษา สมาคมนักวางแผนการเงินไทย (TFPA) บอกว่า ทักษะชีวิตด้านการเงิน เป็นทักษะสำคัญของยุคนี้ จึงมอบคาถาสำคัญ 4 รู้ เพื่อให้ชีวิตดำเนินไปได้อย่างที่ใจต้องการ นั่นคือ รู้หา รู้เก็บ รู้ใช้ รู้ขยายผล (ตอบแทน) แต่ยังมีคนจำนวนมากที่ยังไม่มีทักษะชีวิตด้านการเงิน ไม่รู้ว่าการวางแผนการเงินและการลงทุนที่ดีนับตั้งแต่เริ่มต้นชีวิตการทำงานจะเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตไปจนวาระสุดท้าย

     คนเราจึงจำเป็นต้องวางแผนด้านการเงินเพื่อบรรลุเป้าหมายชีวิตในแต่ละช่วงวัยซึ่งเป้าหมายมีหลายรูปแบบเปลี่ยนไปตามวัยของบุคคล เช่น เป้าหมายการศึกษา ครอบครัว สุขภาพ ท่องเที่ยว ชีวิตหลังเกษียณ และเป้าหมายทั้งหมดนี้ หมอเงิน ช่วยเป็นโค้ชให้ชีวิตคุณได้


ดร.กฤษฎา เสกตระกูล ประธานอนุกรรมการด้านการศึกษา สมาคมนักวางแผนการเงินไทย (TFPA)

สัญญาณที่ชี้ว่าตลาดต้องการ “หมอเงิน” มืออาชีพ
     บุคลากรในสายงานนี้กำลังเป็นที่ต้องการสูงมาก สัญญาณชี้ชัดมาจาการก่อเกิดผลิตภัณฑ์การเงินใหม่ในตลาดเงินตลาดทุนมีเพิ่มขึ้น หลากหลายขึ้น ผู้บริโภคต้องการความรู้ คำชี้แนะ การแนะนำ และรู้สึกวางใจต่อนักวางแผนการเงินการลงทุนซึ่งทำหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ที่จะเชื่อมโยงสินค้าเหล่านั้นให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ ลูกค้าต้องการความเป็นมืออาชีพ รู้ลึกในผลิตภัณฑ์การเงินทุกประเภทเพื่อเป็นโค้ช คอยแนะนำ วางแผนการเงินการลงทุนที่เหมาะสมให้กับแต่ละบุคคล และตัวกลางที่ว่านี้มีจำนวนน้อยกว่าความต้องการของตลาดค่อนข้างมาก เพราะธุรกิจพัฒนาบุคลากรในสายงานนี้ได้ช้ากว่าอัตราความต้องการ

     ทำไมจึงผลิตได้ช้า? คนที่จะเป็นนักวางแผนการเงินและการลงทุนได้นั้น ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ CFP (Certified Financial Planner) ซึ่งเป็นมาตรฐานอาชีพระดับสากล โดยองค์กรหรือสถาบันการเงินต้นสังกัด อย่างธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกัน จะส่งบุคลากรไปอบรม 6 รายวิชาอย่างเข้มข้นกับสมาคมนักวางแผนการเงินไทย (เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย) ก่อนจะสอบรับใบ CFP

     รายวิชาตามหลักสูตรสอบ CFP มีวิชาจรรยาบรรณวิชาชีพ วางแผนการลงทุน วางแผนการประกันภัย วางแผนเพื่อวัยเกษียณ วางแผนภาษีและมรดก รวมทั้งการจัดทำแผนทางการเงิน อบรมครบตามกำหนดจึงจะมีสิทธิ์สอบ ส่วนจะสอบผ่านหรือไม่ก็ขึ้นกับความสามารถ หากเก่งจริงรอบเดียวก็สอบผ่าน กล่าวโดยสรุปคนเก่งในสายอาชีพนี้ตอนนี้มีจำนวนไม่ถึง 200 คน ในขณะที่องค์กรสถาบันการเงินทุกที่กำลังต้องการตัวนักวางแผนมืออาชีพจำนวนมากทีเดียว

เรียนเป็น “หมอเงิน” ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
     ถือเป็นข่าวดีสำหรับตลาดการเงินไทยที่ตอนนี้มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้พัฒนาหลักสูตรปริญญาตรีที่ตอบสนองความต้องการสร้างความมั่งคั่งให้ผู้คนใช้ชีวิตได้อย่างที่ต้องการ “นักวางแผนการเงินและการลงทุน” เป็นหลักสูตรใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพที่พัฒนาหลักสูตรร่วมกับสมาคมนักวางแผนการเงินไทย เป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในปัจจุบันที่ได้รับการรับรองโดย TFPA มุ่งปั้นบัณฑิตในสายงานนักวางแผนการเงินการลงทุนเพื่อตอบสนองความต้องการตลาดโดยตรง

     บัณฑิตที่จบหลักสูตรนี้ สามารถสอบใบอนุญาต CFP ได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านการอบรมเพราะทุกรายวิชาที่ต้องเรียนเพื่อสอบ CFP ถูกนำมาบรรจุอยู่ในหลักสูตรปริญญาตรีทั้งหมด บัณฑิตใหม่สอบ CFP ผ่านสามารถทำงานเป็นนักวางแผนการเงินและการลงทุนได้ทันที นับเป็นมิติใหม่ด้านการศึกษาที่มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการปั้นคนคุณภาพสู่สายงานวิชาชีพ เป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาภาคธุรกิจการเงินของไทยที่กำลังเติบโตในยุคเศรษฐกิจใหม่

     คุณดัยนา บุนนาค ที่ปรึกษาอธิการบดีและที่ปรึกษาหลักสูตร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ บอกว่า กว่าจะพัฒนาหลักสูตรที่ภาคธุรกิจให้การยอมรับ ทีมคณาจารย์เดินสายพบนักธุรกิจตลอดเวลาเพื่อรับทราบข้อมูล เพื่อนำเสนอแนวคิดการพัฒนา หลักสูตรใหม่ และทำให้รู้ว่าคนแบบไหนที่องค์กรภาคการเงินต้องการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพจะอาสาปั้นบัณฑิตอย่างที่ธุรกิจต้องการมาให้

     จุดเด่นของหลักสูตร นอกจากจะเป็นหลักสูตรที่ TFPA ให้การรับรองแล้ว ก่อนสำเร็จการศึกษา นักศึกษาจะสอบได้ IC License (Investment Consultant ) เป็นไลเซนส์ที่เบิกทางเข้าสู่การทำงานในภาคการเงินได้ทันที เพียงแต่ยังเป็นนักวางแผนการเงินและการลงทุนไม่ได้ ดังนั้น หลังจากจบการศึกษาแล้ว นักศึกษาสามารถสอบ CFP ได้โดยไม่ต้องฝึกอบรมเพิ่มเติม เพราะทุกรายวิชาของ CFP ถูกนำมาบรรจุในหลักสูตรปริญญาตรีแล้วนั่นเอง สอบ CFP ผ่านก็ทำงานเป็นนักวางแผนการเงินและการลงทุนได้เลย

คุณดัยนา บุนนาค ที่ปรึกษาอธิการบดีและที่ปรึกษาหลักสูตร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ


     บอกไว้ตรงนี้ว่าเงินเดือนเริ่มต้นสูงทีเดียวและอัตราความก้าวหน้าในสายงานเติบโตอย่างรวดเร็ว และไม่เฉพาะตลาดการเงินไทยที่มีความต้องการบุคลากรสายงานนี้ ตลาดการเงินในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อาชีพ CFP ก็ถือเป็น 100 Best Jobs ที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจ https://goo.gl/7isjst

ม.ปลายสายไหนก็เรียนได้
     ผศ.ดร.ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น ผู้อำนวยการหลักสูตรการวางแผนการเงินและการลงทุน และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เสริมว่า หลายคนอาจมีความคิดว่าเรียนเกี่ยวกับการเงินต้องเก่งคณิตศาสตร์ แต่สำหรับยุคนี้มีโปรแกรมคำนวณเป็นตัวช่วยอยู่แล้ว ความเป็นมืออาชีพของนักวางแผนการเงินและการลงทุนอยู่ที่การเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง มีความรู้จริง รู้ลึกในกลุ่มสินค้าทางการเงินและการลงทุน และมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ซึ่งมหาวิทยาลัยกรุงเทพมุ่งเน้นการเรียนการสอนเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้


ผศ.ดร.ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น ผู้อำนวยการหลักสูตรการวางแผนการเงินและการลงทุน

