
3 เรื่องเกี่ยวกับ “โรคซึมเศร้า” ที่คนมักเข้าใจผิด
ไม่รู้ว่าเป็นเหตุบังเอิญหรือไม่ แต่ในรอบสัปดาห์นี้มีข่าวที่เกี่ยวกับเรื่องของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลายเรื่องในคราวเดียวกัน ล่าสุดกับเหตุการณ์เสียชีวิตของศิลปินชื่อดัง เชสเตอร์ เบนนิ่งตัน นักร้องนำวง Linkin Park ที่มีแฟนเพลงในประเทศไทยมหาศาล เมื่อเป็นผู้มีชื่อเสียงระดับโลก ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานอย่างดี จึงมีคำถามออกมาจากคนที่ไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงคิดฆ่าตัวตาย เป็นเพราะพวกเขาไม่เข้าใจว่าบุคคลเหล่านั้นกำลังประสบกับปัญหาโรคซึมเศร้านั่นเอง
อ่านต่อ >> Chester Bennington จาก Linkin Park กับ 10 สิ่งที่เราควรเอาเป็นแบบอย่าง
เรื่องเกี่ยวกับ “โรคซึมเศร้า” ที่คนมักเข้าใจผิด
กับคนที่มีจิตใจปกติ ยังไม่ได้มีอาการของโรคซึมเศร้า อาจจะเคยล้มลุกคลุกคลาน ประสบปัญหาชีวิตมากมาย แต่ก็ผ่านชีวิตช่วงนั้นมาได้ และมองว่าการฆ่าตัวตายเป็นทางออกของคนสิ้นคิด เป็นวิธีแก้ปัญหาของคนอ่อนแอ
แต่อันที่จริงแล้ว คนที่ถูกแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า ไม่ได้มีเพียงจิตใจที่อ่อนไหวเท่านั้น แต่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีปัญหาไปถึงสารสื่อประสาทในสมอง ที่มีความผิดปกติจนทำให้กระบวนการคิด การตัดสินใจของเราผิดปกติไปจากเดิม หลักเหตุผลต่างๆ นาๆ ที่คนปกติคิดกันได้ ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจจะคิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นจะอ้างว่าผู้ป่วยเหล่านั้นอ่อนแอ ไม่เข้มแข็ง จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะจริงๆ แล้วผู้ป่วยเหล่านี้เขาเข้มแข็งมากตั้งแต่ยอมรับว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจำนวนมากเช่นกันที่สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาที่อยากจะฆ่าตัวตายมาได้ โดยได้รับความช่วยเหลือจากคนรอบตัว และจิตแพทย์
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการให้มีคนมาสนใจ แต่พวกเขาต้องการคน “เข้าใจ” มากกว่า หากทุกคนเข้าใจเขา เข้าใจในสิ่งที่เขารู้สึก สิ่งที่เขาเป็น เขาก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเรียกร้องความสนใจจากใคร พวกเขาไม่ได้ต้องการเป็นคนเด่นคนดัง พวกเขาแค่รู้สึกทรมานจากสภาวะจิตใจที่หดหู่ซ้ำๆ เหมือนที่มีประโยคหนึ่งกล่าวเอาไว้ว่า “ไม่มีใครคิดอยากฆ่าตัวตายหรอก พวกเขาแค่อยากจะหนีให้พ้นจากความทรมานที่ประสบอยู่เท่านั้น”
จริงอยู่ว่าหลักธรรมในศาสนาพุทธทำให้จิตใจสงบลงได้ แต่ก็ใช้ได้แต่กับคนที่มีสภาพจิตใตปกติ ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เพราะอย่างที่กล่าวไปว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการสารสื่อประสาททำงานผิดปกติ ที่จะต้องเข้ารับการรักษาทั้งจากจิตแพทย์ที่จบทางด้านการรักษาโรคเหล่านี้โดยเฉพาะ และในบางรายจะต้องได้รับยาเพื่อปรับการทำงานของสมองอีกด้วย ดังนั้นการเข้าให้ถึงแก่นของพระพุทธศาสนา บางครั้งอาจไม่ใช่วิธีรักษาโรคที่ถูกต้อง หรือตรงจุดนัก
สิ่งที่เราควรทำเมื่อเราพบคนที่รู้จักเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีความน่าจะเป็นที่จะเป็นโรคซึมเศร้า คือ
หากใครที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองกำลังเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ สามารถลองทำแบบทดสอบของกรมสุขภาพจิต หรือติดต่อสายด่วนกรมสุขภาพจิตที่ 1323 ได้ค่ะ