เนื้อหาในหมวด การเงิน

คิดแบบสตาร์ทอัพ!!! แก้ปัญหาไฟป่า ด้วยนวัตกรรม “ไม่เขา ไม่เผา เราซื้อ”

คิดแบบสตาร์ทอัพ!!! แก้ปัญหาไฟป่า ด้วยนวัตกรรม “ไม่เขา ไม่เผา เราซื้อ”

ปัญหาไฟป่าหน้าร้อนในภาคเหนือ หลายฝ่ายสุมหัวคิดวิธีแก้ ที่ดูเหมือนจะมืดแปดด้าน แต่หากลองคิดแบบสตาร์ทอัพนั่นคือ การเอาปัญหามาตั้งเป็นโจทย์ ไม่หาคนผิด แต่คิดโซลูชั่น

ย้อนไปเมื่อปี 2558 ซีพีตั้งโจทย์ว่า ทำอย่างไร ข้าวโพดทุกเม็ดที่รับซื้อต้องรู้ว่า มาจากไหน และไม่ได้มาจากการเผาป่า และปลูกผิดที่ ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และนี่คือโจทย์ที่ท้าทาย ให้เหล่านักคิดมาระดมสมอง จนเกิดระบบนวัตกรรมที่ชื่อว่า ไม่เขา ไม่เผา เราซื้อ ตอบโจทย์ ทำอย่างไร ชาวบ้านจะไม่เผาป่า เพื่อปลูกข้าวโพดบนเขา และในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์!!!

มาถึงวันนี้ ข้าวโพดทั้ง 100% ที่รับซื้ออยู่บนพื้นที่ถูกกฎหมาย และที่สำคัญไม่เผาป่า นี่แหละคือเส้นทางของนวัตกรรมที่นำสู่ความยั่งยืน

ย้อนกลับไปปี 2558 เครือ ซี.พี. เปิดใช้ระบบตรวจสอบแหล่งที่มาของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างเป็นทางการ มุ่งส่งเสริมเกษตรกรปลูกข้าวโพดถูกวิธี ไม่บุกรุกป่า รักษาสิ่งแวดล้อมและร่วมแก้ปัญหาหมอกควันในประเทศ ประกาศรับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกรที่ลงทะเบียนร่วมโครงการเท่านั้น ดีเดย์เป็นทางการไปเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2559 หรือประมาณ 3 ปีที่แล้ว

นายสมชาย กังสมุทร กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) เปิดเผยว่า บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) หรือบีเคพี ในกลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ เครือ ซี.พี.ได้เปิดใช้ระบบตรวจสอบแหล่งที่มาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างเป็นทางการ

มุ่งส่งเสริมเกษตรกรปลูกข้าวโพดถูกวิธี ไม่บุกรุกพื้นที่ป่า รักษาสิ่งแวดล้อมและร่วมแก้ปัญหาหมอกควันในประเทศอย่างยั่งยืน ประกาศรับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกรที่ลงทะเบียนร่วมโครงการเท่านั้นมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559

สำหรับระบบตรวจสอบดังกล่าวจะดำเนินการโดยคู่ค้าหรือผู้รวบรวมและผู้ที่เกี่ยวข้องในการรับซื้อ-ขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับบริษัท จะต้องเข้าทำรายการลงทะเบียนและซื้อขายผลผลิตผ่านระบบฯ อย่างถูกต้อง โดยบริษัทจะรับซื้อผลผลิตข้าวโพดที่มีการทำรายการผ่านระบบเท่านั้น

ทั้งนี้ ความเข้าใจคือหัวใจสำคัญ ในช่วงเริ่มต้นเมื่อ 4 ปีก่อน เพื่อสร้างความเข้าใจกับคู่ค้าในพื้นที่ ซีพีได้เปิดให้มีการทดสอบระบบตรวจสอบแหล่งที่มาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ดังนี้ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สาขาพิษณุโลก

เริ่มทดสอบระบบฯ ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2558, สาขาลำพูน และราชบุรี เริ่มทดสอบระบบฯ ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2558, สาขาโคกกรวดและปักธงชัย เริ่มทดสอบระบบฯ ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2558 ส่วนสาขาอื่นที่เหลือทั้งหมด เริ่มทดสอบระบบฯ ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2558 ซึ่งในปัจจุบัน การรับซื้อทั้ง 100%อยู่บนระบบตรวจสอบย้อนกลับแล้ว

"ระบบตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ที่พร้อมขับเคลื่อนร่วมกันไปทุกภาคส่วนเพื่อคงไว้ซึ่งประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน และคนรุ่นหลัง" นายสมชายกล่าวและว่า

การกำหนดระบบตรวจสอบดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืนของบริษัท ที่มุ่งตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากคู่ค้าหรือผู้รวบรวมในการลงทะเบียน ผู้รวบรวมในเครือข่ายและเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในพื้นที่

โดยเฉพาะเกษตรกรที่มาลงทะเบียนต้องเพาะปลูกข้าวโพดในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้อง หรือพื้นที่ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการ ร่วมถึงพื้นที่ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน(NGO) เพื่อส่งเสริมการปรับตัวของเกษตรกรในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และเป็นการยืนยันผลผลิตที่นำมาจำหน่ายนั้นเพาะปลูกจากแหล่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ถึงแม้ว่า นวัตกรรมการตรวจสอบย้อนกลับนี้จะช่วยใช้กลไกตลาดในการลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดผิดกฎหมาย แต่ปัจจุบันซีพียังเป็นบริษัทที่ทำระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดรายแรกและรายเดียว แต่รายอื่น ๆ ยังไม่ได้เข้ามาเริ่มทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง และปัญหาจากการเผาพื้นที่จากการปลูกข้าวโพดนั้นเป็นสาเหตุเพียง 10% ของการเผาป่า และหมอกควันภาคเหนือ

ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากไฟไหม้ป่าที่ไม่ได้เกิดจากเกษตรกร ดังนั้น คนที่น่าเห็นใจที่สุดคือ หน่วยผจญเพลิง และชาวบ้านในพื้นที่ งานนี้คงต้องมาเอาใจช่วย และช่วยกันคิด กันทำ คนละไม้ละมือ