เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

5 วิธีกินยาสมุนไพรแบบผิดๆ เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

5 วิธีกินยาสมุนไพรแบบผิดๆ เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

มีความเชื่อกันว่ายาสมุนไพรปลอดภัย และให้ผลดีกว่ายาฝรั่ง หรือยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยหลายคน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง มักหันเหมาเลือกทานยาสมุนไพร ด้วยเข้าใจว่ายาสมุนไพรมาจากธรรมชาติ ไม่ตกค้างที่ตับจนทำให้ตับพังเหมือนยาปฏิชีวนะ

แม้ว่ายาสมุนไพรจะดูไม่เป็นอันตราย แต่หากทานไม่ถูกวิธี ก็อาจให้โทษ และทำอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน

 

อันตรายจากสมุนไพรที่คุณอาจมาเคยรู้

  • ยาสมุนไพร อาจทำให้เกิดอาการแพ้
  • ก็เหมือนกับยาปฏิชีวนะ ที่สมุนไพรสามารถทำให้คุณเกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน อาการแพ้ที่เกิดขึ้นมีทั้งอาการเล็กๆ น้อยๆ อย่างผื่นคัน ไปจนถึงคลื่นไส้ อาเจียน หูอื้อ ตามัว ลิ้นชา ใจสั่น ใจเต้น หรืออาจหลอดเลือดบวม ความดันโลหิตต่ำเฉียบพลันได้

     

  • ยาสมุนไพร อาจเป็นพิษต่อร่างกาย
  • หากยาปฏิชีวนะทำให้ตับหรือไตพังได้ ยาสมุนไพรก็อาจทำได้เช่นกัน เพราะยาสมุนไพรบางชนิดอาจเป็นพิษต่อตับ จนทำให้เกิดภาวะตับอักเสบได้ โดยอาจทำให้มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หรือปัสสาวะเหลืองผิดปกติ สำหรับอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับไต อาจพบเนื้อพังผืดเกิดขึ้นในไต และอาจเกิดภาวะไตวายได้

     

  • ยาสมุนไพร อาจมีผลข้างเคียง
  • แม้ว่าจะประกอบไปด้วยสารสกัดจากธรรมชาติที่น่าจะไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายอะไร แต่อันที่จริงแล้วผลข้างเคียงเหล่านี้อาจรบกวนร่างกายโดยที่คุณอาจไม่ทราบ หรืออาจรบกวนโรคอื่นๆ ที่คุณอาจกำลังเป็นอยู่ด้วยก็ได้ เช่น กระเทียม ที่คนมักหามาทานเพื่อช่วยลดความดันโลหิต แต่มีผลข้างเคียงคือ เลือดออกง่าย ดังนั้นหากจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด อาจจะต้องหยุดทานก่อน เป็นต้น

     

  • ยาสมุนไพร ไม่ได้รักษาได้ทุกโรค
  • จริงๆ แล้วบ้านเราสนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรกับโรคเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่น เป็นหวัด มีไข้ เจ็บคอ มากกว่าโรคร้ายแรง โรคเรื้อรัง หรือโรคติดเชื้อ เพราะหากเป็นโรคอย่าง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือวัณโรค อาจยังไม่มีงานวิจัยออกมาพิสูจน์ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่ารักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นยาสมุนไพรอาจยังไม่ใช่ทางออกของการรักษาที่แท้จริง

    นอกจากนี้ อาการเจ็บป่วยขั้นรุนแรง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง ปวดท้องรุนแรง คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง ก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาสมุนไพรเช่นกัน เพราะยาสมุนไพรมักให้การรักษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นหากมีอาการรุนแรงที่ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ควรพบแพทย์จะดีกว่า

     

  • ยาสมุนไพร ใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะไม่ได้เสมอไป
  • ใครที่คิดว่าสองแรงแข็งขัน ยาที่หมอให้มาก็ทาน ยาสมุนไพรที่ซื้อมาเองก็ทาน บางครั้งอาจเป็นการเพิ่มฤทธิ์ของการรักษามากจนเกินไป จนอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น หากกำลังรับยาลดความดันอยู่ แต่ไปทานยาสมุนไพรกระเทียมที่ช่วยลดความดันโลหิตลงไปอีก อาจเป็นการลดความดันลงมากเกินไปจนกลายเป็นความดันต่ำได้

    ดังนั้นหากรับการรักษาจากแพทย์อยู่แล้ว อาจนำยาสมุนไพรไปปรึกษาแพทย์ก่อนว่าสามารถทานควบคู่กับยาปฏิชีวนะได้หรือไม่ เพื่อที่หมอจะได้จัดเตรียมปริมาณในการทานยาทั้งสองชนิดได้อย่างเหมาะสม

     

    ไม่ว่าจะทานยาอะไร ควรศึกษาหาข้อมูลให้แน่ใจก่อนทาน ทั้งศึกษาด้วยตนเอง และปรึกษาเภสัชกรในร้านขายยาใกล้บ้านก็ได้ เพราะการทานยาจากคำโฆษณาชวนเชื่อ อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้อย่างไม่ทันตั้งตัว

    ใบมะขาม กับสรรพคุณดีเกินคาด สมุนไพรพื้นบ้านที่ควรมีติดบ้าน

    ใบมะขาม กับสรรพคุณดีเกินคาด สมุนไพรพื้นบ้านที่ควรมีติดบ้าน

    ใบมะขาม ไม่ใช่แค่ใช้ปรุงอาหาร แต่ยังมีสรรพคุณทางยาเพียบ เช่น ลดไข้ แก้ไอ แก้อักเสบ มาดูประโยชน์ของใบมะขาม ที่คุณอาจยังไม่เคยรู้

    ใบยอ คืออะไร ทำความรู้จัก ใบยอ พืชสมุนไพรพื้นบ้านพร้อมสรรพคุณ

    ใบยอ คืออะไร ทำความรู้จัก ใบยอ พืชสมุนไพรพื้นบ้านพร้อมสรรพคุณ

    ใบยอ สมุนไพรใกล้ตัว ที่มากด้วยคุณประโยชน์ บทความนี้จะพาคุณรู้จักใบยอคืออะไร และสรรพคุณของใบยอ ที่ดีต่อร่างกายในหลายด้าน

    ใบบัวบก กับ 10 ประโยชน์ดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ พร้อมวิธีทำน้ำใบบัวบก

    ใบบัวบก กับ 10 ประโยชน์ดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ พร้อมวิธีทำน้ำใบบัวบก

    ใบบัวบก (Gotu Kola) สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและผิวพรรณ ช่วยลดการอักเสบ ฟื้นฟูผิว และเสริมการทำงานของสมอง พร้อมวิธีทำน้ำใบบัวบกง่าย ๆ บำรุงร่างกายและผิวพรรณอย่างครบถ้วน

    มะม่วงหาว มะนาวโห่ มีสรรพคุณทางยามากถึง 50 ประการ

    มะม่วงหาว มะนาวโห่ มีสรรพคุณทางยามากถึง 50 ประการ

    มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ ผลไม้ชนิดนี้ได้รับความสนใจจากผู้ที่รักสุขภาพเป็นอย่างมาก เพราะในวงการแพทย์ก็ได้วิจัยออกมาพบว่ามีสรรพคุณทางยามากถึง 50 ประการ