เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

เตือน! “เชื้อดื้อยา” จากยาปฏิชีวนะ คร่าชีวิตจริง

เตือน! “เชื้อดื้อยา” จากยาปฏิชีวนะ คร่าชีวิตจริง

ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ อีกต่อไป เมือทุก 15 นาทีมีคนไทย 1 คนตายเพราะเชื่อดื้อยา และในประเทศไทยพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาประมาณปีละ 20,000-38,000 คน ผู้ป่วยต้องใช้ยาปฏิชีวนะที่แรงขึ้น เสี่ยงต่อการแพ้ยาและผลข้างเคียงมากขึ้น มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น นอนโรงพยาบาลนานขึ้น คิดเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจถึงปีละ 46,000 ล้านบาท และพบผู้ป่วยเชื้อดื้อยามากกว่าสหรัฐอเมริกา หรือประเทศแถบทวีปยุโรปเสียอีก

หน่วยงานด้านสุขภาพต่างๆ จึงตัวกันมากมาย ทั้งศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา, มูลนิธิหมอชาวบ้าน,ชมรมเภสัชชนบท,มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา,คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อออกโรงเตือนคนไทยจริงจังว่า เชื้อดื้อยาไม่ใช่เรื่องเล่นๆอีกต่อไป เมื่อยาปฏิชีวนะกลับมาทำร้ายมากกว่ารักษา!

จึงเป็นที่มาของงาน “สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย ประจำปี 2559” วันที่ 18 พฤศจิกายนนี้ ทั้งช่วงเช้า และช่วงบ่าย เวลา 10.00-12.00 น. ที่ห้อง 201 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.ในซอยงามดูพลี และเวลา 14.00-17.00 น. ที่โถงเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ภายในงานมีเสวนาเรื่อง “ผู้ป่วยเด็กที่ได้ผลกระทบจากการติดเชื้อดื้อยา” โดย รศ.พญ.วารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์ จากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวของผู้ป่วยเด็กวัยเพียงเจ็ดขวบชีวิตเฉียดตายเพราะเชื้อดื้อยา หมดค่ารักษาพยาบาลเป็นล้าน พร้อมทั้งการดูแลตัวเองเบื้องต้นโดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ, เช็คพฤติกรรมเสี่ยงมีส่วนทำให้เกิดเชื้อดื้อยา, 3 โรครักษาได้ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ และระวังภัยยาปฏิชีวนะ หรือยาต้านแบคทีเรียที่ตกค้างในอาหารและสิ่งแวดล้อม ซึ่งพ่อแม่ทั้งหลายไม่ควรพลาด

หากกลัวว่าเด็กจะเบื่อ ภายในงานเวลา 16.00 น. ยังมีการแสดงละครหุ่น "FISHY Clouds" โดยกลุ่มละคร B-Floor Theatre ให้ได้ผ่อนคลายและได้ความรู้เรื่องเชื้อดื้อยากันอีกด้วย

งานนี้ใครที่ได้มาร่วมงานได้ประโยชน์เต็มๆ สามารถนำความรู้เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะให้ถูกโรค ถูกวิธีมาใช้ในชีวิตจริง โดยเฉพาะพ่อแม่ที่มีลูกเล็กๆ ซึ่งมักได้รับยาต้านแบคทีเรีย (หรือที่เรียกกันว่า “ยาปฏิชีวนะ”) ในช่วงภูมิคุ้มกันยังน้อย หรือถ้าคุณไม่รู้จะบอกพ่อแม่ให้ไม่ซื้อยาร้านขายของชำอย่างไร จูงมือกันมาเห็นผลร้ายกับตาที่งานนี้ด้วยกัน



เชื้อดื้อยา รุนแรงมากขึ้นทุกที!

เมื่อ “เชื้อดื้อยา” ไม่ใช่เรื่องเล็กอีกต่อไป เพราะระดับโลกมีการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงสถานการณ์เชื้อดื้อยาอย่างต่อเนื่อง และขยายการมีส่วนร่วมไปเรื่อย ๆ ที่น่าจับตามองคือ การรณรงค์ Antibiotic awareness day ที่กำหนดเป็นวันที่ 18 พฤศจิกายนของทุกปี

สำหรับในประเทศไทย ปีนี้จัดเป็นปีที่ 4 โดยเน้นการสร้างความตระหนักของทุกภาคส่วน รณรงค์สร้างความเข้าใจในประชาชน เพราะประชาชนนี่แหละคือความร่วมมือชั้นดีที่จะช่วยกันหยุดวงจรเชื้อดื้อยา

สนใจดูรายละเอียดเต็มๆ คลิกเลยที่ http://atb-aware.thaidrugwatch.org
และ facebook: Antibiotic Awareness Thailand



[Advertorial]

ติ่งเนื้อ เกิดจากอะไร วิธีกำจัดติ่งเนื้อ และวิธีดูแลหากมีติ่งเนื้อ

ติ่งเนื้อ เกิดจากอะไร วิธีกำจัดติ่งเนื้อ และวิธีดูแลหากมีติ่งเนื้อ

“ติ่งเนื้อ” ที่มีลักษณะคล้ายไฝ หรือขี้แมลงวันเล็กๆ แต่มันปูดออกมา ติดเนื้อเป็นติ่งๆ ดูเหมือนอะไรติดผิวหนังแบบที่หยิบดึงออกมาได้ มีทั้งสีคล้ำอย่างดำ น้ำตาล ไปจนถึงสีเนื้อ เหลือง หรือสีชาๆ คล้ายน้ำชา

ผู้ป่วย PTSD ภาวะป่วยทางจิตหลังถูกทรมาน จะเยียวยาจิตใจอย่างไร?

ผู้ป่วย PTSD ภาวะป่วยทางจิตหลังถูกทรมาน จะเยียวยาจิตใจอย่างไร?

อาการ PTSD คือ สภาวะป่วยทางจิตใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง ส่งผลให้เกิดความเครียดอย่างมาก รู้จักกลุ่มเสี่ยงและการรักษา

โรคกระเพาะ เกิดจากอะไร วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็น โรคกระเพาะ

โรคกระเพาะ เกิดจากอะไร วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็น โรคกระเพาะ

โรคกระเพาะเกิดจากการระคายเคืองของเยื่อบุกระเพาะอาหาร สาเหตุหลักมาจากกรดเกิน ความเครียด และการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา