เนื้อหาในหมวด การเงิน

จากดอยสู่แก้ว การเดินทางของเมล็ดกาแฟที่เป็นมากกว่าเครื่องดื่มของคนเมือง

จากดอยสู่แก้ว การเดินทางของเมล็ดกาแฟที่เป็นมากกว่าเครื่องดื่มของคนเมือง

     เคยสงสัยกันไหมว่า ลาเต้ร้อนที่เราแวะซื้อก่อนเข้าออฟฟิศทุกเช้าอเมริกาโน่รสเข้มที่ต้องดื่มทุกครั้ง เวลาแวะพักเติมน้ำมัน กาแฟที่เราดื่มกันแทบทุกช่วงเวลาเหล่านี้ มีที่มาจากไหน? และนอกจากปลายทางความสุขจากรสชาติแล้วระหว่างการเดินทางมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง?

     วันนี้เราจะพาคุณ ตามรอยเส้นทาง...เพื่อหาคำตอบ

อราบิก้า 2 - 3 ต้นของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
จุดเริ่มต้นของกาแฟในประเทศไทย เริ่มจากต้นกาแฟเพียง 2 - 3 ต้น บนดอยอินทนนท์จังหวัดเชียงใหม่

     เมื่อปี พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร ต้นกาแฟต้นแรกของประเทศไทย ที่บ้านหนองหล่ม บนดอยอินทนนท์ พระองค์ต้องทรงพระดำเนินด้วยพระบาทไปตามไหล่เขาสูงชันกว่า 6 กิโลเมตร เมื่อเสด็จพระราชดำเนินมาถึงต้นกาแฟ ทอดพระเนตรเห็นว่า ต้นกาแฟสมบูรณ์ดี มีพระราชกระแสว่า ที่นี่กาแฟสามารถปลูกได้ ให้ช่วยกันส่งเสริม แต่ต้องใส่ปุ๋ยและนำหญ้ามาใส่ที่โคนต้น มีพระราชกระแสให้ชนเผ่าปกาเกอะญอ ทดลองปลูกเพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น และพระราชทานเมล็ดกาแฟที่ชาวพะโย ตาโร ชาวปกาเกอะญอทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายกลับมาเพื่อให้ไปแจกจ่ายกับราษฎรคนอื่นๆ ปลูกต่อไป

     กาแฟต้นแรกที่เป็นต้นกำเนิดกาแฟอีกหลายร้อยต้นในไร่ของชาวไทยภูเขาเป็น “กาแฟสายพันธุ์อราบิก้า” ที่ผ่านการวิจัยและปรับปรุงสายพันธุ์โดยนักวิชาการจากมูลนิธิโครงการหลวง จนทำให้สามารถต้านทาน “โรคราสนิม” ที่มักระบาดในต้นกาแฟที่ปลูกในเขตร้อนชื้น (พื้นที่สูงในภาคเหนือ) อีกทั้งยังนำต้นแบบวิธีการปลูกและผลิตเมล็ดกาแฟมาจากประเทศโคลัมเบีย ซึ่งมีสภาพภูมิประเทศใกล้เคียงกับพื้นที่สูงของไทย จึงทำให้ต้นกาแฟอราบิก้าจากมูลนิธิโครงการหลวงเติบโตได้ดีในประเทศไทย

     ผลจากการสนับสนุนในทุกด้านจากมูลนิธิโครงการหลวง ทำให้ชาวไทยภูเขามีความรู้ความสามารถในการปลูกกาแฟอราบิก้าจนปลูกกาแฟกันอย่างแพร่หลายในพื้นที่สูงทางภาคเหนือของไทยจนกลายเป็นอาชีพที่ยั่งยืนของชาวไทยภูเขา และทำให้เรามีกาแฟคุณภาพดีไว้ดื่มกันจนถึงทุกวันนี้

 

(ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์มูลนิธิโครงการหลวง)

