เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

วิธีเช็คความปลอดภัยของ “ยาแผนโบราณ” จากทะเบียนตำรับยา

วิธีเช็คความปลอดภัยของ “ยาแผนโบราณ” จากทะเบียนตำรับยา

ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนชอบทานยาแผนโบราณที่สกัดมาจากสมุนไพรต่างๆ ตามธรรมชาติ มากกว่าเดินทางไปพบแพทย์ และรับยาปฏิชีวนะมาทาน เพราะอาจคิดว่าการรับประทานยาปฏิชีวนะนานๆ อาจตกค้างจนทำร้ายสุขภาพตับได้

การเลือกทานยาแผนโบราณ ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรเลยค่ะ แต่ยาแผนโบราณตามท้องตลาดอาจไม่ได้มีคุณภาพที่ดีเสมอไป และอาจไม่เหมาะกับคุณโดยที่คุณเองอาจไม่รู้ตัว

 

อันตรายจากยาแผนโบราณที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา

ยาแผนโบราณที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา อาจมีสารอันตรายอื่นๆ เจือปน เช่น สเตียรอยด์ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่างๆ ได้ เช่น

- ระคายเคืองกระเพาะอาหาร นานวันเข้าอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร จนอาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุได้

- ส่วนต่างๆ ของร่างกายมีอาการบวม ตึง ผิดปกติ (ไม่ได้มาจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น)

- ความดันโลหิต และ/หรือ น้ำตาลในเลือดสูง

- กระดูกผุกร่อน หักเปราะง่าย

- ภูมิต้านทานโรคต่ำ ป่วยง่าย ติดเชื้อง่าย

เป็นต้น

 

การเลือกซื้อยาแผนโบราณมารับประทานเอง ให้ปลอดภัยต่อร่างกายมากที่สุด ควรตรวจสอบจากเวลทะเบียนตำรับยา จากฉลากข้างผลิตภัณฑ์ โดยวิธีตรวจสอบเบื้องต้น ทำได้ดังนี้ค่ะ

  • มองหาตัวเลขหลังคำว่า Reg.No. (Registered Number) ที่ข้างฉลาก
  • รหัสที่พบ จะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ประเภทของยา ลำดับที่ลงทะเบียน / ปีที่ลงทะเบียน
  • เช่น G 234/45 จะถอดความหมายออกมาได้ว่า G หมายถึง ยาแผนโบราณที่ใช้กับมนุษย์ และผลิตในประเทศไทย ลงทะเบียนเป็นยาลำดับที่ 234 ในปี 2545

     herbal-pills-2

     

    รายละเอียดประเภทของยา

    ยาแผนปัจจุบัน

    1A : ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ (ยาเดี่ยว)

    1B : ยามนุษย์แบ่งบรรจุ (ยาเดี่ยว)

    1C : ยามนุษย์นำหรือสั่งเข้าฯ (ยาเดี่ยว)

    1D : ยาสัตว์ผลิตภายในประเทศ (ยาเดี่ยว)

    1E : ยาสัตว์แบ่งบรรจุ (ยาเดี่ยว)

    1F : ยาสัตว์นำหรือสั่งเข้าจากต่างประเทศ (ยาเดี่ยว)

    2A : ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ (ยาผสม)

    2B : ยามนุษย์แบ่งบรรจุ (ยาผสม)

    2C : ยามนุษย์นำหรือสั่งเข้าจากต่างประเทศ (ยาผสม)

    2D : ยาสัตว์ผลิตภายในประเทศ (ยาผสม)

    2E : ยาสัตว์แบ่งบรรจุ (ยาผสม)

    2F : ยาสัตว์นำหรือสั่งเข้าจากต่างประเทศ (ยาผสม)

     

    ยาแผนโบราณ

    G : ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ

    H : ยามนุษย์แบ่งบรรจุ

    K : ยามนุษย์นำหรือสั่งเข้าจากต่างประเทศ

    L : ยาสัตว์ผลิตภายในประเทศ

    M : ยาสัตว์แบ่งบรรจุ

    N : ยาสัตว์นำหรือสั่งเข้าจากต่างประเทศ

     

    สามารถเข้าไปตรวจสอบรายละเอียดของยาแผนโบราณได้ โดยคลิกที่นี่ค่ะ (ใครที่เข้าไปใช้บริการเป็นครั้งแรก อาจต้องทำการลงทะเบียนก่อนใช้งานนะคะ)

    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะชื่อยา และข้อมูลของยาแผนโบราณอย่างถูกต้อง ก็ไม่ได้หมายความยาแผนโบราณชนิดนั้นจะปลอดภัยต่อร่างกายของคุณ 100% เพราะสมุนไพรที่เราเลือกอาจไม่ได้เหมาะสมกับอาการ หรือโรคที่เป็นจริงๆ ไม่ว่าอย่างไรเราจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานยาทุกประเภทค่ะ

    ใบบัวบก กับ 10 ประโยชน์ดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ พร้อมวิธีทำน้ำใบบัวบก

    ใบบัวบก กับ 10 ประโยชน์ดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ พร้อมวิธีทำน้ำใบบัวบก

    ใบบัวบก (Gotu Kola) สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและผิวพรรณ ช่วยลดการอักเสบ ฟื้นฟูผิว และเสริมการทำงานของสมอง พร้อมวิธีทำน้ำใบบัวบกง่าย ๆ บำรุงร่างกายและผิวพรรณอย่างครบถ้วน

    วัคซีน “มะเร็งปากมดลูก” กับเหตุผลที่ “ผู้ชาย” ควรฉีด

    วัคซีน “มะเร็งปากมดลูก” กับเหตุผลที่ “ผู้ชาย” ควรฉีด

    รู้หรือไม่ว่า ผู้ชายก็ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก HPV ได้ และมีหลายเหตุผลที่ควรฉีดด้วย เพราะไวรัสมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง ก็สามารถพบได้ในผู้ชายได้เช่นกัน

    โรคกระเพาะ เกิดจากอะไร วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็น โรคกระเพาะ

    โรคกระเพาะ เกิดจากอะไร วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็น โรคกระเพาะ

    โรคกระเพาะเกิดจากการระคายเคืองของเยื่อบุกระเพาะอาหาร สาเหตุหลักมาจากกรดเกิน ความเครียด และการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา

    มะม่วงหาว มะนาวโห่ มีสรรพคุณทางยามากถึง 50 ประการ

    มะม่วงหาว มะนาวโห่ มีสรรพคุณทางยามากถึง 50 ประการ

    มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ ผลไม้ชนิดนี้ได้รับความสนใจจากผู้ที่รักสุขภาพเป็นอย่างมาก เพราะในวงการแพทย์ก็ได้วิจัยออกมาพบว่ามีสรรพคุณทางยามากถึง 50 ประการ