เนื้อหาในหมวด การเงิน

เอกชนเมินคลื่น 900 MHz ทิ้งให้เหงาเดียวดาย

เอกชนเมินคลื่น 900 MHz ทิ้งให้เหงาเดียวดาย

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จากัด (มหาชน) หรือ TRUE แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯว่า คณะผู้บริหารได้พิจารณาแล้ว มีความเห็นว่า บริษัทฯ ไม่ควรเข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 900 MHz และ ย่าน 1800 MHz ที่จะจัดโดยคณะกรรมการการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ในวันที่ 18 และ 19 สิงหาคม 2561 ตามลำดับ

true

ส่วน บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า บริษัทได้พิจารณาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประมูล และได้ตัดสินใจให้บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยร้อยละ 99.99 เข้าร่วมประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1800 MHz อย่างไรก็ตาม บริษัทตัดสินใจไม่เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 900 MHz ทั้งนี้ กสทช. จะประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติเป็นผู้เข้าร่วมประมูลในวันที่ 15 สิงหาคม 2561 และกำหนดวันประมูลในวันที่ 19 สิงหาคม 2561

ais

ขณะที่ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC แจ้งว่า บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย จะทำการยื่นเอกสารเพื่อเข้าร่วมประมูลและเพื่อขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1800 MHz ต่อสำนักงาน กสทช. ในวันที่ 8 สิงหาคม 2561 โดยบริษัทฯ จะแจ้งให้ทราบถึงผลและความคืบหน้าในเรื่องนี้ต่อไป

สำหรับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ตามประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 890 -895 /935 -940 MHz ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 นั้น บริษัทฯ (รวมถึงบริษัทในเครือ) จะไม่เข้าร่วมการประมูลและจะไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz

18512528741851252874

โดยดีแทคได้ให้เหตุผลกับ กสทช. ถึงการไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 900 MHz ว่า ในเรื่องของการทำระบบป้องกันการรบกวนที่ยังไม่มีความชัดเจน ประกอบกับทาง กสทช. ได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ย่านนี้จำนวน 5 MHz ให้กับโครงการรถไฟความเร็วสูง

ซึ่งเงื่อนไขในการประมูลคลื่น 900 MHz กำหนดให้ผู้ชนะการประมูลต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการรบกวนกันของคลื่นความถี่ และการรบกวนระบบอาณัติสัญญาณของระบบคมนาคมขนส่งทางรางทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว โดยมีภาระในการติดตั้งวงจรกรองสัญญาณ (filter) ให้แก่ผู้รับใบอนุญาตรายเดิมที่ใช้คลื่นความถี่ย่าน 850 MHz และผู้ให้บริการระบบคมนาคมขนส่งทางราง

หากการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz เป็นเงื่อนไขเดิม หรือมีการจัดทำระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการรบกวนกันของคลื่นความถี่เฉพาะราย และคลื่นความถี่ไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกับรถไฟความเร็วสูง DTAC จะนำคลื่นดังกล่าวไปใช้งานต่อ

ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. เตรียมเสนอคณะกรรมการ กสทช.พิจารณาปรับหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ภายหลังวันที่ 19 สิงหาคม 2561