ปลูก เก็บ โม่ หมัก ล้าง ตาก สี คั่ว บรรจุ
ก่อนจะมาเป็นกาแฟอราบิก้าคุณภาพดี รสชาติเยี่ยมแบบฉบับมูลนิธิโครงการหลวง จะต้องผ่านกระบวนการผลิตที่เข้มข้นดังนี้
     - ปลูก – ปลูกด้วยดินที่ระบายน้ำได้ดีมีค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 5.0 – 5.5 บนพื้นที่สูงไม่ต่ำกว่า 1,000 เมตร ท่ามกลางอุณหภูมิ 18 - 22 องศาเซลเซียส บนยอดดอย มีปริมาณฝนต่อปีที่เหมาะสม และได้รับการดูแลด้วยความเอาใส่ใจในทุกขั้นตอน โดยมีการลงบันทึกการเติบโตของกาแฟตั้งแต่ระยะเริ่มออกดอก เพื่อกำหนดระยะเวลาและปริมาณที่ต้องเก็บเกี่ยวในแต่ละฤดู
     - เก็บเกี่ยว - เก็บเฉพาะผลกาแฟเชอรี่ที่สุกพอดีด้วยมือ ไม่แห้ง ไม่เขียว ไม่สุกเกินไป เพราะความสุกของผลกาแฟ ส่งผลต่อรสชาติและความสุขของผู้ดื่ม
     - โม่ – หลังเก็บเกี่ยว ผลกาแฟเชอรี่จะถูกนำไปแปรรูปด้วยการโม่เอาเปลือกกาแฟออกภายใน 24 ชั่วโมง ก่อนจะเกิดกลิ่นเหม็นเปรี้ยว เมื่อโม่แล้วจึงคัดแยกเมล็ดกาแฟออกจากเปลือกผลกาแฟ แล้วล้างทำความสะอาด
     - หมัก - หมักด้วยน้ำสะอาดประมาณ 12 – 48 ชั่วโมง เพื่อให้กาแฟมีรสชาติดีขึ้น และให้จุลินทรีย์ตามธรรมชาติย่อยสลายเนื้อของผลกาแฟที่เป็นเหมือนเมือกที่เกาะอยู่ที่เมล็ดกาแฟ
     - ล้าง – เมื่อหมักจนได้ที่ จึงนำเมล็ดกาแฟที่ผ่านการหมักแล้ว มาล้างให้สะอาดอีกครั้ง เพื่อให้รสชาติของกาแฟคั่วกลมกล่อมยิ่งขึ้น
     - ตากแห้ง – นำเมล็ดกาแฟที่ล้างสะอาดมาตากให้แห้งใช้เวลาประมาณ 7 – 14 วัน จนได้ความชื้นอยู่ประมาณ 7 - 10% เมื่อเมล็ดกาแฟแห้งดีแล้ว จึงจัดเก็บไว้รอการแปรรูปต่อไป เมล็ดกาแฟในขั้นตอนนี้จะมีเปลือกบางๆ สีเหลืองหุ้มอยู่ เรียกว่า กาแฟกะลา
     - สี – ก่อนนำเมล็ดกาแฟไปคั่ว จะต้องมีการแปรรูปขั้นตอนสุดท้าย โดยนำกาแฟกะลาที่เก็บไว้นั้นมาสีเปลือกกะลาออก แยกสิ่งแปลกปลอมปน คัดขนาด แยกเมล็ดเบาที่ไม่สมบูรณ์ แยกเมล็ดที่มีสีผิดปรกติด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์จนได้เมล็ดกาแฟสีเขียวหยก พร้อมนำไปคั่วเป็นกาแฟคั่วหอมกรุ่น
     - คั่ว – คั่วเมล็ดกาแฟด้วยเครื่องคั่ว ที่ควบคุมสีเมล็ด เวลา และความร้อนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งระดับการคั่วเป็น 3 ระดับ
1) คั่วอ่อน (Light Roast) ใช้ความร้อนประมาณ 350 °F คั่วนาน 10 – 15 นาที จะได้เมล็ดกาแฟเป็นสีน้ำตาลอ่อน ไม่มีความมันที่ผิวเมล็ด
2) คั่วกลาง (Medium Roast) ใช้ความร้อน 400 – 430 °F เป็นเวลา 15 – 20 นาที จะได้เมล็ดกาแฟสีน้ำตาล มีความมันจากน้ำมันในเมล็ดกาแฟเคลือบผิวเจือจาง
3) คั่วเข้ม (Dark Roast) ใช้ความร้อน 450 °F คั่วนาน 15 – 20 นาที จะได้เมล็ดกาแฟสีน้ำตาลแก่เกือบไหม้ มีน้ำมันเคลือบผิวกาแฟจนเป็นเงา จะให้รสชาติเข้มข้นและกลิ่นหอมแบบ Espresso ที่คนไทยคุ้นเคย
     - บรรจุ - มาถึงขั้นตอนสุดท้ายคือนำเมล็ดกาแฟคั่วที่ได้บรรจุลงถุงพร้อมส่งขายสู่ตลาดเพื่อเสิร์ฟเหล่าคอกาแฟต่อไป

 

พร้อมแล้ว เมล็ดกาแฟไปไหนต่อ?
     ต่อจากนี้ เมล็ดกาแฟจากมูลนิธิโครงการหลวงนับแสนกิโลกรัมจะถูกส่งออกไปวางจำหน่ายในร้านค้าของมูลนิธิโครงการหลวงต่างๆ เป็นการส่งเสริมช่องทางการตลาดให้เกษตรกรที่ร่วมโครงการ และสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

     ส่วนอีกหนึ่งปลายทาง เมล็ดกาแฟคั่วที่มีคุณภาพมุ่งหน้าตรงสู่เมือง ก่อนจะแยกย้ายไปยังร้านกาแฟต่างๆ ในย่านชุมชน ธุรกิจ รวมถึงร้านกาแฟในสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ ด้วยเส้นทางนี้เอง ได้เปิดโอกาสให้คนเมือง ผู้ห่างไกลแหล่งวัตถุดิบ ได้ดื่มด่ำกาแฟอราบิก้ารสเยี่ยม ที่ชงด้วยเมล็ดกาแฟคุณภาพ จากมูลนิธิโครงการหลวงอันแสนห่างไกล ได้ใกล้เพียงเอื้อมมือ...

