เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

รู้จัก “ลูคีเมีย” โรคร้ายที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้...ไม่ใช่แค่ในซีรีส์เกาหลี

รู้จัก “ลูคีเมีย” โรคร้ายที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้...ไม่ใช่แค่ในซีรีส์เกาหลี

     โรคลูคีเมียหรือมะเร็งเม็ดเลือดขาวในภาพจำของคนไทยส่วนใหญ่ มักจะเป็นโรคยอดฮิตของนางเอกซีรีส์เกาหลี ที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากเฉพาะในละครเท่านั้น

     แต่ในขณะที่หลายคนเชื่อว่าโอกาสที่โรคนี้จะเกิดขึ้นกับตัวเองนั้นเป็นไปได้ยาก รู้หรือไม่ว่าที่จริงแล้ว โรคลูคีเมียเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัยโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด มีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง และแม้จะสามารถรักษาให้หายขาดแต่ค่าใช้จ่ายในการรักษาก็สูงมากเช่นกัน

     ดังนั้นโรคร้ายนี้ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อกำลังใจของคนรอบข้างที่ต้องร่วมต่อสู้ไปกับผู้ป่วย รวมทั้งเรื่องของการแบกรับค่าใช้จ่ายที่อาจเพิ่มขึ้นในระหว่างการรักษาอย่างไม่คาดฝันด้วย

     Sanook! Health อยากพามารู้จักกับลูคีเมียกันสักนิด เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

     ลูคีเมียหรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว คือ ภาวะที่ไขกระดูกหรือเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Stem Cell) ทำงานผิดปกติ และผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติออกมาเป็นจำนวนมาก จนไม่สมดุลกับเม็ดเลือดต่าง ๆ ในร่างกาย ส่งผลให้ระบบการทำงานของเม็ดเลือดในร่างกายผิดปกติ

     ลูคีเมียเป็นโรคที่ไม่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ชนิดเรื้อรัง ซึ่งอาการจะค่อยๆ แสดงความรุนแรง และชนิดเฉียบพลัน ที่มีอาการรุนแรงกว่าและต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว โดยผู้ที่มีอาการของโรคลูคีเมียส่วนใหญ่จะมีไข้ติดต่อกันหลายๆ วัน ผิวซีดลง ผอมลง น้ำหนักตัวลด เบื่ออาหาร ต่อมน้ำเหลืองโต มีจุดเลือดออกหรือจ้ำเลือดตามตัว เลือดออกง่าย ปวดกระดูก ท้องอืด ตับโต และม้ามโต

     โดยปัจจัยที่บั่นทอนกำลังใจผู้ป่วยและคนรอบข้าง ไม่ได้มีแต่อาการเจ็บป่วยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงขั้นตอนการรักษาด้วยเคมีบำบัดที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและกินเวลานาน โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่
     ระยะที่ 1: การให้ยาเคมีบำบัดติดต่อกันเป็นเวลา 1 – 2 เดือนแรก เพื่อรักษาให้หายจากโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาว
     ระยะที่ 2: การให้ยาเคมีบำบัดในช่วงเวลาที่ห่างกันออกไปเป็นเวลา 2 เดือน และการฉายรังสีที่บริเวณศีรษะ เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่ในน้ำไขสันหลังบริเวณรอบๆ สมอง ซึ่งในระยะที่ 1 และ 2 นี้ ถือเป็นระยะสำคัญ เนื่องจากปริมาณเม็ดเลือดขาวค่อนข้างต่ำ ผู้ป่วยต้องระมัดระวังเรื่องการติดเชื้อ
     ระยะที่ 3: การให้ยาเคมีบำบัดในระยะเวลาที่ห่างกันมากขึ้น ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี
เพื่อเป็นการคุมโรคให้สงบและป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ปริมาณของยาที่ให้จะน้อยลงกว่าระยะที่ 1 และ 2 มาก คนไข้จะสามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับคนปกติ

     แต่นอกจากยาเคมีบำบัดจะเข้าไปทำลายเซลล์ที่ผิดปกติแล้ว ยังทำลายเซลล์ที่ปกติภายในร่างกายด้วย คนไข้จึงต้องระมัดระวังในเรื่องของการติดเชื้อ เช่น โรคอีสุกอีใส เพราะหากติดเชื้อแล้ว อาการจะทวีความรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่ได้รับยาเคมีบำบัด

