เนื้อหาในหมวด ข่าว

ไวรัสโคโรนา: คิง เพาเวอร์ มหานคร ยืนยันพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ปิดตึกต่อเนื่องถึง 27 มีนาคม

ไวรัสโคโรนา: คิง เพาเวอร์ มหานคร ยืนยันพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ปิดตึกต่อเนื่องถึง 27 มีนาคม

หลังจากเมื่อวันที่ 14 มีนาคม คิง เพาเวอร์ ประกาศปิดตึก คิง เพาเวอร์ มหานคร หลังจากตรวจพบพนักงานของห้องอาหาร มหานคร แบงค็อก สกายบาร์ มีอาการเข้าข่ายติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 และส่งตัวเข้ารับการคัดกรองอย่างละเอียดที่สถาบันบำราศนราดูร ล่าสุดทาง คิง เพาเวอร์ มหานคร ก็ยืนยันว่า พนักงานคนดังกล่าวติดเชื้อโควิด-19 จริง

โดยทาง คิง เพาเวอร์ มหานคร ออกแถลงการณ์ว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุข แถลงการณ์วันที่ 16 มีนาคม 2563 ว่า มีผู้ติดเชื้อเพิ่มจากสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19  โดยได้รับการยืนยันว่าเป็นบุคคลเดียวกับที่ คิง เพาเวอร์ มหานคร ส่งตรวจคัดกรองที่สถาบันบำราศนราดูร หลังมีอาการเข้าข่ายเฝ้าระวัง เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ที่ผ่านมา

โดย คิง เพาเวอร์ มหานคร มีการสั่งปิดอาคารทันทีเพื่อป้องกันการแพร่กระจายและเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสาธารณสุขสากล ในการป้องกันโรคโควิด-19 รวมถึงแนวทางปฏิบัติของ คิง เพาเวอร์ มหานคร ที่เน้นความห่วงใยลูกค้า พนักงาน และสังคม จึงขอสรุปรายละเอียดการดำเนินการ ทั้งในส่วนที่ดำเนินการไปแล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินการ ดังนี้

  • มีการสั่งปิดอาคารทันทีแล้ว ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม ต่อเนื่อง 14 วัน ถึง วันที่ 27 มีนาคม  2563 เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย และทำการ ฉีด พ่น อบ ฆ่าเชื้อ ทุกพื้นที่ในอาคาร
  • เฝ้าระวัง โดยติดตามอาการพนักงานที่มีปฏิสัมพันธ์ การพูดคุย ใกล้ชิด สัมผัส ใช้สถานที่ หรืออุปกรณ์ร่วมกับพนักงานดังกล่าวแล้วอย่างใกล้ชิดและให้หยุดปฏิบัติงาน 14 วัน ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2563
  • อำนวยความสะดวกแจ้งปิดบริการและยินยอมการคืนสิทธิ์แก่ลูกค้าที่จองใช้บริการล่วงหน้าสำหรับ มหานคร สกายวอล์ค และ ห้องอาหาร มหานคร แบงค็อก สกายบาร์ โดยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-677-8721
  •  ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คิง เพาเวอร์ มหานคร ตระหนักดีถึงข้อกังวลและความรับผิดชอบต่อสังคม จึงมีความพยายามอย่างยิ่งในการควบคุม ป้องกัน อย่างเข้มงวด ด้วยคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกค้า พนักงานเป็นสำคัญ                            

    “ภาวะการเรียนรู้ถดถอย” ภัยเงียบที่กำลังกัดเซาะสังคม

    “ภาวะการเรียนรู้ถดถอย” ภัยเงียบที่กำลังกัดเซาะสังคม

    จากนโยบายปิดโรงเรียนเพื่อหนีโรค ทำให้เด็กเล็กที่ควรได้รับการพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ เพื่อเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ต้องเผชิญกับ "ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้” ที่หากไม่เร่งแก้ไข จะส่งผลกระทบต่อสังคมไทยในอนาคตอย่างรุนแรง