     ทั้งหมดนี้คือ เส้นทางหอมกรุ่นของกาแฟไทยจากยอดดอยถึงคนเมืองบนพื้นราบ ที่ไม่เพียงนำรสชาติกาแฟสัญชาติไทยอันเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพมาถึงผู้ดื่มปลายทางเท่านั้นแต่ยังนำพาความ “เกื้อกูล” ให้แก่เกษตรกร โดยการสร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่คนในชุมชน ด้วยการให้ความรู้ และสนับสนุนการปลูกกาแฟแบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับการทำอาชีพ ช่วยให้เกษตรกรและคนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่แห่งโอกาสที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ช่วยหล่อเลี้ยงสังคมไทยอย่างยั่งยืนตลอดไป



เกร็ดเมล็ดกาแฟ
     - ปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวงมีพื้นที่ส่งเสริมการปลูกกาแฟอราบิก้าในศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 24 ศูนย์ รวมทั้งหมด 9,491 ไร่
     - เกษตรกรกว่า 2,602 ราย ปลูกกาแฟอราบิก้าและขายกาแฟผ่านมูลนิธิโครงการหลวงปีละประมาณ 400 - 500 ตัน
     - 630,000 กิโลกรัม คือปริมาณเมล็ดกาแฟดิบที่ ปตท. สั่งซื้อจากมูลนิธิโครงการหลวง ระหว่างปี 2557 - 2560
     - มูลนิธิโครงการหลวงร่วมกับ ปตท. ทำวิจัยและพัฒนา ส่งเสริม การปลูกและผลิตกาแฟระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ในป่าเสื่อมโทรม 100 ไร่ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ควบคู่กับการอนุรักษ์ธรรมชาติและการรวมกลุ่มวิสาหกิจของเกษตรกรชาวไทยภูเขา เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนอย่างยั่งยืน

 

[Advertorial]

กรุงไทย แจ้งปิดบริการ 14 สาขา ในพื้นที่เสี่ยงเป็นการชั่วคราว เริ่ม 24 ก.ค. 68 เป็นต้นไป

กรุงไทย แจ้งปิดบริการ 14 สาขา ในพื้นที่เสี่ยงเป็นการชั่วคราว เริ่ม 24 ก.ค. 68 เป็นต้นไป

ธนาคารกรุงไทย แจ้งปิดบริการ 14 สาขา ในพื้นที่เสี่ยงเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค. 68 เป็นต้นไป เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบ บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา

ธ.ก.ส. ปล่อยเงินกู้ด่วน ดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือนแรก ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากพายุโซร้อนวิภา

ธ.ก.ส. ปล่อยเงินกู้ด่วน ดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือนแรก ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากพายุโซร้อนวิภา

ธ.ก.ส. จัดสินเชื่อเร่งด่วนช่วยผู้ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อนวิภา พร้อมเลื่อนจ่ายหนี้ ปล่อยกู้เงินด่วนดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือนแรก

กู้เงินฉุกเฉิน ธ.ก.ส. 50,000-500,000 บาท ช่วยผู้ได้รับผลกระทบชายแดนไทย-กัมพูชา

กู้เงินฉุกเฉิน ธ.ก.ส. 50,000-500,000 บาท ช่วยผู้ได้รับผลกระทบชายแดนไทย-กัมพูชา

กู้เงินฉุกเฉิน ธ.ก.ส. วงเงิน 50,000 บาท ดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน 2568 และสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต วงเงินรายละไม่เกิน 500,000 บาท ดอกเบี้ย MRR-2 พร้อมให้การช่วยเหลือในด้านต่างๆ อย่างเต็มที่

สมาคมธนาคารไทย ปิดสาขาพื้นที่เสี่ยงชั่วคราว 35 แห่ง ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา

สมาคมธนาคารไทย ปิดสาขาพื้นที่เสี่ยงชั่วคราว 35 แห่ง ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา

สมาคมธนาคารไทย และธนาคารสมาชิก แจ้งปิดสาขาพื้นที่ชั่วคราว 35 แห่ง ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ที่สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่นั้น