     ดังนั้น นักเรียนมัธยมปลายสายการเรียนใดๆ ก็สามารถสมัครเรียนหลักสูตรนักวางแผนการเงินและการลงทุนได้ นักศึกษาใช้เวลาเรียน 4 ปีในระดับปริญญาตรี ทั้งทฤษฎี ปฏิบัติ และมีการทำงานในสนามจริง ได้ลงทุนจริง มีประสบการณ์การทำงานจริงใน ระหว่างเรียน      

     “มหาวิทยาลัยกรุงเทพสอนให้นักศึกษารู้จัก “คิด” “วิเคราะห์” และ “เข้าใจทิศทางการลงทุนรวมทั้งรู้จักการวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้แผนงานนั้นให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินตามระยะเวลาได้ตามที่ต้องการ ในหลักสูตรยังสอนทักษะการตลาดให้ด้วยเพราะนักวางแผนการเงินและการลงทุนต้องคุยกับชาวบ้านได้ คุยเรื่องยากให้เข้าใจง่าย ต้องเข้าใจภาพรวมเศรษฐกิจและต้องมีทักษะอาชีพ เช่น การฝึกบุคลิกภาพ การพูด การนำเสนอ เหล่านี้มีสอนอยู่ในหลักสูตรรอบด้าน เพื่อให้เป็นบัณฑิตที่รู้ลึกรู้จริง คิดสร้างสรรค์และทำงานเป็น” บัณฑิตเรียนจบมีงานรออยู่แน่นอน รู้จักหลักสูตรให้มากขึ้นหรือสมัครเรียนได้ที่ www.bu.ac.th/admission/bachelor/branch/68/


[Advertorial]

ออมสิน ออกสินเชื่อช่วยผู้ประสบภัยทุกพื้นที่ \

ออมสิน ออกสินเชื่อช่วยผู้ประสบภัยทุกพื้นที่ "ชายแดนไทย-กัมพูชา" และพายุวิภา

ธนาคารออมสิน เร่งให้ความช่วยเหลือมอบเงินสนับสนุนบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า กรณีสถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-กัมพูชา และอุทกภัยภาคเหนือตอนบน พร้อมออกมาตรการพักชำระหนี้ลดภาระ และให้สินเชื่อเพื่อผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบ

ธอส. จัด 7 มาตรการ พักหนี้-ลดดอกเบี้ย-เคลมสินไหม ช่วยผู้ได้รับผลกระทบจากพายุวิภา

ธอส. จัด 7 มาตรการ พักหนี้-ลดดอกเบี้ย-เคลมสินไหม ช่วยผู้ได้รับผลกระทบจากพายุวิภา

ธอส. จัด 7 มาตรการ ทั้งพักหนี้ ลดดอกเบี้ย ลดเงินงวด เคลมสินไหมเร่งด่วน ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากพายุวิภา

ซีพี ปลุกพลังร้อยเรียงความดี ระดมทุกธุรกิจ บรรเทาทุกข์คนเดือดร้อนชายแดนไทย–กัมพูชา

ซีพี ปลุกพลังร้อยเรียงความดี ระดมทุกธุรกิจ บรรเทาทุกข์คนเดือดร้อนชายแดนไทย–กัมพูชา

เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ผนึกกำลังทุกกลุ่มธุรกิจให้ความช่วยเหลือพี่น้องใน 4 จังหวัดชายแดนภาคอีสาน มอบอาหารสำเร็จรูป น้ำดื่ม และชุดอุปโภคบริโภคพื้นฐาน ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบชายแดนไทย–กัมพูชา

รัฐบาลจ่ายเงินเยียวยา เหตุสู้รบไทย-กัมพูชา เสียชีวิต 1 ล้านบาท

รัฐบาลจ่ายเงินเยียวยา เหตุสู้รบไทย-กัมพูชา เสียชีวิต 1 ล้านบาท

รัฐบาลอนุมัติเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีเสียชีวิต รายละ 1,000,000 บาท

กรุงไทย แจ้งปิดบริการ 14 สาขา ในพื้นที่เสี่ยงเป็นการชั่วคราว เริ่ม 24 ก.ค. 68 เป็นต้นไป

กรุงไทย แจ้งปิดบริการ 14 สาขา ในพื้นที่เสี่ยงเป็นการชั่วคราว เริ่ม 24 ก.ค. 68 เป็นต้นไป

ธนาคารกรุงไทย แจ้งปิดบริการ 14 สาขา ในพื้นที่เสี่ยงเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค. 68 เป็นต้นไป เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบ บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา