เนื้อหาในหมวด การเงิน

SCB ปิด 59 สาขาปีหน้า สะท้อนเทรนด์ Digital Banking มาแน่

SCB ปิด 59 สาขาปีหน้า สะท้อนเทรนด์ Digital Banking มาแน่

เชื่อว่าวันนี้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยคงต้องผ่านตากับภาพที่มีการส่งต่อเกี่ยวกับการปิดสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB ในปีหน้าจำนวน 59 สาขา ทำให้การวิเคราะห์ที่มีมาก่อนหน้านี้ว่า ธุรกิจการเงิน การธนาคาร กำลังจะถูก 'Disrupt' มีเค้าลางความเป็นจริงมากขึ้น

SCB ปิด 59 สาขาปีหน้า

bank 

จากภาพที่มีการเผยแพร่ในโลกออนไลน์ พบว่า สาขาที่มีแผนจะปิดการให้บริการ จะมีตั้งแต่ธนาคารทั่วไป ไปจนถึงศูนย์ธุรกิจเอสเอ็มอี (SME) และสาขาธนบดีธนกิจ ที่เป็นการให้บริการลูกค้าของธนาคารในรูปแบบ Private Bank 

ทั้งนี้เมื่อดูข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ระบุว่า ตั้งแต่เดือนกันยายน 59-กันยายน 60 มีธนาคารพาณิชย์แจ้งปิดรวม 192 สาขา โดย 5 อันดับแรก ที่มีการปิดสาขามากที่สุด คือ กรุงไทย 79 สาขา, กสิกรไทย 73 สาขา, ธนชาต 69 สาขา, ทหารไทย 20 สาขา, ไทยพาณิชย์ และซีไอเอ็มบี ไทย 9 สาขา 

อ่านเพิ่มเติม: ใกล้อวสาน! ธนาคารแห่ปิดสาขา ก้าวสู่ดิจิทัลแบงก์กิ้ง

ดิจิทัล 'DISRUPT' ธุรกิจการเงิน การธนาคาร

onlinebank

สาเหตุและความเป็นไปได้ที่ทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์ ตัดสินใจปิดสาขาลง เป็นไปได้ว่า ทางธนาคารจำต้องปรับตัวให้เข้ากับรสนิยม และการใช้บริการธนาคารของคนในยุคปัจจุบันมากขึ้น

พูดถึงความนิยมในอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง คนที่เคยใช้งานสามารถจินตนาการได้ว่า ธุรกรรมทางการเงินบนสมาร์ทโฟนจะสามารถอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าของธนาคารได้ทุกที่ ตลอด 24 ชั่วโมง และที่สำคัญแอปพลิเคชันธนาคารบนสมาร์ทโฟนนั้น นับวันก็รองรับฟีเจอร์ที่มีความสลับซับซ้อนได้มากยิ่งขึ้น 

ยกตัวอย่าง แอปพลิเคชัน SCB Easy ของธนาคารไทยพาณิชย์เอง ก็จะเห็นได้ชัดเจนอยู่แล้วว่า ภายในแอปพลิเคชันรองรับทั้งการจ่ายบิลค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต การโอนเงินไปยังบุคคลที่สอง ไปจนถึงการซื้อ-ขาย-สลับกองทุนรวม ก็สามารถทำได้จบในแอปพลิเคชันเดียว ทำให้ความสำคัญของธนาคารรูปแบบเดิม ถูกลดทอนความสำคัญลงไป เพราะผู้คนสามารถเข้าถึง 'ธนาคาร' ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนได้โดยตรงนั่นเอง

พร้อมกันนี้ ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ไม่ได้มีแค่ธนาคารไทยพาณิชย์เพียงรายเดียวที่มีการปรับปรุงหน้าแอปพลิเคชัน ธนาคารอื่นๆ อย่างธนาคารกรุงศรีอยุธยา ก็มีการปรับหน้าแอปพลิเคชันใหม่เช่นกัน ซึ่งทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่า การปิดสาขาของธนาคารล้วนเกิดจากองคาพยพที่เกิดขึ้นเป็นลูกโซ่ โดยเริ่มจากเทคโนโลยี มนุษย์ ไลฟ์สไตล์ กระทั่งมาถึงธนาคาร ที่จำต้องปรับให้เข้ากับยุคสมัยที่กำลังเปลี่ยนผ่าน

พนักงานแบงก์ไปไหนต่อ?

fintech

ในส่วนนี้เป็นการคาดเดาของผู้เขียน มีความเป็นไปได้ว่า พนักงานธนาคารเดิม อาจถูกโยกย้ายตำแหน่ง โดยเฉพาะในกลุ่มพนักงานที่มีความสามารถในด้านดิจิทัล ก็มีโอกาสไปทำในสายงานที่เกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีการเงิน หรือฟินเทค (FinTech) ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารไทยพาณิชย์ก็มีหน่วยธุรกิจที่ตั้งขึ้นใหม่เพื่อรับกับการแข่งขันในกลุ่มฟินเทค 

เพราะหากว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่ธนาคารแบบดั้งเดิมหวาดกลัวที่สุด ก็คือ การมาของกลุ่มฟินเทคนี่แหละ เนื่องจากว่า ธุรกิจในกลุ่มบริษัทฟินเทคถือได้ว่าเป็นคู่แข่งโดยตรงกับธนาคาร โดยบริษัทฟินเทคจะมีโซลูชันที่คอยให้บริการจัดการทางการเงินทั้งกับบุคคลทั่วไปและภาคธุรกิจ อีกทั้งบริษัทในกลุ่มฟินเทคยังสามารถเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการเงิน พร้อมกับมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า เรียกได้ว่า Disrupt ธุรกิจธนาคารเต็มๆ

คลัง ขายพันธบัตรออมทรัพย์ อายุ 3 - 7 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 2.00 - 2.56 %

คลัง ขายพันธบัตรออมทรัพย์ อายุ 3 - 7 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 2.00 - 2.56 %

เปิดเงื่อนไขการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ ของกระทรวงการคลังในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 1 เผยดอกเบี้ยรุ่นอายุ 3 ปี เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี รุ่นอายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 2.56 ต่อปี จำหน่ายระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม 2559 – 21 เมษายน 2560