
8 สัญญาณอันตราย “โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง SLE ลูปัส หรือโรคพุ่มพวง”
โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง SLE ลูปัส หรือโรคพุ่มพวง ไม่ใช่โรคใหม่ หรือเพิ่งมาฮิตมาบูมกันตอนนี้ เป็นโรคที่มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยในประเทศไทย รวมถึงต่างประเทศด้วย ที่น่าแปลกคือคนดังหลายคนป่วยเป็นโรคนี้ ทั้งนักร้องพุ่มพวง ดวงจันทร์ ที่ทำให้คนไทยรู้จักกับโรคนี้ หรือจะเป็นสาวเซเลน่า โกเมซ ศิลปินขวัญใจวัยรุ่นชาวอเมริกันที่ต้องพักงานไปนานเพื่อรักษาตัว (โดนัท มนัสนันท์ ป่วยโรคพุ่มพวง รักษาตัวนานกว่า 6 เดือนแล้ว) และอาจไม่รู้ตัวเพราะสัญญาณ และอาการขึ้นมันเล็กน้อยจนทำให้เราไม่วิตกกังวล แต่อันที่จริงสัญญาณเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้นี่แหละที่นำไปสู่โรคที่อันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้หากไม่รีบเข้ารับการรักษา
โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง เป็นอย่างไร?
โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง SLE ลูปัส หรือโรคพุ่มพวง เป็นโรคที่เกิดจากภาวะที่ร่างกายสร้างสารภูมิคุ้มกันต้านทานผิดปกติ โดยเข้าไปต่อต้านเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เป็นผลทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในบริเวณนั้น
ใครที่เสี่ยงเป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มตัวเอง?
แม้ว่าโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง เอสแอลอี หรือลูปัส จะไมได้พบกันบ่อยๆ แต่ก็พบได้เรื่อยๆ พบได้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ แม้ว่าจะหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติอยู่หลายประการ
- พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
- ความผิดปกติจากพันธุกรรม (ชนิดที่ถ่ายทอดได้)
- ติดเชื้อจากแบคทีเรีย หรือไวรัสบางชนิด
- มีอาการแพ้กับสิ่งต่างๆ
- สูบบุหรี่
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาป้องกันการชัก ยาคุมกำเนิด ยาลดน้ำหนักบางชนิด
- เครียด ทำงานหนัก ออกกำลังกายมากเกินไป
อาการของโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง
สัญญาณอันตรายที่เป็นอาการเริ่มต้นของโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง มีหลากหลายอาการขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดความผิดปกติจนมีอาการอักเสบในระยะแรก ไปจนถึงระยะเรื้อรังที่อาจเริ่มเกี่ยวพันกับอวัยวะส่วนอื่นๆ
การรักษาโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง
แพทย์จะพยายามควบคุมโรคให้สงบด้วยการให้ทานยา ทำการรักษาตามอาการที่พบ และติดตามอาการไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการจะสงบ หากเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะยิ่งทำให้แพทย์ทำการรักษา และควบคุมอาการได้ดีขึ้น จนไม่มีอะไรต้องน่ากลัว หรือถึงขั้นเสี่ยงเสียชีวิต
วิธีป้องกันโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง
เป็นที่น่าเสียดายที่โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเองไม่มีวิธีป้องกันได้ 100% แต่ก็มีวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้ด้วยการดูแลรักษาร่างกายของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดจนเกินไป รักษาสุขอนามัยของตัวเองให้สะอาด ลดโอกาสในการติดเชื้อ และปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนทานยาอะไรเป็นประจำ
นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคนี้ก็ควรปฏิบัติตนเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และพบแพทย์ตามเวลาที่นัดหมายทุกครั้ง เพื่อให้การติดตามอาการ การควบคุมอาการของโรคเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
อ่านเพิ่มเติม