เนื้อหาในหมวด การเงิน

อสมท. ปรับลดพนักงาน 600 คน หลังสถานะการเงินอยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว!

อสมท. ปรับลดพนักงาน 600 คน หลังสถานะการเงินอยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว!

เว็บไซต์ thebangkokinsight รายงานว่า นายสิโรตม์ รัตนามหัทธนะ กรรมการและรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ระบุ ในอดีต อสมท เคยเป็นสื่อสารมวลชนขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งรัฐบาลเห็นศักยภาพนั้น จึงแปลงสภาพจาก อ.ส.ม.ท. เป็น บมจ.อสมท ตั้งแต่ พ.ศ.2547 โดยเป็นสถานีโทรทัศน์ 1 ใน 6 ช่องที่แข็งแรงและผูกขาดอุตสาหกรรม โดยไม่มีช่องทีวีดาวเทียมหรือเคเบิลทีวีมาแข่งขันได้เลย จนกระทั่ง กสทช.ได้จัดสรรช่องทีวีดิจิทัลตามกฎหมายใน พ.ศ.2556 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ อสมท มีรายได้ลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

เนื่องจากกิจการของ อสมท ดำรงอยู่ได้ด้วยเงินจากการโฆษณา ซึ่งการเกิดขึ้นของทีวีดิจิตอลทำให้เม็ดเงินดังกล่าวถูกตัดแบ่งออกไปสู่ช่องทีวีรายใหม่จำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ที่จากเดิมประเทศไทยมีสถานีโทรทัศน์ 6 ช่อง กลายเป็น 28 ช่องในทันที ในขณะที่เม็ดเงินโฆษณายังคงอยู่เท่าเดิม

แม้ กสทช. ได้เคยเปิดให้คืนใบอนุญาตฯ ซึ่ง อสมท ได้คืน MCOT Family ช่อง 14 ไปเมื่อ พ.ศ.2562 เพื่อลดสกาวะการขาดทุนอย่างถาวร อันเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องของผู้บริหารในยุคนั้น

อีกทั้งภาวะที่ 2 การเกิด Digital Disruption คือ จำนวนผู้ชมโทรทัศน์และผู้ฟังวิทยุลดลงอย่างมากและต่อเนื่อง ทำให้เม็ดเงินโฆษณาในสื่อวิทยุและโทรทัศน์ถูกโยกไปสู่สื่อดิจิทัลอื่น ๆ เป็นเหตุให้เกิดผลกระทบแก่อุตสาหกรรมโทรทัศน์อย่างควบคุมไม่ได้

สำหรับธุรกิจวิทยุกระจายเสียงของ อสมท โดยเฉพาะวิทยุคลื่น FM จำนวน 6 สถานีในกรุงเทพฯ และอีก 53 สถานีในส่วนภูมิภาค ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงทั้งในอดีตและปัจจุบันก็ได้รับผลกระทบจากภาวะ Digital Disruption ในลักษณะเดียวกัน อสมท ได้เห็นสภาวะดังกล่าว จึงมีแนวคิดการเดินไปสู่ธุรกิจดิจิทัล โดยการเริ่มปรับโครงสร้งบริษัทโดยยกธุรกิจดิจิทัลขึ้นเป็นสายงานใหม่

แต่ต้องยอมรับว่า รายได้หลักของ อสมท เกิดจากโฆษณาทางโทรทัศน์และทางวิทยุ ซึ่งจำเป็นต้องมีการบูรณาการระหว่างการตลาดและการขายของบริการโทรทัศน์ วิทยุ และสื่อดิจิทัลต่าง ๆ ภายใน อสมท ในรูปแบบ Bundling หรือ Solution ตามความต้องการของลูกค้า

นอกจากนี้ ภาวะที่ 3 ยังมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไร้สโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ อันเป็นภาวะที่ควบคุมไม่ได้และยังไม่มีจุดสิ้นสุด ส่งผลทวีคูณให้แก่ทั้ง 2 ภาวะข้างต้น

กระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหุ้นได้ประเมินธุรกิจลักษณะเดียวกับ อสมท ว่าจำนวนพนักงานที่เหมาะสมกับการประกอบธุรกิจในอนาคตของ อสมท คือ 700 คน ในขณะที่ปัจจุบัน อสมท มีพนักงานมากถึง 1,300 กว่าคน ไม่รวมถึงลูกจ้าง โดยแนะนำให้ อสมท พิจารณาจัดโครงการร่วมใจจากองค์กร (MSP) เพื่อปรับ ลดพนักงาน ให้เหมาะสม โดยฝ่ายบริหารแนะนำให้ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าร่วมโครงการ ควรมีเป้าหมายในการบริหารจัดการงินที่ได้รับจากโครงการฯ อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบันสถานะทางการเงินของ อสมท อยู่ในขั้นวิกฤต โดยต้องขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินโครงการ MSP โดยฝ่ายบริหารจะปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ภายหลังจากการดำเนินโครงการ MSP ในทันที

