เนื้อหาในหมวด การเงิน

ย้อนเส้นทาง “คิง เพาเวอร์” ภายใต้บังเหียน “เจ้าสัววิชัย” จนเป็นอาณาจักรแสนล้าน

ย้อนเส้นทาง “คิง เพาเวอร์” ภายใต้บังเหียน “เจ้าสัววิชัย” จนเป็นอาณาจักรแสนล้าน

ย้อนเส้นทางกว่าจะเป็น “ดิวตี้ฟรี” ของเมืองไทย ภายใต้การบริหารของนายวิชัย ศรีวัฒนประภา หรือเจ้าสัววิชัย แห่ง คิง เพาเวอร์ ผู้สร้างอาณาจักรแสนล้าน

แม้นายวิชัย ศรีวัฒนประภา ผู้สร้างอาณาจักรคิง เพาเวอร์ และเจ้าของสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ ได้เสียชีวิตจากกรณีเฮลิคอปเตอร์ตกข้างสนาม คิง เพาเวอร์ สเตเดี้ยม ที่ประเทศอังกฤษ แต่อาณาจักรดิวตี้ฟรีที่มีมูลค่านับแสนล้านยังคงเดินหน้าต่อไป ซึ่งเราจะพาย้อนเส้นทางธุรกิจกว่าตลอด 30 ปีที่ผ่านมา กว่าจะมาเป็น คิง เพาเวอร์ นั้นเป็นอย่างไรบ้าง Sanook! Money ได้รวบรวม Timeline ในแต่ละปีมาฝากกัน  

ปี 2532 ก่อตั้งคิง เพาเวอร์

ปี 2532-2537 คิง เพาเวอร์ได้รับใบอนุญาตให้เปิดตัวร้านค้าปลอดภาษีและอากรในเมืองแห่งแรกของประเทศไทยที่อาคารมหาทุนพลาซ่า

ปี 2534-2545 ได้รับใบอนุญาตให้เริ่มดำเนินธุรกิจร้านค้าปลอดภาษีและอากรในต่างประเทศแห่งแรกของ คิง เพาเวอร์ ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

ปี 2536-2545 ได้รับสัมปทานให้เปิดร้านจำหน่ายสินค้าทั่วไปที่ท่าอากาศยานดอนเมือง

ปี 2538-2540 ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการร้านจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก ณ กำแพงเมืองจีน กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน และได้รับสัมปทานให้ดำเนินกิจการร้านค้าปลอดภาษีและอากรในท่าอากาศยานไคตั๊ก เขตปกครองพิเศษฮ่องกง

ปี 2540-2549 ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการร้านค้าปลอดภาษีและอากรในเมือง ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และได้รับสัมปทานให้เปิดร้านค้าปลอดภาษีและอากรที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่าอากาศยานภูเก็ต (ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี 2563)

ปี 2542-2544 การบินไทยให้สิทธิ์ คิง เพาเวอร์ บริหารการจำหน่ายสินค้าปลอดภาษีและอากรระหว่างบินบนเครื่องของสายการบิน

ปี 2549 ก่อตั้ง คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี ดาวน์ทาวน์ คอมเพล็กซ์ ร้านค้าปลอดภาษีและอากรในเมืองแห่งแรกบนถนนรางน้ำ ใจกลางกรุงเทพมหานคร และยังได้รับสัมปทานใหญ่ในการบริหารจัดการทั้งพื้นที่จำหน่ายสินค้าปลอดภาษีและอากร และพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอายานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่

ปี 2550 ได้รับสัมปทานใหม่ในการประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดภาษีและอากรระหว่างบินบนเครื่องบินของการบินไทย

ปี 2554 ได้รับใบอนุญาตให้เปิดร้านค้าปลอดภาษีและอากรในต่างจังหวัดแห่งแรกของประเทศไทยทางภาคตะวันออก นั่นก็คือ คิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์ พัทยา และ แอร์เอเชีย ให้สิทธิ์ คิง เพาเวอร์ บริหารกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดภาษีและอากรระหว่างบินบนเครื่องของสายการบิน

ปี 2555 ได้รับสัมปทานใหม่ให้เปิดร้านค้าปลอดภาษีและอากรที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อท่าอากาศยานกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง

ปี 2556 ได้รับใบอนุญาตให้เปิด คิง เพาเวอร์ ศรีวารี คอมเพล็กซ์ ถือเป็นการขยายร้านค้าครั้งล่าสุดของธุรกิจ คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี

ปี 2557 คิง เพาเวอร์ เปิดร้าน “เลสเตอร์ซิตี้แฟน” แห่งแรก ที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม และยังได้รับสัมปทานให้ดำเนินกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดภาษีและอากรระหว่างบินจากสายการบินไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์

\

"เจียรวนนท์"ทวงบัลลังก์แชมป์เศรษฐีไทยปี 60 รวย 7.4 แสนล้าน

ตระกูลเจียรวนนท์กลับมาครองอันดับ 1 ในทำเนียบเศรษฐีไทยปี 60 ตามด้วย เจริญ สิริวัฒนภักดี และตระกูลจิราธิวัฒน์ ขณะ อิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ เถ้าแก่น้อย วินัย เตียวสมบูรณ์กิจ จาก ไทยฟู้ดส์ ณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ แห่งคาราบาวแดง ติด 3 เศรษฐีหน้าใหม่

เปิดตัว 20 มหาเศรษฐีไทยปี 60 เสี่ยเจริญ รั้งแชมป์ รวยกว่า 5 แสนล.บาท

เปิดตัว 20 มหาเศรษฐีไทยปี 60 เสี่ยเจริญ รั้งแชมป์ รวยกว่า 5 แสนล.บาท

ฟอร์บส์ จัดอันดับ 20 มหาเศรษฐีไทยในปี 2560 เสี่ยเจริญ เจ้าของเบียร์ช้างครองแชมป์ด้วย ทรัพย์สินสูงถึงกว่า 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะเจ้าสัวซีพี ธนินท์ เจียรวนนท์ ครองอันดับ 2 ด้วยจำนวนทรัพย์สินที่ห่างจากอันดับ 1 เกือบครึ่ง 9.7 พันล้านดอลลาร์ แต่รวมทั้งตระกูลที่ติดอันดับรวยถึง 21,200 ล้านดอลลาร์