เปิดข้อกฎหมาย "7 พฤติกรรมฆ่า" ที่เข้าข่ายต้องโทษร้ายแรงถึงขั้นประหารชีวิต
หลังจากกรมราชทัณฑ์เผยแพร่เอกสารการบังคับโทษตามคำพิพากษาของศาลด้วยการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดรายหนึ่ง
>> กรมราชทัณฑ์ประหารชีวิต นักโทษคดีฆ่าชิงทรัพย์ รายแรกในรอบ 9 ปี
ทำให้เกิดปฏิกิริยาและเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วสังคม มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการนำมาตรการประหารชีวิตมาใช้
Sanook! News ขอเปิดเผยข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ 7 พฤติกรรมการฆ่า ที่ต้องรับโทษหนักถึงขั้นประหารชีวิต ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ระบุว่า ผู้ใด กระทำการดังต่อไปนี้
(1) ฆ่าบุพการี
(2) ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำการตามหน้าที่
(3) ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วยหรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว
(4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
(5) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
(6) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น หรือ
(7) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ ต้องระวางโทษประหารชีวิต
>> เปิดประวัติ "นักโทษ" ที่ทำให้ไทยกลับมาใช้โทษประหารในรอบ 9 ปี
>> เผยขั้นตอน "ฉีดสารพิษ" นักโทษ หลังรื้อฟื้นประหารชีวิตรอบ 9 ปี
>> เปิดใจครอบครัว "นักโทษประหาร" เรือนจำไม่แจ้งล่วงหน้า เสียใจไม่ได้ลาครั้งสุดท้าย
>> ผู้คุมเรือนจำบางขวาง ขอบคุณ "นักโทษประหาร" เอ่ยปากอโหสิก่อนถูกฉีดยา