อสมท จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องขอความร่วมมือพนักงานทุกท่านปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบ โดยฝ่ายบริหารจะยังไม่มีการปรับลดเงินเดือนที่ท่านได้รับอยู่แต่อย่างใด จึงขอให้ทุกท่านปฏิบัติงานอย่างเต็มที่และสุดความสามารถ

ท้ายนี้ ขอให้ทุกท่านมั่นใจว่าคณะกรรมการและฝ่ายบริหารของ อสมท จะมุ่งมั่น พลิกฟื้น อสมท ให้ได้ในอนาคต แม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคที่ควบคุมไม่ได้ และขอขอบคุณทุกท่านที่เข้าร่วมโครงการ MSP เพราะท่านคือผู้เสียสละที่จะทำให้ อสมท สามารถปรับตัวและอยู่รอดต่อไปได้และขอขอบคุณพนักงานที่ยังอยู่กับ อสมท เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนองค์กรให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้

อสมท จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องขอความร่วมมือพนักงานทุกท่านปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบ โดยฝ่ายบริหารจะยังไม่มีการปรับลดเงินเดือนที่ท่านได้รับอยู่แต่อย่างใด จึงขอให้ทุกท่านปฏิบัติงานอย่างเต็มที่และสุดความสามารถ”

หากย้อนกลับไปดูผลประกอบการของ บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) พบว่า หลายปีที่ผ่านมาติดลบอย่างต่อเนื่อง มูลค่าและทรัพย์สินรวมถึงราคาหุ้นลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

  • ปี 2559 รายได้ 2,830.38 ล้านบาท ขาดทุน 734.89 ล้านบาท ราคาหุ้น 14.40 บาท
  • ปี 2560 รายได้ 2,736.45 ล้านบาท ขาดทุน 2,542.35 ล้านบาท ราคาหุ้น 11.60 บาท
  • ปี 2561 รายได้ 2,562.37 ล้านบาท ขาดทุน 375.72 ล้านบาท ราคาหุ้น 9.10 บาท
  • ปี 2562 รายได้ 2,968.37 ล้านบาท ขาดทุน 457.46 ล้านบาท ราคาหุ้น 9.75 บาท
  • ครึ่งปี 2563 รายได้ 788.67 ล้านบาท ขาดทุน 1,061.34 ล้านบาท ราคาหุ้น 3.04 บาท
กยศ. ปรับโครงสร้างหนี้ เดือน ก.ย. 67 จัดงาน 13 จังหวัด ลูกหนี้เช็กด่วน!

กยศ. ปรับโครงสร้างหนี้ เดือน ก.ย. 67 จัดงาน 13 จังหวัด ลูกหนี้เช็กด่วน!

กยศ. ปรับโครงสร้างหนี้ เดือน ก.ย. 67 เดือนสายจัดงานใน 13 จังหวัด ลูกหนี้เช็กด่วนมีที่ไหนบ้าง จ่ายเงินยังไง มีคำตอบ

ระส่ำ! ล็อกซเล่ย์ ขาดทุนยับ 700 ล้านบาท เขย่าพนักงานออก 157 คน ปรับใหญ่ลุยธุรกิจหลัก

ระส่ำ! ล็อกซเล่ย์ ขาดทุนยับ 700 ล้านบาท เขย่าพนักงานออก 157 คน ปรับใหญ่ลุยธุรกิจหลัก

ล็อกซเล่ย์ ขาดทุนกว่า 700 ล้านบาท ลุยปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ ปลดพนักงาน 157 ตน ลดเงินเดือนฝ่ายบริหารระดับสูง 35% พร้อมโฟกัสธุรกิจหลัก

ถูกลอยแพ! พนักงานช่อง 3 ร้องศาลแรงงานกลางหลังถูกเลิกจ้างแบบไม่แฟร์

ถูกลอยแพ! พนักงานช่อง 3 ร้องศาลแรงงานกลางหลังถูกเลิกจ้างแบบไม่แฟร์

‘พนักงาน – ผู้ผลิตรายการ’ กว่า 30 ชีวิตบุกร้องศาลแรงงานกลาง เรียกร้องกรณีถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม เร่งเตรียมเอกสารจ่อฟ้องช่อง 3

ผ่ารายได้แสนล้าน “เทสโก้ โลตัส” หลังเตรียมปรับโครงสร้างเลิกจ้างพนักงานทั่วไทย

ผ่ารายได้แสนล้าน “เทสโก้ โลตัส” หลังเตรียมปรับโครงสร้างเลิกจ้างพนักงานทั่วไทย

ผ่ารายได้แสนล้าน ของเทสโก้ โลตัส หลังเตรียมปรับโครงสร้างองค์กร พร้อมยืนยันว่าจะมีการยกเลิกบางตำแหน่งในองค์การเพื่อให้สอดคล้องกับธุรกิจใหม่