     ได้รู้ขั้นตอนของการรักษาแบบนี้แล้ว ก็คงได้เห็นว่าเรื่องของโรคร้ายนั้นเป็นสิ่งที่ไม่คาดฝันและเป็นสิ่งที่เราควรจะต้องเตรียมความพร้อม เพื่อรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด รวมถึงเรื่องของค่ารักษาเพื่อรักษาชีวิตของคนที่เรารักและห่วงใย

     อย่างเรื่องราวของเต้ย จรินทร์พร จุนเกียรติ ที่จู่ๆ ครอบครัวของเธอก็พบว่าน้องชายป่วยเป็นโรคนี้ และต้องจับมือกันเพื่อฝ่าฟันปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากโรคร้ายครั้งนี้

     ซึ่งเต้ยและครอบครัวมี “ตัวช่วย” ให้ผ่านเหตุการณ์ครั้งนี้ไปได้อย่าง “เอไอเอ สู้ทุกระยะโรคร้าย”

     ซึ่งประกอบไปด้วยสัญญาเพิ่มเติม 3 ฉบับที่ให้ความคุ้มครองแก่คุณและคนที่คุณรักครอบคลุม 44 โรคร้ายแรง ในทุกระยะการรักษา ดังนี้
ระยะเริ่มต้น: รับเงินผลประโยชน์ทันที หากตรวจพบโรคร้ายแรงระดับต้นถึงระดับปานกลาง
ระยะรุนแรง: รับเพิ่มเงินผลประโยชน์ หากตรวจพบโรคร้ายแรงระดับรุนแรง
ระยะรักษา: รับเงินก้อนผลประโยชน์เพื่อเป็นค่ารักษาและค่าผ่าตัด
ระยะชดเชย: รับเงินชดเชยจากโรคร้ายแรง
ซึ่งสอดคล้องกับระยะการดูแลรักษาของโรคร้าย เป็น “ตัวช่วย” ที่อยู่กับคุณในทุกนาทีของชีวิต

     ดังนั้นหากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใส่ใจในสุขภาพของตนเองและครอบครัวต่อโรคร้ายที่มักจะมาแบบไม่คาดฝันและไม่ได้อยู่แค่ในละคร และมองหาอีกตัวช่วยให้คุณและคนที่คุณรักสามารถผ่านไปได้ทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น โดยสามารถติดตามรายละเอียดของประกันภัยโรคร้ายแรงและประกันสุขภาพอื่นๆ จาก AIA ได้ที่ www.aia.co.th หรือติดต่อตัวแทนเอไอเอ หรือโทร 1581 แล้วโรคร้ายจะไม่เป็น “ฝันร้าย” ของคุณและครอบครัว

 

[Advertorial]

ระดับสีค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ฟ้า-เขียว-เหลือง-ส้ม-แดง บอกอะไรเราบ้าง?

ระดับสีค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ฟ้า-เขียว-เหลือง-ส้ม-แดง บอกอะไรเราบ้าง?

ใครที่เคยใช้แอปวัดระดับ PM 2.5 ฝุ่นละอองในอากาศ ในช่วงนี้ เคยเห็นสีอะไรกันบ้าง? แล้วสีไหนเป็นอย่างไร หมายความว่าอะไร เช็กที่นี่

ติ่งเนื้อ เกิดจากอะไร วิธีกำจัดติ่งเนื้อ และวิธีดูแลหากมีติ่งเนื้อ

ติ่งเนื้อ เกิดจากอะไร วิธีกำจัดติ่งเนื้อ และวิธีดูแลหากมีติ่งเนื้อ

“ติ่งเนื้อ” ที่มีลักษณะคล้ายไฝ หรือขี้แมลงวันเล็กๆ แต่มันปูดออกมา ติดเนื้อเป็นติ่งๆ ดูเหมือนอะไรติดผิวหนังแบบที่หยิบดึงออกมาได้ มีทั้งสีคล้ำอย่างดำ น้ำตาล ไปจนถึงสีเนื้อ เหลือง หรือสีชาๆ คล้ายน้ำชา