เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

รู้เท่าทัน “โรคกระดูกพรุน” ภัยเงียบที่อันตรายกว่าที่คิด

รู้เท่าทัน “โรคกระดูกพรุน” ภัยเงียบที่อันตรายกว่าที่คิด

** ข้อมูลจากมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย
*** กลุ่มศึกษาวิจัยโรคกระดูกพรุน คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

     เพราะโรคกระดูกพรุนอาจเกิดจากการขาดแคลเซียม ดังนั้น เมื่อเราเรียนรู้จากในตำรามาตั้งแต่เป็นเด็กว่าแคลเซียมดีต่อกระดูก และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุนในยามที่แก่ตัวลง เราจึงควรรู้ว่าต้องบริโภคแคลเซียมในปริมาณเท่าไร ร่างกายจึงจะนำไปใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุด


     โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือภาวะที่ เกิดขึ้นเมื่อมวลกระดูกลดลงอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่ร่างกายจะสร้างทดแทนได้ทัน จึงส่งผลให้กระดูกเกิดการเปราะและแตกหักได้ง่าย โดยผู้ป่วยกว่า 80% ไม่รู้ตัวว่าตนมีภาวะกระดูกพรุน เพราะไม่พบว่ามีอาการใดๆ จนกว่าจะล้มแล้วกระดูกหัก จึงค่อยรู้ว่าเป็นโรคกระดูกพรุน ดังนั้น โรคนี้จึงถือเป็นมฤตยูเงียบที่ส่งผลทำลายคุณภาพชีวิตผู้ป่วยอย่างมาก

     ทั้งนี้ พบว่าในคนอายุ 50 ปีขึ้นไป สามารถเกิดอุบัติการณ์ของกระดูกหักในหลายๆ ตำแหน่ง เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือ กระดูกเชิงกราน และกระดูกสะโพก ฯลฯ โดยจากการศึกษาในสหรัฐอเมริกา พบว่ามีผู้ป่วยกระดูกสันหลังหักมากถึงปีละประมาณ 500,000 ราย โดยพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง 10 เท่า และโดยเฉพาะในผู้หญิงชาวอเมริกันผิวขาวที่มีอายุมากกว่า 70 ปี จะมีถึงครึ่งหนึ่งที่มีหรือเคยมีกระดูกสันหลังหักอย่างน้อยหนึ่งข้อ

     นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลที่น่าตกใจแสดงให้เห็นว่า อัตราการเกิดกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนของคนทั่วโลกนั้น เกิดขึ้นทุกๆ 3 วินาที ซึ่งค่ารักษาพยาบาลคิดเป็นเงินกว่า 120,000 บาท! และแม้อัตราการกระดูกหักเนื่องจากกระดูกพรุนจะเกิดขึ้นในคนวัย 50 ปีขึ้นไป โดยเกิดขึ้น 1 ใน 3 ของผู้หญิง และ 1 ใน 5 ของผู้ชาย

     แต่รู้หรือไม่ว่า วิธีการดำเนินชีวิตในทุกๆ วันตั้งแต่วัยเด็ก คือปัจจัยสำคัญที่บ่งชี้การเกิดโรคกระดูกพรุนเมื่อคุณแก่ตัวลงได้อย่างดี

 

     อาหารการกิน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการปรับพฤติกรรมประจำวัน คือ วัคซีนป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุด โดยต้องเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็กด้วยการกินอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมมาก ได้แก่ ผักใบเขียว อย่างผักคะน้า บร็อกโคลี นมและผลิตภัณฑ์ของนม ปลาซาร์ดีนพร้อมกระดูก ปลาตัวเล็กๆ พร้อมกระดูก กุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง งาดำ กะปิ ฯลฯ

     การออกไปรับแสงแดดยามเช้าก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะร่างกายเราจะสังเคราะห์วิตามินดีจากแสงแดด วิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม เสริมด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนักผ่านกระดูก เช่น การวิ่ง เต้นรำ เดินเร็ว ฯลฯ จะยิ่งช่วยเพิ่มมวลกระดูกให้แข็งแรง

     และสำหรับคนวัยทำงาน พบว่า ผู้ที่นั่งมากกว่า 9 ชั่วโมงต่อวัน มีโอกาสเกิดกระดูกสะโพกหักมากกว่าผู้ที่นั่งน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันถึง 50% ดังนั้น ควรลุกขึ้นเดินเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถให้ได้ทุกๆ ชั่วโมง

     แต่เอาเข้าจริงแล้ว นอกจากจะปรับพฤติกรรมระหว่างวันและหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การจะเลือกกินอาหารให้ได้รับปริมาณแคลเซียมเพียงพอในแต่ละวัน คงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย นอกจากนี้การหลบแดดหรือการใช้ครีมกันแดดก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ ดังนั้น การรับประทานแคลเซียมเสริมที่มีวิตามินดี และแร่ธาตุที่สำคัญสำหรับกระดูก เช่น แมกนีเซียม, มังกานีส, สังกะสี และทองแดง จึงเป็นตัวช่วยให้กระดูกแข็งแรงและเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อ ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.caltratethailand.com

 

 

[Advertorial]

ระดับสีค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ฟ้า-เขียว-เหลือง-ส้ม-แดง บอกอะไรเราบ้าง?

ระดับสีค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ฟ้า-เขียว-เหลือง-ส้ม-แดง บอกอะไรเราบ้าง?

ใครที่เคยใช้แอปวัดระดับ PM 2.5 ฝุ่นละอองในอากาศ ในช่วงนี้ เคยเห็นสีอะไรกันบ้าง? แล้วสีไหนเป็นอย่างไร หมายความว่าอะไร เช็กที่นี่

ใบบัวบก กับ 10 ประโยชน์ดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ พร้อมวิธีทำน้ำใบบัวบก

ใบบัวบก กับ 10 ประโยชน์ดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ พร้อมวิธีทำน้ำใบบัวบก

ใบบัวบก (Gotu Kola) สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและผิวพรรณ ช่วยลดการอักเสบ ฟื้นฟูผิว และเสริมการทำงานของสมอง พร้อมวิธีทำน้ำใบบัวบกง่าย ๆ บำรุงร่างกายและผิวพรรณอย่างครบถ้วน