เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

5 วิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูก ง่ายๆ แต่ได้ผลจริง

5 วิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูก ง่ายๆ แต่ได้ผลจริง

โรคมะเร็งชนิดแรกๆ ที่ผู้หญิงหลายคนกลัว คงหนีไม่พ้น มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ด้วยเหตุเพราะมะเร็งยังคงเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุที่เกิดของโรคอย่างแน่ชัด

แต่ถึงจะยังไม่ทราบสาเหตุของโรคอย่างแน่ชัด เราก็ยังลดโอกาสในการเกิดมะเร็งได้ โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูก มีวิธีง่ายๆ ไม่กี่ข้อที่ช่วยทำให้คุณคลายกังวลว่าคุณอาจจะไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับเจ้าโรคนี้

 

  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
  • เนื่องจากมะเร็งปากมดลูก มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส HPV จึงมีความเป็นไปได้ว่าการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ระวัง มีความปลอดภัยต่ำ จะเป็นสาเหตุทำให้ติดเชื้อได้ จึงเป็นที่มาว่าหากยังมีอายุน้อย อาจยังมีความรู้เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ด้วยความปลอดภัยน้อยกว่าคนที่โตแล้ว ทั้งเรื่องของความสะอาด การใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธี หรือแม้กระทั่งการเลือกคู่นอน ที่อาจยังขาดสติสัมปชัญญะไป

     

  • หลีกเลี่ยงการมีเปลี่ยนคู่นอน
  • ทั้งเด็ก วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ มีโอกาสติดเชื้อไวรัส HPV สาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูกได้จากการเปลี่ยนคู่นอนสูงมาก โดยเฉพาะการใช้บริการทางเพศ และไม่มีการป้องกัน เช่น ไม่สวมถุงยางอนามัย เป็นต้น

     

  • ลดการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
  • การสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ ทำลายภูมิต้านทานไวรัสในร่างกาย รวมไปถึงทำลายระบบการทำงานของอวัยวะหลายส่วน ทำให้หลอดเลือดไม่แข็งแรง ทำงานไม่ได้ประสิทธิภาพ จนทำให้ไม่สามารถต่อสู้กับไวรัสต่างๆ ที่เข้ามาในร่างกายได้ จึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อไวรัส HPV ได้เช่นกัน

     

  • ฉีดวัคซีน HPV
  • ข่าวดีสำหรับคุณผู้หญิง คือ มะเร็งปากมดลูก เป็นหนึ่งในมะเร็งไม่กี่ชนิดที่มีวัคซีนป้องกันโรคที่ให้ผลค่อนข้างดี โดยเป็นการฉีด 3 เข็ม เข็มที่ 2 หลังจากเข็มแรก 1-2 เดือน และเข็มที่ 3 ฉีดหลังเข็มแรก 6 เดือน ผู้รับวัคซีนอาจได้รับผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น มีอาการบวม แดง คันบริเวณที่ฉีด หรืออาจจะปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย หรือมีผื่นขึ้นตามตัว แต่อาการจะไม่หนัก และจะค่อยๆ หายไปเอง

     

  • ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ
  • แม้ว่าเชื้อไวรัส HPV จะใช้เวลายาวนาน 10-20 ปีกว่าจะกลายเป็นมะเร็ง แต่เพราะระยะเวลาที่ยาวนานจึงอาจทำให้ใครหลายคนละเลย หรือลืมไปแล้วด้วยซ้ำว่าเคยมีความเสี่ยงต่อโรคนี้ ดังนั้นจึงแนะนำให้ไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกๆ 1-2 ปี หรือ 3-5 ปีสำหรับคนที่มีความเสี่ยงน้อย (มีคู่นอนแค่คนเดียว) นอกจากจะช่วยลดความความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งในส่วนอื่นๆ ใกล้เคียงอีกด้วย เช่น มะเร็งรังไข่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด ฯลฯ

     

    ในเมื่อมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อ HPV ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ง่ายๆ ดังนั้นหากทำตามเคล็ดลับเหล่านี้แล้ว รับรองว่าโอกาสที่มะเร็งปากมดลูกจะมาทักทายคุณก็เป็นไปได้ต่ำมากเช่นกัน ขอให้สุขภาพแข็งแรง ไร้โรคภัย อยู่กับคุณไปนานๆ นะคะ

    วัคซีน “มะเร็งปากมดลูก” กับเหตุผลที่ “ผู้ชาย” ควรฉีด

    วัคซีน “มะเร็งปากมดลูก” กับเหตุผลที่ “ผู้ชาย” ควรฉีด

    รู้หรือไม่ว่า ผู้ชายก็ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก HPV ได้ และมีหลายเหตุผลที่ควรฉีดด้วย เพราะไวรัสมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง ก็สามารถพบได้ในผู้ชายได้เช่นกัน

    อาการมะเร็งปากมดลูก มีสัญญาณเตือนภัย ที่ควรสังเกตุ

    อาการมะเร็งปากมดลูก มีสัญญาณเตือนภัย ที่ควรสังเกตุ

    อาการมะเร็งปากมดลูก ที่เห็นได้ชัดเจน คือมีเลือดออกจากช่องคลอดขณะ หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงอาการตกขาวที่อาจมีเลือดปนนะคะ หากพบอาการดังกล่าว บวกกับอาการในข้ออื่นๆ ด้วยแล้วล่ะก็ พบแพทย์โดยด่วนเลยนะคะ

    ปวดท้องน้อย ปวดหน่วงๆ หรือปวดบิดเป็นพักๆ เกิดจากสาเหตุอะไร รักษาอย่างไร

    ปวดท้องน้อย ปวดหน่วงๆ หรือปวดบิดเป็นพักๆ เกิดจากสาเหตุอะไร รักษาอย่างไร

    ปวดท้องน้อย เกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะอะไร แล้วเราจะมีการรับมือกับอาการปวดที่เกิดขึ้นอย่างไรได้บ้าง

    มะเร็ง-ไต-อ้วน 15 โรคร้ายที่มาพร้อมกับ “หมูกรอบ” อร่อยดีแต่มีโทษ (เพียบ)

    มะเร็ง-ไต-อ้วน 15 โรคร้ายที่มาพร้อมกับ “หมูกรอบ” อร่อยดีแต่มีโทษ (เพียบ)

    หมูกรอบ เมนูยอดฮิตของคนไทย ถึงจะอร่อยล้ำขนาดไหน แต่รู้ไว้เลยว่ามาพร้อมกับโรคร้ายนับสิบๆ โรค ที่พร้อมจะคร่าชีวิตคุณได้ง่ายๆ

    ยาคุม ใช้ไม่ถูกวิธี เสี่ยงมะเร็งเต้านม-ปากมดลูก

    ยาคุม ใช้ไม่ถูกวิธี เสี่ยงมะเร็งเต้านม-ปากมดลูก

    ยาคุมมีประโยชน์ในการคุมกำเนิด และปรับสภาพฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกายของเราได้ก็จริง แต่หากใช้ไม่ถูกวิธี ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และอื่นๆ ได้